สตาร์ทอัพเอเชียแซงหน้ารัฐทำ 'วัคซีนพาสปอร์ต'

สตาร์ทอัพเอเชียแซงหน้ารัฐทำ 'วัคซีนพาสปอร์ต'

สตาร์ทอัพเอเชียแซงหน้ารัฐทำ "วัคซีนพาสปอร์ต" ขณะที่รัฐบาลประเทศต่างๆยังคงถกเถียงกันภาคเอกชนก็เดินหน้าจัดทำวัคซีนพาสปอร์ตเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

ตอนนี้เริ่มมีการกระจายวัคซีนต้านโรคโควิด-19ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก และการทดสอบเพื่อหาเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ บรรดาบริษัทสตาร์ทอัพในเอเชียกำลังหาทางใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบด้านเทคโนโลยีของตัวเองมาพัฒนาไอดีด้านสุขภาพดิจิทัล ครอบคลุมถึงวัคซีน พาสปอร์ต ซึ่งเป็นเอกสารยืนยันการได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามที่กำหนด มีแนวคิดคล้ายกับการออกหนังสือเดินทางและวีซ่าว่าได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศได้ แต่ใช้ในกรณีที่เกิดโรคระบาด

ขณะที่รัฐบาลประเทศต่างๆยังคงถกเถียงกันโดยยังหาข้อสรุปไม่ได้ ภาคเอกชนก็เดินหน้าจัดทำวัคซีนพาสปอร์ตเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางช่วงการระบาดของโรคโควิด-19แล้ว ยกตัวอย่างบริษัทสตาร์ทอัพ My Health Diary สัญชาติอินโดนีเซีย ที่เปิดตัวแอพพลิเคชันหมอทางไกลที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตลอด24ชม.แต่หลังจากโรคโควิด-19แพร่ระบาดในอินโดนีเซีย แอพฯของบริษัทก็เริ่มเพิ่มเนื้อหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคนี้ รวมทั้ง ข่าวสาร และการสัมนาผ่านเว็บ รวมทั้ง ความสามารถที่จะสำรองเครื่องทดสอบพีซีอาร์และการฉีดวัคซีน

ตอนนี้ My Health Diary กำลังทำโปรแกรมนำร่องที่สังเกตุการณ์ประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ด้วยมุมมองเพื่อพัฒนาพาสปอร์ตเพื่อสุขภาพ แนวคิดดังกล่าวคือการติดอาวุธให้แก่บรรดาผู้ใช้งานที่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบสวมใส่ อย่างเช่น สมาร์ทวอทช์ เพื่อสังเกตุการณ์สุขภาพและประเมินสภาพร่างกายของพวกเขา รวมทั้งประวัติการฉีดวัคซีน ที่ต่อมาจะถูกนำไปออกบาร์โค้ดเพื่อบ่งชี้ว่าผู้ใช้รายนั้นมีสภาพร่างกายแข็งแรงพอท่ี่จะเดินทางหรือไม่

“ในอนาคต รัฐบาลจำเป็นต้องออกหนังสือเดินทางด้านสุขภาพของประเทศ และเชื่อว่าเป็นเรื่องสมเหตุสมผลสำหรับรัฐบาลที่จะเลือกใช้แอพฯที่สามารถปรับใช้และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากรัฐบาลระดับภูมิภาคและสถาบันต่างๆ”เฮอร์แมน หวง ผู้ก่อตั้ง My Health Diary ให้ความเห็น

ปัจจุบัน รัฐบาลอินโดนีเซียมีสองระบบที่สามารถเปลี่ยนไปเป็นวัคซีน พาสปอร์ตได้ ระบบแรกคือ e-HAC การ์ดแจ้งเตือนด้านสุขภาพที่นักเดินทางทุกคนจำเป็นต้องกรอกข้อมูล ทั้งผู้ที่เดินทางเข้าอินโดนีเซีย หรือโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ อีกระบบคือใบรับรองการฉีดวัคซีนดิจิทัล ที่รัฐบาลออกให้

หวง เชื่อว่าหนังสือเดินทางเพื่อสุขภาพที่พัฒนาโดยบริษัทสตาร์ทอัพจะมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากกว่าเมื่อเทียบกับหนังสือเดินทางที่ออกโดยรัฐบาลและสามารถเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆได้ในเวลาอันรวดเร็ว เช่น การบูรณาการร่วมกันกับระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพในวงกว้างขึ้น

แต่"แพทริค โอซีวี" หัวหน้าแผนกด้านการดูแลสุขภาพของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี)มีความเห็นว่า "ขณะที่การเปิดตัววัคซีน พาสปอร์ตมีเป้าหมายระยะยาวเพื่อช่วยฟื้นฟูการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ แต่ก็มีอุปสรรคด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องของความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะคนที่ไม่สามารถรับการฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลทางการแพทย์ คนกลุ่มนี้ก็จะถูกห้ามเข้าประเทศ และคนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ยังเข้าไม่ถึงวัคซีน ก็จะเสียเปรียบในเรื่องนี้เช่นกัน

จีวีอี บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มการจ่ายเงินดิจิทัลสัญชาติญี่ปุ่น เตรียมช่วยสร้างมาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับวัคซีนพาสปอร์ต โดยสตาร์ทอัพ ที่มีฐานดำเนินงานในกรุงโตเกียวแห่งนี้เพิ่งเริ่มทำงานกับบริษัทเอคมา อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทด้านข้อมูลและเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่มีมาตรฐานระดับโลกซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทชั้นนำ รวมถึง ไอบีเอ็ม เฟซบุ๊ค และกูเกิ้ล เพื่อหาทางส่งใบรับรองด้านสุขภาพแก่ผู้เดินทางทั่วโลก

“การทำงานร่วมกันระหว่างแพล็ตฟอร์มต่างๆและการเป็นของแท้คือหัวใจของวัคซีนพาสปอร์ต นับตั้งแต่บริษัทเริ่มแก้ปัญหาต่างๆผ่านเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลของเรา เพื่อสร้างแพล็ตฟอร์มที่เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศช่วยให้การทำงานของวัคซีนพาสปอร์ตมีประสิทธิภาพ”โคจิ ฟูสะ ซีอีโอบริษัทจีวีอี ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2560 กล่าว

ที่ผ่านมา จีวีอี ได้พัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัยขั้นสูงที่รับประกันการเข้าถึงฐานข้อมูลที่แยกจากกันสองฐานแบบเรียลไทม์ซึ่งจะช่วยให้ปลอดภัยจากการถูกแฮ็กข้อมูล และบริษัทมีแผนเปิดธุรกิจให้บริการการจ่ายเงินในรูปแบบดิจิทัลในญี่ปุ่น

ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่น ยังคงลังเลใจที่จะร่วมหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ หรือผลักดันให้มีการออกใบรับรองด้านสุขภาพสำหรับนักเดินทาง เนื่องจากรัฐบาลกำลังให้ความสำคัญกับการรับมือการแพร่ระบาดครั้งใหม่ของโรคโควิด-19 ในหลายพื้นที่สำคัญ โดยเมื่อวันที่ 23 เม.ย. นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูกะของญี่ปุ่น ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งที่ 3 ในกรุงโตเกียว โอซากา เฮียวโกะ และเกียวโต มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย. - 11 พ.ค.โดยพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มรายวันมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ โอซากา 924 คน กรุงโตเกียว 425 คน เฮียวโกะ 310 คน ไอจิ 161 คน และคานากาวะ 160 คน

ขณะที่ราชสมาคมแห่งลอนดอนประกาศหลักเกณฑ์เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมา เกี่ยวกับความคืบหน้าด้านการทำวัคซีนพาสปอร์ตและการใช้หนังสือเดินทางรูปแบบนี้เมื่อต้องเดินทาง รวมถึงจำเป็นต้องผ่านเกณฑ์ด้านภูมิคุ้มกันโควิด-19 และยอมรับข้อแตกต่างด้านประสิทธิภาพของวัคซีนต่าง ๆ ได้

ความเคลื่อนไหวของราชสมาคมแห่งลอนดอนสอดคล้องกับที่องค์การอนามัยโลก(ดับเบิลยูเอชโอ)ได้หารือร่วมกับเอสโทเนีย ประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเพื่อสานต่อแนวคิดออกใบรับรองวัคซีนทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการยอมรับทั่วโ