กูรู วิเคราะห์เฟดส่อขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าลด จับตาปัจจัยเสี่ยงกระทบเงินเฟ้อ

กูรู วิเคราะห์เฟดส่อขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าลด จับตาปัจจัยเสี่ยงกระทบเงินเฟ้อ

นักลงทุนกำลังคาดเดาถึงการประชุมครั้งต่อไปว่าของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed)  จะสามารถจัดการกับสถาณการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้นักวิเคราะห์บางคนโต้เถียงว่า เฟดจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงไม่กี่สัปดาห์ หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง

KEY

POINTS

  • ประธานเฟด ไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อของสหรัฐจะอยู่ในทิศทางที่จะทำให้เฟดตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในเดือนมี.ค.
  • ในการประชุม FOMC เมื่อ 31 ม.ค.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด
  • ทำให้นักวิเคราะห์ในตลาดคาดการณ์ถึงแนวโน้มผลประชุมครั้งถัดไปในวันที่ วันที่ 19-20 มี.ค. มองว่าท่าทีของเฟดอาจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าลด
  • Citigroup Inc. คาดว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมิ.ย. ด้าน อดีตขุนคลังสหรัฐมองว่ามีโอกาส 15% เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

นักลงทุนกำลังคาดเดาถึงการประชุมครั้งต่อไปว่าของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed)  จะสามารถจัดการกับสถาณการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้นักวิเคราะห์บางคนโต้เถียงว่า เฟดจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงไม่กี่สัปดาห์ หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง

จากการเดิมพันว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดลงในเร็วๆ นี้หรือไม่ ถูกพูดถึงเมื่อ 2 - 3 สัปดาห์ก่อน จนเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ได้จัดการแถลงข่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ (31 ม.ค.) โดยนายพาวเวลกล่าวกับสื่อมวลชนว่า เฟดไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อของสหรัฐจะอยู่ในทิศทางที่จะทำให้เฟดตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในเดือนมี.ค.

วิเคราะห์แนวโน้มเฟดจะขึ้นหรือลด "ดอกเบี้ย"

กลายเป็นอีกการถกเถียงที่ร้อนแรงที่สุดของนักวิเคราะห์ในตลาดตอนนี้  ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส (Lawrence Summers) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ กล่าวว่านักลงทุนในตลาดมองว่าการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปกำลังจะมาถึง ซึ่งแน่นอนนว่ามีโอกาสว่าความเคลื่อนไหวครั้งต่อไปจะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและมีความหมายต่อตลาดอย่างแน่นอน

แม้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งอาจเกิดได้ยากในช่วงเวลานี้  แต่บางคนมองว่าตอนนี้เหมือนกับช่วงปลายทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นเพียงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงสั้นๆ เท่านั้น ก่อนที่จะนำไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในภายหลัง

 

ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส  มองว่า มีโอกาส 15% เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
มาร์ค แนช ผู้จัดการกองทุน Jupiter Asset Management มองว่า มีโอกาสอยู่ที่ 20%

ลินด์ซีย์ รอสเนอร์ ( Lindsay Rosner) หัวหน้าฝ่ายการลงทุนตราสารหนี้หลายภาคส่วนของ Goldman Sachs Asset Management เห็นด้วยกับการประเมินความเสี่ยงของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ในมุมมองของซัมเมอร์ส แม้ว่าจะสรุปว่า “คงจะสมเหตุสมผลมากกว่าที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเหล่านี้ให้นานขึ้น” เพื่อให้เฟดมั่นใจในการควมคุมภาวะเงินเฟ้อ


ขณะที่ เอิร์ล เดวิส หัวหน้าฝ่ายตลาดตราสารหนี้และตลาดเงินของ BMO Global Asset Management กล่าวว่า “มีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้และเป็นไปได้มากมาย” ซึ่งอาจมีความไปได้ในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย  75 เบซิสพอยท์  ในปี 2567 

แมรี ดาลี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโก  กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ย 75 เบซิสพอยท์  ในปี 2567 ถือเป็น “การคาดการณ์พื้นฐานที่สมเหตุสมผล”

พาวเวล ส่งญาณเฟดไม่ลดดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. กังวลเงินเฟ้อยังสูง

ขณะเดียวกัน นายพาวเวลกล่าวว่า “คณะกรรมการ FOMC เชื่อมั่นว่า เป็นเรื่องเหมาะสมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย เมื่อมีข้อมูลยืนยันว่าเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้แล้ว แต่เมื่อพิจารณาจากการประชุมในครั้งนี้ ผมไม่คิดว่าคณะกรรมการ FOMC จะมีความเชื่อมั่นในเรื่องนี้ได้ภายในช่วงเวลาที่เฟดจะจัดการประชุมนโยบายการเงินในเดือนมี.ค. ซึ่งหมายความว่าเราไม่อาจชี้ชัดได้ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นในเดือนมี.ค.”

ทั้งนี้ นายพาวเวลระบุว่า อัตราดอกเบี้ยของเฟดอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว และดอกเบี้ยอาจจะปรับลดลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มที่ว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และการคาดการณ์ว่าการเติบโตของการจ้างงานและเศรษฐกิจจะมีความยั่งยืน อย่างไรก็ดี นายพาวเวลปฏิเสธที่จะให้ความชัดเจนว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกเมื่อใด โดยเขากล่าวว่า “ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับข้อมูล”

“แม้เงินเฟ้อชะลอตัวลง แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงเกินไป และกระบวนการที่จะฉุดอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงนั้น ยังคงไม่แน่นอน ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นเมื่อเฟดมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า เงินเฟ้อจะยังคงปรับตัวลงจากระดับที่เฟดให้คำนิยามว่า ‘อยู่ในระดับสูง’ อย่างน้อยต้องเป็นการปรับตัวลงเมื่อเทียบเป็นรายปี” 

ทำให้นักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของนายพาวเวล ซึ่งจะมีขึ้นก่อนการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 19-20 มี.ค. เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่สูงกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว


รวมทั้ง Bond Yield อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพลิกพุ่งขึ้นทะลุ 4.2% หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงกว่าคาด ซึ่งพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบเกือบสองปี รวมทั้งการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในเดือนมกราคมยังสูงกว่าการคาดการณ์ แม้ว่ายอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ลดลง 0.8% ในเดือนมกราคม

ทำให้เกิดข้อขัดแย้งที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังคงขยายตัวเร็วกว่าศักยภาพในระยะยาว อาจจะเป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้  

หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัว

ด้าน Societe Generale SA หัวหน้านักยุทธศาสตร์ FX Kit Juckes กล่าวในรายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า หาก “เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง ในที่สุด Fed จะเข้มงวดในการการควมคุม และเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น” ถึงขึ้นกลับไปสู่ระดับสูงสุดตลอดกาลของปี 2565

ค่าเงินดอลลาร์ แข็งค่าสูงสุดในปี 2565

การวิเคราะห์ถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นโดย Bloomberg Intelligence แสดงให้เห็นว่านักลงทุนเริ่มเคลื่อนไหว และเริ่มวางแผนการลงทุนตามโอกาสที่เฟดจะขึ้นในปีหน้า หลังจากตัวเลข CPI เปิดเผยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

เดวิด โรบิน นักยุทธศาสตร์ของ TJM Institutional  โบรกเกอร์ตลาดฟิวเจอร์ คาดว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงสองหรือสามครั้งในปีนี้ และความคาดหวังเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ ทำให้นักลงทุนมีความต้องการทราบเพื่อวางแผนการลงทุนในพอร์ต และคิดว่าพอร์ตของเขาจะระเบิดวันไหนและหาวิธีป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้ 

โดยนักเศรษฐศาสตร์ ของธนาคารซิตี้กรุ๊ป Citigroup Inc. คาดว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พร้อมกล่าวว่า ควรวางแผนชป้องกันความเสี่ยง สำหรับความเสี่ยงที่เฟดจะเข้าสู่วงจรการผ่อนคลายระยะสั้นเพียงช่วงสั้น ๆ เท่านั้น และตามมาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังจากนั้น

ปัจจัยเสี่ยง ผลกระทบเงินเฟ้อ มีผลต่อดอกเบี้ยนโยบาย

ย้อนไปในปี 1998 เจ้าหน้าที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสามครั้งติดต่อกันอย่างรวดเร็ว เพื่อลัดวงจรวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดจากการผิดนัดชำระหนี้ของรัสเซีย จากนั้นเฟดจึงเริ่มวงจรการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน 1999 เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ

นอกจากข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศที่ผันผวนแล้ว ยังมีเรื่องราวระหว่างประเทศที่ต้องพิจารณาอีกด้วย

ทิฟฟานี่ ไวล์ดิ้ง นักเศรษฐศาสตร์จาก Pacific Investment Management Co. กล่าวว่า หนึ่งในนั้นคือ ความขัดแย้งในทะเลแดงและการชะลอตัวที่เกิดจากภัยแล้งในคลองปานามา ส่งผลให้การขนส่งต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น โดยทั้งหมดย่อมมีผลกระทบต่อ "นโยบายผ่อนคลาย"   ซึ่งล้วนมีความเสี่ยงและเป็นสิ่งที่ยากสำหรับการคาดการณ์

อ้างอิง bloomberg