เกาะติด ‘เทรนด์ไฮเทค’ ปี 67 โรดแมปสู้ศึก ‘ดิจิทัลปฏิรูปธุรกิจ’

เกาะติด ‘เทรนด์ไฮเทค’ ปี 67 โรดแมปสู้ศึก ‘ดิจิทัลปฏิรูปธุรกิจ’

การลงทุนทางเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ยังคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับทุกองค์กร มาดูกันว่าอะไรบ้างที่จะช่วยให้องค์กรวางรากฐานในการทำงานยุคใหม่ได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน...

KEY

POINTS

  • ภูมิทัศน์การลงทุนทางเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ยังคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับทุกองค์กร
  • ปี 2567 นี้หลายองค์กรกำลังนำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ๆ ที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลที่ล้ำกว่าเดิมมาปรับใช้งาน
  • ความเป็นส่วนตัวและการกำกับดูแลด้านเอไอจะกลายเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการทำธุรกิจ

การลงทุนทางเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ยังคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับทุกองค์กร มาดูกันว่าอะไรบ้างที่จะช่วยให้องค์กรวางรากฐานในการทำงานยุคใหม่ได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน...

แมเนจ เอนจิ้น (ManageEngine) ผู้ให้บริการโซลูชันการจัดการระบบไอทีสำหรับองค์กรในเครือโซโห คอร์ป เปิดคาดการณ์แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับธุรกิจในปี 2567 มาดูกันว่าอะไรบ้างที่จะช่วยให้องค์กรวางรากฐานในการทำงานยุคใหม่ได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน...

ราเจช กาเนสัน ประธาน บริษัท แมเนจ เอนจิ้น (ManageEngine) เปิดมุมมองว่า ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการพัฒนาเทคโนโลยีมักเป็นผลมาจากความต้องการยกระดับประสบการณ์ของผู้บริโภค ขณะเดียวกันมีบทบาทสำคัญต่อการรับมือช่วงล็อกดาวน์ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงวิกฤติอื่นๆ เกาะติด ‘เทรนด์ไฮเทค’ ปี 67 โรดแมปสู้ศึก ‘ดิจิทัลปฏิรูปธุรกิจ’ ปี 2566 นับเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยทั้งเทคโนโลยีที่มีอยู่และนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ปฏิวัติวิธีการทำงานขององค์กร และในปี 2567 นี้หลายองค์กรกำลังนำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ๆ ที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลที่ล้ำกว่าเดิมมาปรับใช้งาน

อย่างไรก็ดี แม้ว่าต่างต้องการสร้างประสบการณ์การใช้งานดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบหรือ “Digital First” อยู่ตลอดเวลา แต่วิธีการที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จนั้นอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงเวลา

วางรางฐานกำกับดูแล 'เอไอ'

สำหรับปี 2567 เทรนด์ทางเทคโนโลยีที่จะมีความสำคัญต่อการปฏิรูปธุรกิจประกอบด้วย ความเป็นส่วนตัวและการกำกับดูแลด้าน เอไอ จะกลายเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการทำธุรกิจ :

สอดคล้องไปกับข้อกำหนดทางกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย (PDPA) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกลยุทธ์เอไอระดับชาติ รวมถึงการประยุกต์ใช้เอไอและ GenAI ในประเทศไทย

อีกแง่มุมหนึ่ง ด้วยมีการผสานรวมเอไอเข้ากับทุกแง่มุมในธุรกิจ เทคโนโลยีที่อาจสร้างความปั่นปวน เช่น Deepfakes หรือ Augmented Reality ได้คุกคามความเป็นส่วนตัวและก่อให้เกิดความเสี่ยง

ดังนั้น การใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวของทั้งภาครัฐและเอกชนควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เข้มงวด และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม โปร่งใส และยุติธรรม

“ความเป็นส่วนตัวจะเป็นแกนหลักของทุกธุรกิจในอนาคต และการปกป้องความเป็นส่วนตัวจะกลายเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในองค์กร”

ท้าทายการจัดการ 'ข้อมูล' องค์กร

องค์กรต้องกระตือรือร้นที่จะปรับตัวให้เข้ากับ LLM ที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์มากกว่า LLM เพื่อการใช้งานทั่วไป : นับตั้งแต่มีการประดิษฐ์เอไอขั้นมา ธุรกิจต่างได้ใช้ประโยชน์จากความสามารถของเอไอที่สามารถวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และทำให้งานที่ใช้ทักษะต่ำได้โดยอัตโนมัติ

อย่างไรก็ตาม การใช้งานเอไอในวงแคบและปัญหาใหญ่ด้านวิศวกรรมนั้นจำเป็นต้องมีโมเดลการฝึกอบรมเอไอที่สามารถตอบสนองทุกด้านของธุรกิจได้

โดยโมเดลภาษาขนาดใหญ่หรือ LLM ระดับองค์กร จะสามารถสร้างการสนทนาเชิงลึก (Deep-nested conversation) ช่วยให้ทั้งพนักงานและลูกค้าสามารถโต้ตอบสนทนาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงประเด็นข้อเสนอของบริษัทและช่วยให้สามารถปรับให้เข้ากับเทคโนโลยีและระบบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาไปอย่างต่อเนื่องได้

ด้วยการปรับใช้โมเดลดังกล่าว องค์กรจะสามารถใช้องค์ความรู้จำนวนมหาศาลเพื่อจัดการกับปริมาณงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์หรืองานที่มีความซ้ำซ้อน ทั้งยังช่วยปกป้องและลดอคติในข้อมูล รวมถึงจัดทำรายงานการตรวจสอบโดยละเอียดเพื่อทำความเข้าใจการตัดสินใจของเอไอ

พลังช่วยจัดการกระบวนการทางธุรกิจได้ทั่วทั้งองค์กร : ช่วงเวลาที่ผ่านมาธุรกิจจำนวนมากหันมาใช้การพลิกโฉมด้วยดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อทำงานสำคัญๆ ทางออนไลน์

การพลิกโฉมนี้ได้ก่อให้เกิดความท้าทายในการกระจายตัวของข้อมูล กล่าวคือ เกิดการแยกข้อมูลออกเป็นไซโลในองค์กรและการขัดขวางการไหลของข้อมูล

องค์กรจะสามารถแก้ปัญหาการกระจายตัวได้โดยใช้ประโยชน์จาก พลังของการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (Orchestration) ซึ่งช่วยให้สามารถสร้างไปป์ไลน์ดิจิทัลที่เชื่อมต่อถึงกัน ส่งผลให้เกิดเวิร์กโฟลว์อัตโนมัติและการดำเนินงานที่คล่องตัว

‘ความแข็งแกร่งทางไซเบอร์’ สร้างจุดต่าง

ประสบการณ์ “Digital First” จะพัฒนาไปสู่การใช้ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบที่ปลอดภัย : หลังจากเปลี่ยนจากวิธีการทำงานแบบเดิม จะสังเกตได้ว่าองค์กรสามารถผสานรวมเครื่องมือการจัดการไอทีร่วมสมัยเพื่อสร้างการเดินทางดิจิทัลแบบครบวงจรและปลอดภัยได้

อย่างไรก็ตาม ปี 2567 เชื่อว่าองค์กรจะนำแนวทางที่เน้นเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงและอนุญาตได้

ความสามารถในการฟื้นตัวทางไซเบอร์จะกลายเป็นตัวสร้างความแตกต่างทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง : ภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีในปัจจุบันได้สร้างความท้าทายหลายประการให้กับองค์กรธุรกิจที่ไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้

ความท้าทายที่กล่าวมานี้มีทั้งเรื่องสภาพภูมิอากาศทางภูมิรัฐศาสตร์ การดิสรัปทางเทคโนโลยี ภัยคุกคามทางไซเบอร์ การแข่งขันอย่างดุเดือด และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเราจะสามารถรับมือได้ง่ายขึ้นถ้ามีการจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์

การวิเคราะห์จากไอดีซีระบุว่า การใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ บริการ และซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกพุ่งสูงถึง 36 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566 เพิ่มขึ้น 16.7% จากปีก่อน

ส่วนปี 2567 จะเห็นบริษัทเริ่มลงทุนในแผนงานดังกล่าวอย่างจริงจังโดยนำเครื่องมือ โซลูชัน และวัฒนธรรมที่จำเป็นมาใช้ในการพัฒนาความสามารถในการฟื้นตัวทางไซเบอร์โดยรวม

ด้วยเหตุนี้ ความสามารถในการฟื้นตัวทางไซเบอร์จะกลายเป็นตัวสร้างความแตกต่างทางธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จในตลาดโลกที่มีความซับซ้อนได้

และนี่คือการคาดการณ์ด้านไอทีที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจก้าวไปสู่การพลิกโฉมวัฒนธรรมการทำงาน เพิ่มโอกาส และรักษาความสามารถการแข่งขันในระบบนิเวศดิจิทัลที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา...