วัฒนธรรม ‘การให้ทิป’ กำลังถึงทางตัน? แพง บริการแย่ แถมชาร์จค่าธรรมเนียมเพิ่ม

วัฒนธรรม ‘การให้ทิป’ กำลังถึงทางตัน? แพง บริการแย่ แถมชาร์จค่าธรรมเนียมเพิ่ม

วัฒนธรรม ‘การให้ทิป’ ของชาวตะวันตกกำลังถึงทางตัน? คนวิจารณ์ พนักงานบริการไม่ดี ชาร์จค่าธรรมเนียมเพิ่มอาหารแพงขึ้น 30% เบื่อจนไม่กินอาหารนอกบ้าน แอนตี้การจ่ายทิป

“วัฒนธรรมการให้ทิป” กำลังกลายเป็นข้อถกเถียงในสหรัฐอเมริกา โดย Wall Street Journal จัดทำผลสำรวจจากคนอ่านกว่า  1,000 คนและพบว่าชาวอเมริกันให้ “ทิป” น้อยลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ บางคนหงุดหงิดที่ต้องให้ทิปกับการซื้อของง่ายๆ เช่น การหยิบน้ำขวดจากตู้เย็น หรือบางคนก็ไม่พอใจที่มีค่าบริการอื่นๆ ซ่อนอยู่ในบิลร้านอาหาร ซึ่งมีคนอเมริกันหลายคนอยากให้อเมริกาทำเหมือนประเทศอื่นๆ คือรวมค่าบริการไปในราคาอาหารเลย

ชาวอเมริกันมีข้อแม้และวิธีการให้ทิปเปลี่ยนไปจากเดิม บางคนก็เบื่อร้านที่ชอบขึ้นป้ายขอทิปเยอะๆ จนไม่อยากเข้าร้านนั้นไปเลยก็มี หรือบางคนก็อยากให้ทิปเป็นเงินสดมากกว่า หรือบางคนคิดว่าถ้าบริการไม่ดีจริงก็จะไม่ให้ทิปเด็ดขาด และลดการไปกินข้าวนอกบ้านหรือไม่ก็สั่งอาหารน้อยลงเวลาไปกินที่ร้านแทน

บริการไม่สมกับการให้ทิป

การให้ทิปกลายเป็นหัวข้อกลางวงสนทนาของชาวอเมริกันหลายคน รวมถึง เดวิด ซาเวจและเพื่อนๆที่เห็นตรงกันว่าการบริการแย่ลง ทำให้ให้ทิปน้อยลงตามไปด้วย จากปกติ 18-20% เหลือเพียง 10% เท่านั้น และก็จะไม่กลับไปใช้บริการร้านเหล่านั้นอีกครับ

“บ่อยครั้งที่สั่งอาหารที่ร้าน แต่อาหารกลับมาผิดหรือไม่ก็มาช้ามากๆ  และพนักงานเสิร์ฟเหล่านี้ดูเหมือนจะไม่อยากทำงานที่นั่น หรือไม่ก็งานหนักเกินไปอย่างเห็นได้ชัดเพราะต้องดูแลหลายโต๊ะมาก การบริการที่ไม่ดีนี้ทำให้คุณซาเวจลดการให้ทิป”

แม้ข้อมูลจากวงการร้านอาหารจะบอกว่าคนมองร้านอาหารแบบมีพนักงานบริการดีขึ้นตั้งแต่หลังโควิดระบาด แต่ผู้อ่านที่ตอบแบบสอบถามของวารสารกลับบ่นกันเยอะมาก หลายคนบอกว่าพวกเขาทนบริการแย่ๆ จนไม่ลังเลที่จะลดทิป

ชาร์จค่าธรรมเนียมฉ่ำ ผลักภาระต้นทุนให้ผู้บริโภค

การเรียกเช็คบิลที่ร้านอาหารสำหรับ แอนดี้ รอลลิงส์ ผู้บริหารวัย 54 ปีจากเมืองดัลลาสไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะต้องยกเครื่องคิดเลขขึ้นมาคำนวน “ค่าใช้จ่ายแฝง” ก่อนจะให้ทิปอยู่เสมอ ดังนั้นรอลลิงส์ใช้วิธีหักค่าธรรมเนียมพิเศษเหล่านี้ออกจากยอดทิป 20%

รอลลิงส์ สังเกตว่าร้านอาหารหลายแห่งเริ่มเพิ่ม “ค่าธรรมเนียมพิเศษ” เข้าไปในบิล ซึ่งค่าธรรมเนียมเหล่านี้ไม่ใช่ทิป แต่เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ร้านบอกว่าเพื่อสนับสนุนพนักงานหรือช่วยเรื่องต้นทุน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 2% ถึง 5% ของยอดรวมทั้งหมด

ในมุมมองของรอลลิงส์รู้สึกว่าค่าธรรมเนียมพวกนี้ไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องมารับผิดชอบ เพราะร้านอาหารไม่ควรเอาปัญหาหรือจุดอ่อนของรูปแบบธุรกิจตัวเองมาให้ลูกค้าเห็นชัดๆ แบบนี้ในบิล

ข้อมูลจากการสำรวจเจ้าของร้านอาหาร 2,400 แห่งโดยสมาคมร้านอาหารแห่งชาติ พบว่าประมาณ 16% ของร้านอาหารมีการเพิ่มค่าธรรมเนียมพิเศษเหล่านี้เข้าไปในใบเสร็จของลูกค้า ซึ่งมักจะพบในพื้นที่ที่ร้านต้องปรับขึ้นค่าแรงพนักงานเสิร์ฟอย่างรวดเร็วตามการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของท้องถิ่น เช่น ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

หันจ่ายเงินสด เลี่ยงค่าธรรมเนียมเพิ่ม

สำหรับ Alec Weinberg เริ่มให้ทิปเป็น “เงินสด” หลังจากที่พนักงานเสิร์ฟบอกว่าชอบได้รับเงินโดยตรงมากกว่าการที่ร้านอาหารบางแห่งแบ่งทิปที่ลูกค้าจ่ายด้วยบัตรเครดิต

ทว่าการที่ Weinberg เลือกจ่ายเงินค่าอาหารทั้งหมดเป็นเงินสดเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต 

จากการสำรวจของสมาคมร้านอาหารแห่งชาติเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา พบว่าผู้บริโภคประมาณ 71% บอกว่ามีการใช้ส่วนลดที่ร้านอาหารเสนอให้ ถ้าจ่ายด้วยเงินสด

เริ่มเบื่อร้านที่บังคับจ่ายทิป จนเลือกทำอาหารกินเองที่บ้าน

ผู้คนจำนวนมากเริ่มเบื่อหน่ายกับตัวเลือกเปอร์เซ็นต์ทิปที่แสดงบนหน้าจอเครื่องคิดเงินตามร้านกาแฟหรือเคาน์เตอร์ขายของเล็กๆ 

ผลสำรวจผู้ใหญ่ประมาณ 1,500 คนโดยบริษัท Intouch Insight พบว่าผู้บริโภคถึง 46% ไม่ชอบการแสดงเปอร์เซ็นต์ทิปแบบเจาะจงบนหน้าจอดิจิทัล มีเพียง 13% เท่านั้นที่คิดว่าคำแนะนำเหล่านี้มีประโยชน์

เจเน็ต แฟนนิน เผยว่าเลือกให้ทิปเฉพาะกับคนที่ทำงานบริการโดยตรง เช่น พนักงานเสิร์ฟในร้านอาหาร แม่บ้าน หรือช่างทำผม แต่เธอไม่คิดว่าจะต้องให้ทิปกับธุรกิจอื่นๆ เช่น ร้านสะดวกซื้อ โดยแฟนนิน มองว่าร้านค้าทั่วไป แค่จ่ายเงินไปก็ถือว่าจบแล้ว

เรื่องนี้เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ Paula Scholtz ใช้เวลาส่วนใหญ่ทำอาหารเองที่บ้าน ประกอบกับราคาอาหารร้านอาหารพุ่งสูงขึ้นมาก รวมทั้งค่าทิปด้วย

หลังจากที่เคยใช้เงินถึง 200 ดอลลาร์ในการตัดสินใจออกไปทานข้าวได้ง่ายๆ

ราคาอาหารในร้านอาหารเพิ่มขึ้นกว่า 30% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด ทำให้ปีที่แล้วมีจำนวนลูกค้าที่ไปร้านอาหารและให้ทิปลดลง 

ผลสำรวจผู้บริโภคชาวอเมริกันกว่า 1,500 คนระบุว่าเมื่อปลายปีที่แล้ว ลูกค้าประมาณ 1 ใน 4 เลือกสั่งอาหารที่ราคาถูกลง สั่งเครื่องดื่มน้อยลง หรือไม่สั่งอาหารเรียกน้ำย่อยและเครื่องเคียงเลยเพื่อประหยัดเงิน ซึ่งตรงกับผลสำรวจของ WSJ ที่บอกว่าคนเลือกดื่มน้ำเปล่าแทนชาเย็นเพื่อประหยัด หรือเลิกดื่มไวน์ไปเลยเมื่อไปทานอาหารที่ร้าน