หลักสูตร กฎหมายแรงงานที่เจ้าของกิจการผู้บริหารและ HR ต้องรู้

หลักสูตร กฎหมายแรงงานที่เจ้าของกิจการผู้บริหารและ HR ต้องรู้

เจาะประเด็นร้อนล่าสุด ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา | นี่คือคำพิพากษาศาลฎีกาคดีแรงงานล่าสุด.. ที่นายจ้างแพ้คดีตลอดกาล

หัวข้ออบรม:

  • ด่า กระทบ กระเทียบผู้บริหารบนโซเชียล แต่ไม่ระบุชื่อ นายจ้างจะเลิกจ้างต้องทำอย่างไร ?
  • ด่าคนอื่น ด่าคนนอกบริษัทบนโซเชียล จะเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ ?
  • คนผลงานไม่ดี ไม่คุ้มค่าจ้าง จะประเมินผลงานให้ต่ำแล้วนำมาเป็นเหตุผลในการเลิกจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ ทำไมศาลว่าไม่เป็นธรรม จะเอาอะไรอีก ?
  • พนักงานเห็นเพื่อนทำผิด แต่ไม่ห้าม แต่รีบส่งไลน์บอกผู้จัดการต้นสังกัดของเพื่อนแล้ว  นายจ้างว่าการไม่ห้ามขณะที่เห็นนั้น เป็นการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย จะเลิกจ้างได้หรือไม่ ?
  • นายจ้างยุบฝ่ายบัญชีของบริษัทในเครือมารวมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงาน กระจายคนที่เกินไปทำงานอื่นๆ ในเครือ ถ้ามีคนไม่ไปนายจ้างจะลงโทษได้หรือไม่ ?
  • ธุรกิจของนายจ้างบางสาขาผลประกอบการไม่ดี จึงคิดจะปิดสาขา และย้ายพนักงานไปทำงานสาขาอื่น ถ้าพนักงานไม่ไปจะทำอย่างไร ?
  • การย้ายโต๊ะทำงาน เปลี่ยนมุม แต่ลูกจ้างไม่เปลี่ยน จะเลิกจ้างได้ต้องทำอย่างไร ?
  • หลักการย้ายงานที่เป็นธรรม ต้องทำอย่างไร ?
  • ลูกจ้างถูกตัดพักร้อนทิ้งทุกปี ทำไมศาลจึงสั่งให้จ่ายย้อนหลัง  ?
  • จะจัด..จะสะสม..จะจ่ายเงินค่าพักร้อนแต่ละปีอย่างไร ให้ถูกกฎหมาย ?
  • สัญญาจ้างรายปี เมื่อครบสัญญาแล้ว ทำไมศาลจึงสั่งให้จ่ายค่าชดเชย ?
  • ทำสัญญาจ้างรายปีติดต่อกันมา 3 ปีแล้ว ปีที่  4 จ้างต่อแต่ลูกจ้างไม่ทำต่อเอง ต้องจ่ายค่าชดเชยที่ทำงานมา 3 ปีให้หรือไม่ ?
  • ทำสัญญาจ้างกันแล้ว มายกเลิกก่อนวันทำงาน ลูกจ้างจะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ ?
  • ค่าชดเชย เกิดขึ้นเมื่อใด ต้องจ่ายวันไหน อะไรที่ไม่ต้องจ่าย ?
  • ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเกิดขึ้นเมื่อใด ต้องจ่ายวันไหน อะไรที่ไม่ต้องจ่าย ?
  • ทำไมต้องทดลองงาน ? ใช้สิทธิตามมาตราอะไร ? ทำไมนายจ้างจึงต้องแพ้คดีอยู่ร่ำไป ? 
  • ลูกจ้างเป็นอัมพาตนอนอยู่บ้าน 3 ปี ต้องนับรวมอายุงานหรือไม่ ? 
  • ลูกจ้างรายเดือนได้รับค่าจ้างวันอาทิตย์ด้วย ถ้าเลิกจ้างวันสุดท้ายคือ วันเสาร์ ต้องนับวันอาทิตย์สุดท้ายรวมอายุงานหรือไม่ ?
  • จะลดค่าจ้าง ลดตำแหน่งได้ ต้องทำอย่างไร ?
  • เกษียณแล้วจ้างต่ออีก 2 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชยใหม่หรือไม่ หรือ ขยายไปอีก 2 ปี แต่ตายก่อน ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ?
  • ให้เงินสดลูกค้าไปใช้ก่อน มาทำสัญญากู้ทีหลังผิดระเบียบชัดๆ ทำไมศาลว่าผิดไม่ร้ายแรง ?
  • คนค้ำประกัน ทำไมศาลว่าไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว ?
  • เอาโฉนดที่ดินมาค้ำประกันการทำงาน ถ้าเสียหายจะขายที่ดินมาชดใช้ได้หรือไม่ ?
  • ค้ำซื้อรถ ค้ำกู้เงิน คนซื้อหนีไป ทำไมศาลว่าคนค้ำไม่ต้องชดใช้ ?
  • ในข้อบังคับไม่มีลงโทษตัดโบนัส แต่ทำไมศาลว่านายจ้างลงโทษด้วยการตัดโบนัสได้ ?
  • เมาแล้วขับ จะไม่รับกลับเข้าทำงานต้องทำอย่างไร ?
  • คนลาออกไม่ลา ไม่แจ้งล่วงหน้า นายจ้างจะฟ้องเรียกค่าเสียหายอะไรได้บ้าง ?
  • หนังสือเตือน ที่ศาลว่าไม่มีผล เป็นอย่างไร จะให้มีผลตามกฎหมายต้องเขียนอย่างไร ?
  • ป่วยจากการทำงาน นายจ้างเลิกจ้างได้และเป็นธรรม ต้องทำอย่างไร ?
  • พนักงานฝ่าฝืนมาตรการป้องกันจนติดเชื้อโควิด จะเลิกจ้างต้องทำอย่างไร ?

รูปแบบการอบรม
• ทฤษฎี 80%
• ถาม-ตอบ 20%

บรรยายโดย: อาจารย์สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงาน และศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกามากกว่า 10,000 คดี
อดีตผู้จัดการฝ่ายบุคคลองค์กรชั้นนำ

วันที่ 27 พฤษภาคม 2565
เวลา 09.00 - 16.00 น.
ณ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพ จี (BTS ช่องนนทรี)

อัตราท่านละ 6,000 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

พิเศษ!
• สมัคร 2 ท่านขึ้นไป ลด 10%
• สมาชิก i-news ลดทันที 5%

ดาวน์โหลดเอกสารหลักสูตร >> bangkokbiznews.com/kt/media/training/05.27law/Outline.pdf

ลงทะเบียนออนไลน์>> bangkokbiznews.com/training

โทร: 0-2338-3705-7, 086-313-1903
ค่าใช้จ่ายในการอบรมลดหย่อนภาษีได้ 200% (สำหรับนิติบุคคล)

 

พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์