‘สัตยา’ นำทีม ‘ไมโครซอฟท์’ ทุ่มตั้ง "ดาต้าเซ็นเตอร์" แห่งแรกในไทย

‘สัตยา’ นำทีม ‘ไมโครซอฟท์’ ทุ่มตั้ง "ดาต้าเซ็นเตอร์" แห่งแรกในไทย

‘สัตยา นาเดลลา’ ขึ้นเวทีงาน Microsoft Build : AI Day ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ประกาศก้อง “ตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ แห่งแรกในประเทศไทย” พร้อมประกาศ พันธสัญญา ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตในยุค AI และคลาวด์ ควบคู่กับการเสริมสร้างทักษะด้าน AI 
ให้คนไทยกว่า 100,000 คน

KEY

POINTS

  • “สัตยา นาเดลลา ซีอีโอ ไมโครซอฟท์ ประกาศตั้ง “ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรก” ในประเทศไทย
  • ประกาศพันธสัญญา ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตในยุค AI และคลาวด์
  • เสริมสร้างทักษะด้าน AI และสนับสนุนชุมชนนักพัฒนาในประเทศไทย
  • เดินหน้าเสริมทักษะด้าน AI ให้กับคนไทยกว่า 100,000 คน

“สัตยา นาเดลลา" ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ ไมโครซอฟท์ กล่าวเปิดงาน Microsoft Build : AI Day เวทีพบปะชุมชนนักพัฒนาและผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม โดยครั้งนี้ นาเดลลา เดินทางมาเยือนไทยนับเป็นครั้งที่ 2 หลังจากปี 2559

โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่าบนเวที นายนาเดลลา ประกาศ "ตั้งดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในประเทศไทย" 

ซีอีโอ ไมโครซอฟท์  กล่าวว่า ศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ในประเทศไทย จุดมุ่งหมายเพื่อสร้างอนาคตประเทศที่ขับเคลื่อนด้วย Digital first และ AI 

ศูนย์ข้อมูลคลาวด์แห่งใหม่นี้ จะขยายความพร้อม การใช้งานของ "ไฮเปอร์สเกลคลาวด์" และบริการ AI ของไมโครซอฟท์ในประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจถึงความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพ และการปฏิบัติตามมาตรฐานของการเก็บข้อมูลแ ละความเป็นส่วนตัวระดับองค์กร

‘สัตยา’ นำทีม ‘ไมโครซอฟท์’ ทุ่มตั้ง \"ดาต้าเซ็นเตอร์\" แห่งแรกในไทย ‘สัตยา’ นำทีม ‘ไมโครซอฟท์’ ทุ่มตั้ง \"ดาต้าเซ็นเตอร์\" แห่งแรกในไทย

 

 

นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ ยังได้ ประกาศพันธสัญญาสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์และ AI ในประเทศไทย เดินหน้าเสริมทักษะด้าน AI ให้กับคนไทยกว่า 100,000 คน พร้อมสนับสนุนชุมชนนักพัฒนาในประเทศไทย ต่อยอดจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่ไมโครซอฟท์ได้ลงนามกับรัฐบาลไทย ภายใต้จุดมุ่งหมายเพื่อนำประเทศไทยมุ่งสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและ AI

นายนาเดลลา กล่าวว่า “ประเทศไทยมีศักยภาพโดดเด่นและโอกาสในการสร้างอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและ AI การเปิดดาต้าเซ็นเตอร์ระดับภูมิภาคแห่งใหม่ ควบคู่ไปกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ สำหรับคลาวด์และ AI รวมถึงการเสริมสร้างทักษะด้าน AI ล้วนเป็นแผนงานที่ต่อยอดพันธกิจของไมโครซอฟท์ เพื่อช่วยให้องค์กรไทย ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนเติบโต ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้กับประเทศไทย”

‘สัตยา’ นำทีม ‘ไมโครซอฟท์’ ทุ่มตั้ง \"ดาต้าเซ็นเตอร์\" แห่งแรกในไทย ‘สัตยา’ นำทีม ‘ไมโครซอฟท์’ ทุ่มตั้ง \"ดาต้าเซ็นเตอร์\" แห่งแรกในไทย ‘สัตยา’ นำทีม ‘ไมโครซอฟท์’ ทุ่มตั้ง \"ดาต้าเซ็นเตอร์\" แห่งแรกในไทย

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมว่า “ไมโครซอฟท์มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะร่วมพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้แข็งแรงและโดดเด่นยิ่งขึ้น ให้คนไทยทุกคนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากศักยภาพของเทคโนโลยีอย่างคลาวด์และ AI ที่จะเข้ามาช่วยสร้างการเติบโตและชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยวางรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับอนาคตของประเทศไทย ไม่เพียงแค่มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แต่ยังมอบโอกาสให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม และส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย”

เติมศักยภาพ เสริมปัจจัยสู่ความสำเร็จในยุค AI

แผนงานของไมโครซอฟท์ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ครอบคลุมถึงการจัดตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ระดับภูมิภาคแห่งใหม่ในประเทศไทย เพื่อขยายการให้บริการคลาวด์ในสเกลใหญ่ของไมโครซอฟท์ให้กว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้น มอบเสถียรภาพและสมรรถนะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานระดับองค์กรมากยิ่งขึ้น ทั้งยังรองรับมาตรฐานของประเทศไทยด้านการจัดเก็บและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างครบถ้วน

แผนการขยายโครงสร้างพื้นฐานนี้ สอดรับกับแนวโน้มความต้องการใช้งานบริการคลาวด์ที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทย ทั้งจากบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และหน่วยงานของภาครัฐ และยังจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถคว้าโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของทุกภาคส่วนด้วยเทคโนโลยี AI ล่าสุด

ทั้งนี้ งานวิจัยโดยบริษัทที่ปรึกษา Kearney คาดการณ์ว่า AI จะช่วยเพิ่มมูลค่า GDP ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 37,000 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 โดยในจำนวนนี้ คิดเป็นยอด GDP ของประเทศไทยที่จะเพิ่มขึ้นถึง 117,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 4.3 ล้านล้านบาท)

ติดอาวุธทักษะบุคลากรไทย พร้อมทำงานผสาน AI

ทั้งนี้ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ ได้ประกาศเป้าหมายที่จะช่วยสนับสนุนให้ประชากรกว่า 2.5 ล้านคนจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้าน AI โดยการฝึกอบรม และมาตรการสนับสนุนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จะจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับรัฐบาล องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ภาคเอกชน รวมถึงชุมชนและกลุ่มผู้สนใจในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

สำหรับในประเทศไทย แผนงานด้านการเสริมทักษะของไมโครซอฟท์ในระยะแรกจะช่วยยกระดับความสามารถด้าน AI ให้กับคนไทยกว่า 100,000 คน

โครงการ AI Skills for the AI-enabled Tourism Industry มุ่งเสริมทักษะด้าน AI ให้กับผู้ประกอบการและบุคลากรในภาคการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ โครงการนี้จัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงแรงงาน สถาบันฝึกอบรมอาชีวศึกษาด้านเทคโนโลยี และไมโครซอฟท์ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่และเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวในเมืองรองทั่วประเทศ

หนุนนักพัฒนาทั่วไทยพร้อมใช้ AI อย่างเต็มศักยภาพ

นายนาเดลลา ยังได้เน้นย้ำบทบาทสำคัญของนักพัฒนาในการกำหนดทิศทางของประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและ AI

ไมโครซอฟท์ยังคงมีบทบาทอย่างต่อเนื่องในการขับเคลื่อนการเติบโตของชุมชนนักพัฒนาในประเทศไทย ผ่านโครงการและกิจกรรมอย่าง AI Odyssey ที่มุ่งสนับสนุนให้นักพัฒนาชาวไทยกว่า 6,000 คน ยกระดับทักษะความสามารถขึ้นมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ที่ครบเครื่องด้วยทักษะใหม่ๆ และการรับรองจากไมโครซอฟท์

ทั้งนี้ ไทยนับเป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วสำหรับ GitHub แพลตฟอร์มที่มีไมโครซอฟท์เป็นเจ้าของ ออกแบบมาเพื่อรองรับนักพัฒนาทั้งในการเขียนโค้ด ประสานงาน และสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา มีนักพัฒนาในประเทศไทยรวมกว่า 900,000 รายที่ใช้งาน GitHub หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 24% 

เปิดบิ๊กคอร์ปไทยดึง “เทค เอไอ” ไมโครซอฟท์ยกระดับธุรกิจ

นอกจากนี้ หลายองค์กรในไทยยังได้นำนวัตกรรม Generative AI จากไมโครซอฟท์มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น

  • บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ผู้นำด้าน digital life service provider ได้นำผู้ช่วย AI อย่าง Copilot for Microsoft 365 มาประยุกต์ใช้เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนำ GitHub Copilot บริการ AI สำหรับช่วยเขียนโค้ด และ Azure OpenAI Service แพลตฟอร์มเพื่อการพัฒนา AI ในองค์กร มาใช้งานต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์แอปพลิเคชันและผู้ช่วย AI ด้วยตนเอง
  • สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ที่นำนวัตกรรม AI มาขับเคลื่อนภารกิจเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของคนไทย โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวนำบริการ Azure OpenAI Service, Azure Machine Learning และเทคโนโลยีอื่นๆ ของไมโครซอฟท์มาพัฒนาเป็นช่องทางให้ประชาชนทั่วไปสามารถทำความเข้าใจนโยบายด้านสาธารณสุขได้ง่ายขึ้น
  • บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินชั้นนำของประเทศไทย ได้นำบริการ Azure OpenAI Service มาเป็นรากฐานของการสร้างสรรค์นวัตกรรมในองค์กร เพื่อมุ่งสู่การเป็น AI-first organization โดยธุรกิจหลักของกลุ่มอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ ได้นำ Azure OpenAI Service มาใช้สนับสนุนการทำงานของแชทบอท “มณี” ให้ทำความเข้าใจคำถามของลูกค้าได้ชัดเจนและแม่นยำยิ่งขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการบริการลูกค้าได้ถึง 400,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 14.8 ล้านบาท) ต่อปี
  • ขณะที่อีกหนึ่งธุรกิจในเครืออย่าง InnovestX ก็ได้นำ Azure OpenAI Service มาใช้รวบรวมข้อมูลผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศ พร้อมด้วยบทวิเคราะห์จากหลากหลายแหล่ง มาสรุปเป็นรายงานที่อ่านง่ายและแม่นยำ นอกจากนี้ SCBX ยังได้พัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อความในโซเชียลมีเดียที่มีความเข้าใจภาษาไทยอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อใช้งานภายในองค์กรโดยเฉพาะ จึงสามารถมอนิเตอร์บทสนทนาต่างๆ รวมถึงบริหารจัดการชื่อเสียงขององค์กรในโลกออนไลน์ได้ด้วยระบบอัตโนมัติที่มีถูกต้อง แม่นยำ และทันท่วงทียิ่งขึ้น

‘สัตยา’ นำทีม ‘ไมโครซอฟท์’ ทุ่มตั้ง \"ดาต้าเซ็นเตอร์\" แห่งแรกในไทย