‘นโยบายการศึกษา’ ตลาดเกิดใหม่ จูงใจต่างชาติเลือกเรียนต่อมากสุด

‘นโยบายการศึกษา’ ตลาดเกิดใหม่ จูงใจต่างชาติเลือกเรียนต่อมากสุด

‘นโยบายการศึกษา’ ตลาดเกิดใหม่ จูงใจต่างชาติเลือกเรียนต่อมากสุด โดยนักศึกษาจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนา พอใจศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในศูนย์กลางภูมิภาคที่อยู่ใกล้เคียง เนื่องจากค่าเทอมถูกกว่าและมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพมากกว่า

สหรัฐ ,ประเทศกำลังพัฒนาในยุโรป และประเทศอื่น ๆ เคยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักศึกษาที่ต้องการเรียนต่อต่างประเทศ แต่ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป ผู้คนจำนวนมากเดินทางไปตุรกี อาร์เจนตินา และประเทศตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ เพื่อศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น ทำให้ประเทศตลาดเกิดใหม่ในซีกโลกใต้ มีนักเรียน นักศึกษาต่างชาติระดับมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น

“รินา ลิกา” นักศึกษาชาวอัลบาเนีย ที่เดิมวางแผนไปเรียนต่อในประเทศแถบยุโรป แต่สุดท้ายก็เปลี่ยนใจไปเรียนที่มหาวิทยาลัยในตุรกีแทน

ลิกา นักศึกษาเอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยอังการา เล่าว่า “มหาวิทยาลัยหลายแห่งในตุรกีมีชื่อเสียงดีมาก และรัฐบาลตุรกีมีทุนการศึกษาที่ครอบคลุม ไม่ได้มีแค่ค่าเทอมและค่าหอพักเท่านั้น แต่ยังมีงบประมาณค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วย”

ในปี 2563 มหาวิทยาลัยหลายแห่งในตุรกีรับสมัครนักศึกษาชาวต่างชาติทั้งสิ้น 180,000 คน ซึ่งมากกว่าเมื่อ 20 ปีก่อน 10 เท่า

นอกจากตุรกีแล้ว ประเทศตลาดเกิดใหม่แห่งอื่น ๆ ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในกลุ่ม G20 เป็นประเทศยอดนิยมในหมู่นักศึกษาชาวต่างชาติด้วยเหมือนกัน
 

องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เผยว่า ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา จนถึงปี 2563 จำนวนนักศึกษาชาวต่างชาติในอาร์เจนตินา เพิ่มขึ้นประมาณ 37 เท่า ในเม็กซิโกเพิ่มขึ้น 19 เท่า และในอินเดียเพิ่มขึ้น 7 เท่า ขณะที่นักศึกษาต่างชาติทั่วโลกเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเพียง 3 เท่า

อย่างไรก็ตาม สหรัฐยังคงครองอันดับ 1 ประเทศที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในโลกจำนวน 950,000 คน รองลงมาเป็นอังกฤษและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ แต่สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติของประเทศรายได้ปานกลางเพิ่มขึ้น 6% ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา 

 ขณะที่ต่างประเทศมีนักศึกษาจากประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก แต่ 60% ของนักศึกษาที่เรียนต่างประเทศทั้งหมด มาจากประเทศรายได้ปานกลาง

แทนที่จะศึกษาในประเทศกำลังพัฒนา นักศึกษาจำนวนมากในประเทศเหล่านั้น กลับพึงพอใจมหาวิทยาลัยในศูนย์กลางภูมิภาคที่อยู่ใกล้เคียงแทน เนื่องจากนักศึกษาสามารถจ่ายค่าเทอมได้ถูกกว่าและมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพมากกว่า

อาร์เจนตินา มีนักศึกษาต่างชาติ 120,000 ในปี 2563 เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ประมาณ 60% ขณะที่จำนวนนักเรียนต่างชาติทั่วโลก เพิ่มขึ้นเพียง 20% ในช่วงเวลาเดียวกัน

กรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงขอประเทศอาร์เจนตินา กลายเป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับนักศึกษาอันดับที่ 23 จากการจัดอันดับของควากควาเรลลี ไซมอนด์ส องค์ด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของอังกฤษ

ขณะเมืองยอดนิยมในหมู่นักศึกษา 10 อันดับแรกส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เมืองหลวงอาร์เจนตินา ถือเป็นเมืองหลวงที่ให้โอกาสแก่นักศึกษาต่างชาติมากมาย และกรุงบัวโนสไอเรสยังเป็นเมืองหลวงที่มีค่าครองชีพและค่าเทอมถูก มีความหลากหลาย โดย 15% ของนักเรียน นักศึกษาในกรุงบัวโนสไอเรส เป็นต่างชาติ

“มาจิ รี” คณบดีศูนย์การศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยวาเซดะกรุงโตเกียว เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเรียนต่างประเทศ ว่าควรมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาข้ามพรมแดนให้มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ดียิ่งขึ้น"

รี คาดว่า จำนวนนักศึกษาที่เลือกเรียนในแถบซีกโลกใต้จะเพิ่มขึ้นอีก เมื่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สิ้นสุดลง

“ฮิโรชิ ซาโต” อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสึกุบะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษานานาชาติ สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของกลุ่มคนหนุ่มสาวที่ศึกษาต่อต่างประเทศ พบว่า คนรุ่นใหม่ที่เกิดในยุคโลกาภิวัตน์ เปิดใจกับการศึกษาต่อในประเทศตลาดเกิดใหม่มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าถึงข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดียได้ง่าย ทำให้สถาบันการศึกษาในประเทศเหล่านั้น เข้าถึงได้ง่าย 

นอกจากนี้ ประเทศตลาดเกิดใหม่บางแห่งมีนโยบายระดับชาติที่จะดึงดูดนักศึกษาต่างชาติด้วย ยกตัวอย่างกรณีตุรกี ที่เริ่มเปิดให้ทุนการศึกษาเพิ่มเติมช่วงปี 2563 และมีนักศึกษาต่างชาติสมัครเรียน 160,000 คน มากกว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมาถึง 4 เท่า

“เรเจป เทย์ยิป เออร์ดวน” ประธานาธิบดีตุรกีกล่าวไว้เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ว่า ตุรกีเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางด้านการศึกษา 5 อันดับแรกของโลก

ส่วนนักศึกษาจีน ก็นิยมมาเรียนต่อในประเทศไทย ปากีสถาน อินเดีย และประเทศอื่น ๆ ในซีกโลกใต้ด้วยเช่นกัน