‘ฟิชชิ่ง’ การเงินพุ่ง 'ธุรกิจไทย' ถูกโจมตีสูงสุดในอาเซียน

‘ฟิชชิ่ง’ การเงินพุ่ง 'ธุรกิจไทย' ถูกโจมตีสูงสุดในอาเซียน

ฟิชชิ่งการเงินพุ่งสูงต่อเนื่อง “แคสเปอร์สกี้” เผยธุรกิจไทยถูกโจมตีด้วยฟิชชิ่งสูงสุดในอาเซียนจำนวนมากกว่า 2.4 แสนครั้งในปี 2024 จากการโจมตีทั้งหมดกว่า 5 แสนครั้ง

แคสเปอร์สกี้ รายงานว่า อาชญากรไซเบอร์ใช้ลิงก์ฟิชชิงทางการเงินเพื่อแทรกซึมธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ เผยว่า ปี 2024 ที่ผ่านมา สามารถบล็อกความพยายามเปิดลิงก์ฟิชชิงทางการเงินบนอุปกรณ์ของธุรกิจในภูมิภาคได้มากถึง 534,759 ครั้ง

อาชญากรไซเบอร์พุ่งเป้าหมายเป็นองค์กรธุรกิจต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ตัวเลขนี้คือการที่ผู้ใช้คลิกลิงก์ฟิชชิงผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น อีเมล เว็บไซต์ปลอม แอปส่งข้อความ โซเชียลเน็ตเวิร์ก และอื่นๆ

ฟิชชิ่งทางการเงิน มุ่งเป้าโจมตีธนาคาร ระบบชำระเงิน และผู้ค้าปลีกออนไลน์โดยเฉพาะ ฟิชชิ่งการเงินนี้รวมถึงเว็บไซต์ปลอมที่ออกแบบมาเพื่อเลียนแบบแพลตฟอร์มการชำระเงินที่เชื่อถือได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้เปิดเผยข้อมูลทางการเงิน

สำหรับปริมาณฟิชชิงทางการเงินที่ตรวจพบในอุปกรณ์ขององค์กรธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นน่าตกใจมาก เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

ภูมิภาคนี้จึงกลายเป็นจุดศูนย์กลางของอาชญากรไซเบอร์ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าถึงหนึ่งล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030

เป็นที่ชัดเจนว่าอาชญากรไซเบอร์กำลังใช้ประโยชน์จากการนำระบบดิจิทัลมาใช้อย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ องค์กรธุรกิจจึงจำเป็นต้องระมัดระวัง

‘ฟิชชิ่ง’ การเงินพุ่ง \'ธุรกิจไทย\' ถูกโจมตีสูงสุดในอาเซียน

สถิติระบุว่า จำนวนการพยายามใช้ฟิชชิ่งทางการเงินที่มุ่งเป้าไปที่องค์กรธุรกิจสูงสุดนั้นพบใน

  • ประเทศไทย 247,560 ครั้ง
  • อินโดนีเซีย 85,908 ครั้ง
  • มาเลเซีย 64,779 ครั้ง
  • เวียดนาม 59,560 ครั้ง
  • สิงคโปร์และฟิลิปปินส์มีจำนวนการพยายามใช้ฟิชชิ่งน้อยที่สุดเพียงกว่า 38,000 ครั้งเท่านั้น

การเติบโตของ AI ทำให้เกิดเว็บไซต์ปลอมที่ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้ตกเป็นเหยื่อง่ายกว่าการระวังและหลีกเลี่ยง อีกทั้งภูมิทัศน์ด้านกฎระเบียบที่หลากหลายของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้และระดับความพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แตกต่างกันขององค์กรธุรกิจ ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับการโจมตีโดยใช้แรงจูงใจทางการเงิน

ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมและสามารถเข้าถึงข้อมูลภัยคุกคามเชิงลึกแบบเรียลไทม์ที่จำเป็นเพื่อให้ก้าวล้ำหน้าภัยคุกคามต่างๆ