เอกกษัตริย์นักพัฒนา พระบิดาเเห่งเทคโนโลยีของไทย

เอกกษัตริย์นักพัฒนา พระบิดาเเห่งเทคโนโลยีของไทย

เอกกษัตริย์นักพัฒนา พระบิดาเเห่งเทคโนโลยีของไทย ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “เทคโนโลยีของไทย”

ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงสังเกตวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้นว่าจะทรงค้นหาวิธีทำให้เกิดฝนให้ได้เพื่อบรรเทาปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชนชาวไทยที่ขาดแคลนน้ำในการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร

ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2498 จึงได้ทรงพระราชทานโครงการพระราชดำริฝนหลวง และทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ดำเนินการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวง จนในที่สุดได้ค้นพ้บวิธีการทำฝนเทียมแบบใหม่ของประเทศไทยโดยเฉพาะ

เอกกษัตริย์นักพัฒนา พระบิดาเเห่งเทคโนโลยีของไทย

และในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลกด้วยพระองค์เอง ณ เขื่อนแก่นกระจาน จ.เพชรบุรี และทรงพระปรีชาสามารถทำให้ฝนตกลงตรงเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ท่ามกลางสายตาของคณะผู้แทนของรัฐบาลจากต่างประเทศเป็นครั้งแรก

ด้วยพระอัจฉริยภาพพระวิสัยทัศน์และพระวิริยะ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงศึกษาค้นคว้าวิจัยในเวลาต่อมาทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลงานในด้านเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ

ก่อกำเนิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาทิ โครงการแกล้งดิน โครงการหญ้าแฝก โครงการแหลมผักเบี้ย โครงการแก้มลิง โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา โครงการคลองลัดโพธิ์ เป็นต้น

       

 

เอกกษัตริย์นักพัฒนา พระบิดาเเห่งเทคโนโลยีของไทย

นอกจากนี้ยังมีโครงการตามพระราชดำริในเรื่องพลังงานทดแทนอื่น ๆ อีก เช่น การผลิตดีโซฮอล์ล ซึ่งเป็นการผลิตเชื้อเพลิง จากการผสมเอทานอล กับน้ำมันดีเซล ผลการทดลองพบว่าสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ และลดควันดำถึง 5%

หรือพระราชดำริให้โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาทดลองผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลโคนม ซึ่งได้ก๊าซมีเทนที่เป็นก๊าซติดไฟกว่า 50% และก๊าซอื่น ๆ ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

เทคโนโลยีดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน ยังมีวิทยาการและเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ทรงใช้ในการพัฒนาอีกจำนวนมาก เช่น ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร ด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ตลอดจนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

ปวงชนชาวไทย ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระราชทานต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาโดยตลอด

เอกกษัตริย์นักพัฒนา พระบิดาเเห่งเทคโนโลยีของไทย

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543

พร้อมทั้งกำหนดวันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปี ให้เป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ ครั้งแรกของโลก

ในทุกสาขาวิชามาใช้ในการพัฒนาทุกแขนง ทรงมุ่งให้เกิดการพัฒนาคนให้อยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเองเป็นสำคัญทุก ๆ โครงการที่มีพระราชดำริและพระราชทานให้แก่ประชาชน ล้วนมีวิธีดำเนินการได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซ้ำซ้อน มีความสอดคล้องกับระบบนิเวศโดยรวมของธรรมชาติ และสภาพสังคมของชุมชนนั้น ๆ ไม่ทรงปิดกั้นเทคโนโลยีใหม่จากต่างประเทศ

แต่ทรงเน้นว่าจะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์มาปรับปรุงใช้ได้ดีพอ เหมาะกับสภาพและฐานะของประเทศ โดยเน้นที่ประสิทธิภาพ ประหยัดและการทุ่มแรงงาน พระองค์ทรงเป็นดุจประทีปชี้นำทางสว่างสู่ปวงประชา.

ข้อมูลอ้างอิงจาก  : หนังสือพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย