จีนส่ง Reelshot ตีตลาด Netflix เขย่าวงการละคร ตอนละ 1 นาที ทำรายได้เกือบ 500 ลบ.

จีนส่ง Reelshot ตีตลาด Netflix เขย่าวงการละคร ตอนละ 1 นาที ทำรายได้เกือบ 500 ลบ.

จีนจุดกระแสละคร "มินิดราม่า" ส่ง Reelshot ตีตลาด Netflix เขย่าวงการละครตอนละ 1 นาที สร้างมาเพื่อให้คนดู "เสพติด" โกยรายได้แบบจ่ายทีละตอนไปเกือบ 500 ล้านบาท  ทำรายได้เกือบ 500 ลบ. ในสัปดาห์เดียว หวังดันมินิดราม่าบุกต่างประเทศ เติบโตสู่"ยูนิคอร์น" เทียบชั้น  Netflix

KEY

POINTS

  • จีนจุดกระแสละคร "มินิดราม่า" ละครรูปแบบใหม่ที่มีความยาวตอนละ 1-2 นาที แต่ยาว 80-100 ตอน
  •  ReelShort ด้รับการสนับสนุนจาก Tencent และ Baidu สร้างมาเพื่อให้คนดู "เสพติด" โกยรายได้แบบจ่ายทีละตอนไปเกือบ 500 ล้านบาท 
  • หวังดันมินิดราม่าบุกต่างประเทศ เติบโตสู่"ยูนิคอร์น" เทียบชั้น  Netflix
  • มีต้นทุนการผลิตที่ถูกมาก แต่เสียเงินส่วนใหญ่ไปกับการโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อกระตุ้นการมองเห็นของผู้ชม
  • เลือกนักแสดงเอกเป็นผู้ชายรวย-หล่อ กับสาวบ้านๆ เจาะกลุ่มผู้ชมสาวอายุน้อย เพิ่มจินตนาการเข้าถึงละคร 
  • มิติใหม่ของละคร ใช้ AI สลับหน้า แต่ทำไม่ถึงเพราะสื่ออารมณ์ไม่เนียน

จีนจุดกระแสละคร "มินิดราม่า" ส่ง Reelshot ตีตลาด Netflix เขย่าวงการละครตอนละ 1 นาที สร้างมาเพื่อให้คนดู "เสพติด" โกยรายได้แบบจ่ายทีละตอนไปเกือบ 500 ล้านบาท  ทำรายได้เกือบ 500 ลบ. ในสัปดาห์เดียว หวังดันมินิดราม่าบุกต่างประเทศ เติบโตสู่"ยูนิคอร์น" เทียบชั้น  Netflix

กระแสหนังจีนรูปแบบใหม่ ที่ถูกนำเสนอแบบ “มินิดราม่า” หรือ Short reel กำลังตีตลาด Netflix  ด้วยการนำเสนอแปลกใหม่ คือ การย่อละครหรือซีรีย์ดราม่ามาเหลือเพียงตอนละ 1-2 นาที แต่มีความยาวกว่า 80-100 ตอน

การถ่ายทําซีรีส์ Short reel ทั้งหมดใช้เวลาเพียงแค่ 7 ถึง 10 วันตั้งแต่ต้นจนจบ และค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 300,000 ถึง 500,000 หยวน หรือราว 41,000 ถึง 69,500 ดอลลาร์ 

แต่เมื่อซีรีส์กลายเป็นไวรัล มันสามารถทําได้มากกว่า 100 ล้านหยวน หรือราว 498 ล้านบาท ภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยโครงสร้างรายได้ของ ReelShort  มาจากส่วนใหญ่ใน 10 หรือ 20 ตอนแรกเปิดให้ผู้ชมดูฟรี จากนั้นเริ่มเรียกเก็บเงินตามจุดพีคของเรื่องราว ซึ่งทำให้มีกำไรจากการลงทุนทำมินิดราม่า

มินิดราม่าเริ่มบูมขึ้นเมื่อปีที่แล้ว โดยดึงดูดผู้ชมส่วนใหญ่มาจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น WeChat และ Douyin และแล้วกระแสนี้แรงจน ทำให้บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ อย่าง Tencent และ Baidu รวมทั้งนักแสดงที่มีชื่อเสียงเช่น Stephen Chow กำลังเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น 

ReelShort กระแสแรงพร้อมโตเป็นยูนิคอร์นเทียบชั้น Netflix 

ในที่สุด ReelShort ก็ประสบความสำเร็จในประเทศ ด้วยความต้องการและผู้ชมพร้อมจ่ายเงินเพื่อรับชมยิ่งมากขึ้นในต่างประเทศ ทำให้ผู้ผลิตบางรายก้าวไปสู่จุดที่ท้าทายมากขึ้น ด้วยความต้องการตีตลาด  Netflix 

“เมื่อเทียบกับ Netflix  เพราะการบริโภคของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ดูอะไรที่สั้นลง จึงเป็นแนวโน้มที่ดีของมินิดราม่า”  He Zexi ผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการของบริษัทผลิตมินิดราม่า Jiuzhou Culture กล่าว

นอกจากนี้ Netflix ยังอาศัยรูปแบบรายได้ด้วยการสมัครสมาชิก ในขณะที่มินิดราม่ามีรูปแบบการสร้างรายได้แบบผสมผสาน ซึ่งรวมถึงการสมัครสมาชิกและ pay-per-view สําหรับแต่ละตอน

“เราเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่าหนึ่งในพวกเราจะเติบโตเป็นยูนิคอร์นที่เทียบเท่ากับเน็ตฟลิกซ์”

ตอนนี้บริษัทผู้ผลิตในจีนบางแห่งกําลังเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ แล้ว ReelShort เป็นแอปที่พัฒนาโดยบริษัทในปักกิ่ง COL Group ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Tencent และ Baidu เปิดตัวทั่วโลกครั้งแรกในปี 2565 ด้วยการดัดแปลงมินิดราม่าพร้อมคําบรรยายภาษาอังกฤษ และเริ่มใช้นักแสดงและสตูดิโอในลอสแองเจลิสใน 4 เดือนถัดมา

รายได้หลักตอนนี้มากจากผู้ชมในสหรัฐ คิดเป็นเกือบ 70% ของรายได้จากการซื้อในแอปตั้งแต่เปิดตัว จากข้อมูลของ Sensor Tower ในเดือนมกราคม

รายได้ดี ดันหุ้นพุ่งกระฉูด 

นับตั้งแต่เปิดตัว ReelShort มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 28 ล้านครั้งทั่วโลกและมีรายได้มากกว่า 77 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2,765 ล้านบาท จากผู้ชมที่จ่ายในราคาแพ็คเกจระดับพรีเมียมและการดูแบบครั้งเดียว

ในขณะที่รายได้ของ ReelShort เพิ่มขึ้น หุ้นของ COL Group ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ มากกว่า 200% แม้ว่าช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายน หุ้นร่วงลงประมาณ 50% แต่จากนั้นก็ดีดตัวขึ้นเกือบ 50% ในเดือนกุมภาพันธ์

 ReelShort สร้างมาเพื่อให้คนดู "เสพติด"

ไมเคิล เบอร์รี่ (Michael Berry) ผู้อํานวยการศูนย์จีนศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิสกล่าวว่า “กิจกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปให้ความนิยมกับคลิปสั้นๆ แนวตั้ง ไม่เพียงแต่บน TikTok เท่านั้น แต่ยังเป็นที่นิยมบน Youtube, Facebook และแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย “รูปแบบนี้ช่วยให้การดูวิดีโอบนโทรศัพท์และกระตุ้นการเลื่อนไม่รู้จบ

 ReelShort ถูกสร้างขึ้นเพื่อกลุ่มผู้ชมที่มีอายุน้อย และออกแบบมาเพื่อให้กลุ่มผู้ชม “เสพติด” ทั้งเนื้อหาและวิธีการเสพ เพราะคนกลุ่มอายุเหล่านี้ไม่สามารถต้านทานแรงกระตุ้นในการเสพสื่อได้ แต่เมื่อกลุ่มลูกค้าถูกขยายไปยังช่วงอายุที่มากขึ้น ถือเป็นโอกาสใหม่ในการสร้างสรรค์เนื้อหาที่หลากหลาย 

แม้ว่า  ReelShort จะมีต้นทุนการผลิตละครดราม่าที่ต่ำมากๆ แต่ทว่าต้องจ่ายเงินค่าโฆษณาบน โซเชียลมีเดีย ได้แก่ Meta, Google และ TikTok เพื่อดึงดูดการเข้าชมไปยังแพลตฟอร์ม ขนาดที่ว่าสื่อจีนบางแห่งใช้ 80% ของเงินลงทุนไปกับโฆษณา

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในการเติบโตในต่างประเทศของ   ReelShort ดูเหมือนจะไม่ง่าย เพราะว่า มีอุปสรรค์ในเรื่องความแตกต่างในนโยบายความเป็นส่วนตัวระหว่างในประเทศและต่างประเทศซึ่งมีความซับซ้อนกว่ามาก นําไปสู่ความคลาดเคลื่อนในความแม่นยําและประสิทธิภาพของอัลกอริธึม 

ตอนนี้ไม่ใช่เพียงแค่ ReelShort ของจีนที่เปิดตัวแอปมินิดราม่าเพื่อตีตลาดต่างประเทศ อื่นๆ ยังมี GoodShort, MoboReels และ FlexTV ด้วย

กุญแจสู่ความสําเร็จของมินิดราม่า

"นักแสดงที่ดี" คือกุญแจสู่ความสําเร็จของมินิดราม่า โปรดิวเซอร์กำหนดกลุ่มเป้าหมายของคนดูทั้งในและต่างประเทศ ทำให้นักแสดงตัวเอกชายจะต้องรวยและหล่อเหลาและตัวเอกหญิงมักจะดูธรรมดาแต่มีบุคลิกที่น่ารัก ทำให้จินตนาการของกลุ่มผู้ชมที่เป็นผู้หญิง มีจินตนาการร่วมไปกับหนัง

ใช้ AI สร้าง นางเอกมินิดราม่า

รวมทั้งบริษัทต่างๆ กําลังทดลองสร้างละครด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI โดยใช้เพื่อแทนคาแรคเตอร์ที่ใบหน้าจีนด้วยใบหน้าแบบตะวันตก กลยุทธ์นี้ได้กลายเป็นแหล่งรายให้กับบริษัทต่างๆ ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนใบหน้า หรือ Face-swapping AI ตั้งแต่ 50,000 หยวนไปจนถึงมากกว่า 100,000 หยวนสําหรับความยาวของทั้งซีรีส์

แต่ก็นะ การใช้ AI เพื่อแลกเปลี่ยนใบหน้าไม่ใช่วิธีหลักในการสร้างมินิดราม่า เพราะเหตุผล 2 ประการ 

อย่างแรก ตอนนี้เกิดคำถามว่าตลาดสหรัฐฯ และยุโรปจะยอมรับวิธีการการแลกเปลี่ยนใบหน้าด้วย AI แบบนี้หรือไม่ และ ถัดมาคือในฉากที่มีอารมณ์รุนแรงและการกระทําที่สําคัญ การใช้ AI face-swapping นั้นสื่ออารมไม่เพียงพอ

จีนจะเอาชนะใจแฟนละครต่างประเทศด้วย ReelShort ได้มั้ย?

ผู้ผลิตมินิดราม่าในจีนยังคงตั้งคำถาม ว่าเร็วเกินไปไหมที่จะบอกว่าความสำเร็จของมินิดราม่าในประเทศจะสะท้อนความสำเร็จบนเวทีโลก ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และตลาดต่างประเทศจะซื้อละครของจีนทั้งหมดเหล่านี้รึป่าว?

แม้ว่าตอนนี้ ในประเทศจีนมีละคร 1 ใน 25 เรื่องได้รับความนิยม ในขณะที่อัตราส่วนในตลาดต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 3.5 เรื่อง เนื่องจากผู้ชมต่างชาติยอมจ่าย และไม่ได้ค้นหาแหล่งละครที่ละเมิดลิขสิทธิ์

อ้างอิง Nikkei