สเต็ปโต "ไดเอทซ์" Dietz ผู้อยู่หลังบ้าน Home Isolation

สเต็ปโต "ไดเอทซ์" Dietz ผู้อยู่หลังบ้าน Home Isolation

อัปเดตความเป็นไปของ Dietz (ไดเอทซ์) แพลตฟอร์มเทเลเมดิซีนหรือระบบการแพทย์ทางไกล ที่อยู่เบื้องหลังการช่วยเหลือโรงพยาบาลและผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงวิกฤติที่สุด

Dietz ให้บริการผู้ป่วยในระบบ Home Isolation ประมาณ 2 แสนคนในกว่า 200 โรงพยาบาลทั่วประเทศในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา การเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มการแพทย์ทางไกลในช่วงนั้น จึงเสมือนเป็น "แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์" ท่ามกลางวิกฤติระบบสาธารณสุขไทย

ผู้พัฒนา Dietz ร่วมแชร์ประสบการณ์และเดินหน้าของแพลตฟอร์มเทเลเมดิซีน ในกิจกรรม ETDA's Hackathon 2023 Dietz Telemedicine Station ในงาน Health&Wealth Expo 2023 จัดโดยเนชั่นกรุ๊ป เมื่อเร็วๆ นี้

ไดเอทซ์ ระบบเทเลเมดิซีนสำหรับสถานพยาบาลติดต่อคนไข้ เพื่อประเมินการรักษาและรับยาได้ผ่านระบบการแชตและวีดิโอคอล

แพลตฟอร์มจะบันทึกผลการวินิจฉัยและการรักษา การออกใบสั่งยา การรับชำระเงินด้วยวิธีต่างๆ เช่น บัตรเครดิต การชำระผ่านธนาคาร พร้อมเพย์ อาลีเพย์

รวมถึงการชำระเงินรูปแบบใหม่คือคริปโท (Crypto Currency) เช่น BTC รองรับการจัดส่งทางพัสดุ การจัดส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงการจัดส่งด้วยพนักงานจัดส่ง

สเต็ปโต \"ไดเอทซ์\" Dietz ผู้อยู่หลังบ้าน Home Isolation

กระทรวงดีอี-NIA สนับสนุน

พงษ์ชัย เพชรสังหาร กรรมการผู้จัดการบริษัท พรีซีชั่น ไดเอทซ์ จำกัด กล่าวว่า ตลาดเทเลเมดิซีนโลกเติบโตเฉลี่ย 32% มูลค่าการตลาด 144 พันล้านดอลลาร์ด้วยปัจจัยสนับสนุนต่างๆ โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมสูงวัยในหลายประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวอีกมาก 

ประกอบกับนโยบายรัฐบาลกำหนดเป็น KPI ให้โรงพยาบาลรัฐใช้แพลตฟอร์มการแพทย์ทางไกลให้บริการครอบคลุม 60% ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาล

ส่วนหนึ่งในความสำเร็จของไดเอทซ์มาจากการส่งเสริมและสนับสนุนโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

ทั้งสามหน่วยงานได้ให้คำปรึกษาในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริการออนไลน์ แนวทางการเข้าสู่ตลาดภาครัฐซึ่งสำคัญมาก การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ตลอดจนการให้ทุนสนับสนุนในการวิจัยทดลองสู่การใช้งานจริงในโรงพยาบาล

สเต็ปโต \"ไดเอทซ์\" Dietz ผู้อยู่หลังบ้าน Home Isolation

แพลตฟอร์มของบริษัทถือว่าครบวงจรสำหรับบริการเทเลเมดิซีน นอกจากบริการตรวจรักษาออนไลน์แล้ว ยังครอบคลุมถึงระบบการเงินทั้งการเคลมสิทธิทางการแพทย์ต่างๆ ทั้งในส่วนของ สปสช. สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการและสิทธิประกันภัยของเอกชน 

นอกจากนี้ยังมีระบบจัดส่งยาให้กับผู้ป่วยปลายทางด้วย และที่สำคัญคือระบบมีความปลอดภัยสูงในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยที่เป็นไปตามกฎหมาย PDPA และกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาเป็นแห่งแรกที่ปรับใช้ระบบการแพทย์ทางไกลที่ไดเอทซ์พัฒนาขึ้นกับผู้ป่วยโควิด-19 ในระบบ Home Isolation ในช่วงนั้นสถานพยาบาลทั่วประเทศประสบปัญหาคนไข้ล้น แพทย์พยาบาลทำงานกันแทบจะตลอด 24 ชั่วโมงทั้ง 7 วัน

เมื่อแพลตฟอร์มช่วยลดภาระงานได้จริง ทำให้โรงพยาบาลแห่งอื่นๆ ตื่นตัวและติดต่อเข้ามาเพื่อขอให้ไดเอทซ์เปิดใช้งานระบบให้โรงพยาบาลของตนเป็นจำนวนมาก

ลดเหลื่อมล้ำในอาเซียน

พงษ์ชัยตั้งเป้าที่จะผลักดันไดเอทซ์ให้เป็น “เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลของอาเซียน” ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขการแพทย์ของประชากรอาเซียน

ซึ่งกว่า 90% เลือกที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ ทำให้สถานที่เกิดความแออัด รวมถึงตัวบุคลากรก็ได้รับความเครียดตามไปด้วย ทางด้านแพทย์เองก็อยากคุยกับคนไข้นานๆ

สเต็ปโต \"ไดเอทซ์\" Dietz ผู้อยู่หลังบ้าน Home Isolation

 แต่เนื่องจากใน 1 วัน ต้องวินิจฉัยคนไข้เยอะมาก เวลามีจำกัด จนบางครั้งอาจส่งผลให้เกิดการวินิจฉัยที่ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่ในเมื่อเราเข้าสู่ยุคใหม่แล้ว เราน่าจะนำธุรกิจต่างๆเข้ามาช่วยวงการสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้น

“ในฐานะคนไข้บางครั้งเราก็ไม่อยากไปหาหมอ หรือติดตามอาการของโรคที่ไม่หนักมากนัก ดังนั้น หากมีเทคโนโลยีที่เข้ามาหนุนการติดตามอาการคนไข้จากที่ไหนก็ได้ ถือเป็นโอกาสสำคัญของสตาร์ตอัป และผู้ประกอบการในการพัฒนาและขยายการแพทย์ทางไกลให้เติบโตมากขึ้น”

สเต็ปโต \"ไดเอทซ์\" Dietz ผู้อยู่หลังบ้าน Home Isolation

ปี 67 เพิ่มฟีเจอร์เทเลฟาร์มาซี

สำหรับแผนงานในปี 2567 เขาตั้งเป้าเข้าถึงโรงพยาบาลรัฐ 300 แห่งจากทั้งหมดประมาณ 900 แห่งทั่วประเทศ และมีจำนวนครั้งเข้าใช้บริการ 1 ล้านครั้ง

นอกจากนี้จะขับเคลื่อนฟีเจอร์ใหม่คือบริการ “เทเลฟาร์มาซี” หรือเภสัชกรรมทางไกล รวมทั้งการนำเทคโนโลยีเอไอมาเสริมในระบบติดตามประเมินผลเพื่อช่วยให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยได้สะดวกยิ่งขึ้น 

ขณะที่ในส่วนของการระดมทุนได้ตั้งเป้าหมายไว้ประมาณ 70 ล้านบาทในรอบ pre series A ซึ่งใกล้ปิดระดมทุนแล้ว 

สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนั้น โรงพยาบาลจะมีค่าใช้จ่ายสองส่วน คือ ค่าติดตั้ง และ ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยต่อคนต่อเดือน โดยค่าติดตั้งและการฝึกอบรมใช้งานขึ้นกับความซับซ้อนในการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศโรงพยาบาลกับทางไดเอทซ์ และมีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยต่อคนต่อเดือน

ขณะที่โรงพยาบาลของรัฐ สามารถขอรับการสนับสนุนค่าติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานระบบได้ โดยการทำ MOU ระหว่างสถานพยาบาลกับไดเอทซ์ และได้รับส่วนลดพิเศษสำหรับค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยต่อคนต่อเดือน.