รู้จัก 'We’re Ele-Friends เพื่อช้าง เพื่อนเรา' แคมเปญรักษ์ 'ช้างไทย' สุดไฮเทค

รู้จัก 'We’re Ele-Friends เพื่อช้าง เพื่อนเรา' แคมเปญรักษ์ 'ช้างไทย' สุดไฮเทค

WWF เปิดตัวแคมเปญ "We’re Ele-Friends เพื่อช้าง เพื่อนเรา" ใน "วันช้างไทย" หนุนใช้เทคโนโลยีสุดล้ำเสริมแกร่งภารกิจอนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์ป่า

KEY

POINTS

  • องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF-Thailand) เปิดตัวแคมเปญ We’re Ele-Friends: Allies for a Safer Future for Wild Elephants หรือ เพื่อช้าง เพื่อนเรา เนื่องในโอกาสวันช้างไทย
  • โครงการนี้มุ่งมั่นที่จะผนึกกำลังประชาชนไทยให้ร่วมเป็นพันธมิตรกับช้างป่าในโครงการ Elly Allies ซึ่งเป็นโครงการที่มีเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์ช้างป่าอันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย
  • แคมเปญ We’re Ele-Friends: Allies for a Safer Future for Wild Elephants หรือ เพื่อช้าง เพื่อนเรา มีการนำเครื่องมือและเทคโนโลยีมาใช้ อาทิ ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพอุทยานแห่งชาติกุยบุรี (SMART Patrol system) ระบบสำหรับการติดตามสัตว์ป่า, ระบบตรวจจับและติดตามประชากรช้างป่าและสัตว์ป่าด้วยกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (Camera Traps) และระบบที่ใช้สำหรับการแจ้งเตือนไปยังทีมเฝ้าระวังช้างป่าและชุมชน

WWF เปิดตัวแคมเปญ "We’re Ele-Friends เพื่อช้าง เพื่อนเรา" ใน "วันช้างไทย" หนุนใช้เทคโนโลยีสุดล้ำเสริมแกร่งภารกิจอนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์ป่า

การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่ารวมถึงสัตว์ป่าอื่นๆ คือโจทย์ใหญ่ที่ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) พยายามดูแลจัดการมาตลอด เพื่อแก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างชาวบ้านกับช้างป่า ให้คนอยู่ได้ ช้างอยู่ได้

ใน วันช้างไทย (13 มีนาคม 2567) องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF-Thailand) จึงเปิดแคมเปญ We’re Ele-Friends: Allies for a Safer Future for Wild Elephants หรือ เพื่อช้าง เพื่อนเรา ภายใต้โครงการ Elly Allies ที่มีเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์ช้างป่าอันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยที่คนทั่วโลกรู้กันเป็นอย่างดี

รู้จัก \'We’re Ele-Friends เพื่อช้าง เพื่อนเรา\' แคมเปญรักษ์ \'ช้างไทย\' สุดไฮเทค

Elly Allies คืออะไร?

โครงการ Elly Allies หรือโครงการอนุรักษ์ช้างป่าระดับภูมิภาคภายใต้ WWF มีจุดมุ่งหมายในการบรรเทาปัญหาจำนวนประชากรช้างป่าที่กำลังลดลงภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน พร้อมพัฒนาความเป็นอยู่ของช้างป่าให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการรักษาและฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของช้างป่า รวมถึงเดินหน้าในการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

โดยภายในโครงการนี้ WWF ประเทศไทย จะมุ่งแก้ไขปัญหาภัยคุกคามต่างๆ ที่ช้างในเขตภูมิภาคเอเชียพบเจอ เช่น ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง โดยการร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงชุมชนโดยรอบ ในการพัฒนาความเป็นอยู่ระหว่างคนกับช้าง ด้วยการต่อยอดปฏิบัติการอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่าและช้างที่ได้มีการดำเนินงานอยู่ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

รู้จัก \'We’re Ele-Friends เพื่อช้าง เพื่อนเรา\' แคมเปญรักษ์ \'ช้างไทย\' สุดไฮเทค

อนุรักษ์ช้างไทยต้องไฮเทค

กว่า 20 ปีแล้วที่ WWF ประเทศไทย ได้มีบทบาทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี และเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานอนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์ป่า จึงได้มีการนำเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยเข้ามาใช้ด้วย

ได้แก่ ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Patrol system) ระบบตรวจจับและติดตามประชากรช้างป่าและสัตว์ป่าด้วยกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (Camera Traps) และระบบเตือนภัยล่วงหน้า (SMART Early Warning System) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สำหรับการแจ้งเตือนไปยังทีมเฝ้าระวังช้างป่าและชุมชน เมื่อเห็นถึงความผิดปกติที่ช้างจะออกนอกพื้นที่เขตอุทยานฯ ทำให้จำนวนการเกิดภัยคุกคาม เช่น การลักลอบจับช้างป่าและสัตว์ป่า การบุกรุกพื้นที่ภายในชุมชน รวมถึงการทำลายพืชผลทางการเกษตร ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

รู้จัก \'We’re Ele-Friends เพื่อช้าง เพื่อนเรา\' แคมเปญรักษ์ \'ช้างไทย\' สุดไฮเทค รู้จัก \'We’re Ele-Friends เพื่อช้าง เพื่อนเรา\' แคมเปญรักษ์ \'ช้างไทย\' สุดไฮเทค

พิมพ์ภาวดี พหลโยธิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WWF ประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า การดำเนินงานนี้เป็นหนึ่งในงานอนุรักษ์ภายใต้โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่าอีกมากมายที่ WWF ประเทศไทยได้ดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็น โครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติคลองลาน, โครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย และโครงการติดตามสถานภาพสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์และถิ่นอาศัยในเขตผืนป่าตะวันตก

"แคมเปญ We’re Ele-Friends: Allies for a Safer Future for Wild Elephants หรือ เพื่อช้าง เพื่อนเรา จะเป็นแคมเปญสำคัญภายใต้โครงการ Elly Allies ที่มีจุดมุ่งหมายรณรงค์การอนุรักษ์ช้างระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน โดยกลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้ไม่ใช่เพียงชุมชนโดยรอบเขตอุทยานฯ เพียงเท่านั้น แต่ยังมีเจตนารมณ์ที่จะสร้างการตระหนักรู้ในกลุ่มคนเมืองให้เข้าใจถึงความสำคัญของการมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างคนกับช้างป่า นอกเหนือจากช้างบ้านที่คนเลี้ยง

เป้าหมายของเราคือการเสริมสร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน ได้รับรู้ถึงปัญหาและความท้าทายต่างๆ ที่ชาวบ้านและชุมชนโดยรอบพบเจอจากช้างป่า แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่ต้องการจะเร่งแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการที่จะช่วยกระตุ้นความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์สัตว์ป่า พร้อมทั้งสรรสร้างอนาคตอันสดใสให้กับทั้งมนุษย์และสัตว์ป่าได้อย่างยั่งยืน"

รู้จัก \'We’re Ele-Friends เพื่อช้าง เพื่อนเรา\' แคมเปญรักษ์ \'ช้างไทย\' สุดไฮเทค รู้จัก \'We’re Ele-Friends เพื่อช้าง เพื่อนเรา\' แคมเปญรักษ์ \'ช้างไทย\' สุดไฮเทค

สถานการณ์ช้างป่าไทย น่าห่วงใย แต่แก้ได้

อรรถพงษ์ เภาอ่อน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เล่าว่า ที่ผ่านมาในพื้นที่มีปัญหาของประชาชนที่อาศัยรอบเขตอุทยานฯ รวมถึงผลกระทบของชาวบ้านอยู่เสมอ โดยเฉพาะช้างป่าเข้ามาทำลายพืชผลทางการเกษตร แน่นอนว่าอุทยานฯ พยายามแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยพยายามพัฒนาความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของอุทยานฯ ให้ช้างป่า และพยายามจัดการความขัดแย้งต่างๆ อย่างเต็มที่ตลอดทุกวัน

"เราเป็นพันธมิตรกับ WWF ประเทศไทย มาอย่างยาวนานในหลายๆ ด้าน อาทิ ด้านการป้องกันปราบปราม ด้านการศึกษาวิจัย และด้านการท่องเที่ยว การดำเนินการของพวกเราทำได้อย่างสำเร็จลุล่วงด้วยการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ชุมชนโดยรอบ ภาคเอกชน และ WWF ประเทศไทย พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาชนจะเข้าใจในธรรมชาติและความเป็นมาของช้างป่า เข้าใจถึงจุดกำเนิดของปัญหาและความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างอย่างแท้จริง และร่วมมือกับพวกเราในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้"

รู้จัก \'We’re Ele-Friends เพื่อช้าง เพื่อนเรา\' แคมเปญรักษ์ \'ช้างไทย\' สุดไฮเทค

และเพื่อการรับรู้ที่มากขึ้น แคมเปญ We’re Ele-Friends: Allies for a Safer Future for Wild Elephants หรือ เพื่อช้าง เพื่อนเรา ได้มีซีรีส์แนวสารคดี (Docu-series) ที่จะให้ทุกคนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ภายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เป็นตัวอย่างการถอดบทเรียนความสำเร็จของการลดวามขัดแย้งและปัญหาคนกับช้าง ผ่านเรื่องราวความท้าทายต่างๆ ที่ชาวบ้านต้องเจอ ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นระหว่างคนกับช้างป่า ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีและเครื่องมืออันทันสมัยมาใช้แก้ปัญหาช้างป่า โดยซีรีส์เรื่องดังกล่าวรับชมได้ทาง Facebook WWF-Thailand ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2567 หรือวันช้างไทย เป็นต้นไป