‘เวิลด์แบงก์’ ชี้ ทางตันการเมือง“ ไทย” ซ้ำเติมฟื้น ศก.ช้าสุดในอาเซียน

‘เวิลด์แบงก์’ ชี้ ทางตันการเมือง“ ไทย” ซ้ำเติมฟื้น ศก.ช้าสุดในอาเซียน

“เวิลด์แบงก์ ประจำประเทศไทย” มองไทยฟื้นเศรษฐกิจช้าสุดในอาเซียน ซ้ำร้ายเจอโรคเลื่อนระบาด กับภาวะทางตันการเมือง และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกผันผวน ฉุดรั้งพัฒนาประเทศ

นายฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนา ThaiLand Economic Resilience and Opportunities” จัดโดยเดอะเนชั่น ที่โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ สุขุมวิท โดยได้วิเคราะห์การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยและความท้าทายในอนาคตว่า ถ้ามองในมุมโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งเวิลด์แบงก์เห็นไทยมีความมุ่งมั่นบรรลุการเร่งสร้างความเติบโตและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น 

เวิลด์แบงก์มองเห็นความท้ายของประเทศไทย มี 3 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่

1.ความท้าทายภายด้านโครงสร้างของประเทศ ที่เกิดจากจำนวนประชากรวัยทำงานที่ลดลง และการลงทุนจากภาคเอกชนที่ชะลอตัว และอัตราการเติบโตทางการผลิตที่ลดลง ล้วนเป็นอุปสรรคต่อแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว แม้การนำพาประเทศให้เติบโตสูงขึ้น จะไม่ง่าย แต่สามารถทำได้ หากปรับปรุงโครงสร้างประเทศ

“วันนี้ ไทยฟื้นทางเศรษฐกิจล่าช้ากว่าประเทศในอาเซียน ซึ่งคาดว่า การเติบโตในระยะกลางจะชะลอตัวไปถึง 3% หากไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญจากผลปัญหาจำนวนประชากรวัยทำงานที่ลดลง จะส่งผลให้แนวโน้มการไปสู่เป้าหมายบรรลุรายได้สูง  เกิดขึ้นหลังปี 2593 จากเดิมที่กำหนดไว้ปี 2579” ผู้จัดการเวิลด์แบงก์ประจำประเทศไทยกล่าว 

2. ความท้าทายระดับโลก สิ่งที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจในปี 2566 - 2567 มาจากช่องทางการเงินและการค้า หลังจากที่การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 3.1% เมื่อปีที่แล้ว ขณะนี้ยังคงอยู่ในช่วงยากลำบาก จากภาวะเงินเฟ้อ มาตรการการเงินที่เข้มงวด และระดับหนี้แตะระดับสูงสุด ทำให้เศรษฐกิจโลกเติบโตจะชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญ 2.1% ในปีนี้ และ 2.4% ในปี 2567 

“การเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกคาดว่า จะเพิ่มขึ้นจากการที่จีนเปิดประเทศ ถือว่าเป็นแรงกระตุ้นหลัก อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนยังไม่มีความแน่นอน เนื่องจากตัวเลขการเติบโตล่าสุด ไม่เป็นไปตามคาดการณ์” ซาร์โคเนกล่าว และชี้อัตราการเติบโตของเอเชียอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

3. ทางตันการเมือง นับเป็นประเทศท้าทายภายในประเทศจากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ส่งผลต่อการฟื้นตัวของไทย และกำหนดเป้าหมายในอนาคต ขณะนี้ภาคเอกชนของไทยได้เริ่มส่งสัญญาณไม่สบายใจ ด้านตลาดต่างประเทศอาจส่งสัญญาณเดียวกันนี้ตามมา ท้ายที่สุดแล้ว แม้ความท้าทายต่างๆ จะหนักอึ้ง แต่ยังมีโอกาสมากมายรออยู่ข้างหน้าด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นายซาร์โคเนกล่าวย้ำในตอนท้ายว่า เวิลด์แบงก์มุ่งมั่นสนับสนุนแผนการพัฒนาของไทย เตรียมพร้อมรับมือเศรษฐกิจใหม่ อย่างคิดวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน