สว.ขู่สอบ’ประธานฯกสทช.‘ส่อขาดคุณสมบัติ

สว.ขู่สอบ’ประธานฯกสทช.‘ส่อขาดคุณสมบัติ

งานเข้า ประธานบอร์ด กสทช. หลังพบชื่อนั่งกรรมการอิสระแบงก์กรุงเทพ ก่อนได้รับโปรดเกล้าฯเป็นกสทช. สว.ได้ทีไล่เช็คบิลตรวจสอบข้อเท็จจริง ด้านสนง.ดอดทำเรื่องขอกฤษฎีกาตีความข้อกฎหมาย

รายงานข่าวแจ้งว่า สมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. มีการตรวจสอบคุณสมบัติของนพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยได้รับโปรดเกล้าฯตั้งแต่ 13 เม.ย. 2565 เนื่องจากพบเอกสารที่ระบุว่า นพ.สรณ ไปสมัครหรือมีรายชื่อแต่งตั้งเป็น กรรรมการอิสระของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แม้ว่าก่อนหน้านี้ นพ.สรณ ได้รับการสรรหาจากสว.หลังจากสว.ตั้งแต่วันที่ 17 ม.ค. 2565 “รอรับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ” แต่งตั้งเป็นกรรมการ กสทช. ในฐานะ “ประธาน กสทช.” ในวันที่ 13 เม.ย. 2565 ดังกล่าว

โดยไทม์ไลน์คร่าวๆสรุปว่า จริงๆนพ.สรณมีการลาออกจากการเป็นกรรมการแบงก์กรุงเทพก่อนแล้ว ในวันที่ 14 ม.ค. 2565 ตามที่วุฒิสภากําหนด หลังจากสภาโหวตรับรองในวันที่ 20 ธ.ค. 2564 เพราะฉะนั้น หลังจากวันที่ 17 ม.ค. 2565 เป็นต้นมา ไม่ควรมีการกระทำใดๆที่อาจจะเป็นการมิบังควรในระหว่างรอโปรดเกล้าโปรดฯแต่ข้อเท็จจริงพบว่า

ในวันที่ 21 ก.พ.2565 มีหนังสือแจ้งแต่งตั้งกรรมการ ของแบงก์กรุงเทพ พบ 1 ในรายชื่อ มีชื่อของนพ.สรณ จากนั้นในวันที่ 11 มีนาคม 2565 มีหนังสือ เชิญประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีของธนาคาร และมีวาระเพื่อมีมติรับรองนพ.สรณ เป็นกรรมการอิสระ โดยในประวัติของนพ.สรณ ได้มีการระบุว่าได้ดำรงตำแหน่ง ประธาน กสทช. ทั้งๆที่ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่อย่างใดและทั้งๆที่รู้ว่าตนเองได้รับการสรรหาเป็น กสทช. ต้องทำงานให้กับองค์กรเต็มเวลา และต้องเป็นผู้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติที่กฎหมายกําหนด และเคยลาออกจากกรรมการแบงก์กรุงเทพไปแล้วในวันที่ 14 ม.ค. 2565 แต่กลับมาสมัครใหม่หลังจากที่นายกรัฐมนตรีมีการเสนอชื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วเพื่อรอโปรดเกล้าฯ

สว.ขู่สอบ’ประธานฯกสทช.‘ส่อขาดคุณสมบัติ สว.ขู่สอบ’ประธานฯกสทช.‘ส่อขาดคุณสมบัติ

ต่อมาในวันที่ 12 เม.ย. 2565 ผู้ถือหุ้นธนาคารกรุงเทพ มีมติโหวตให้หมอ สรณ เป็นกรรมการอิสระเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในวันที่ 13 เม.ย. 2565 มีพระราชโองการให้นพ.สรณ ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการและเป็น ประธาน กสทช.

จากนั้นในวันที่ 26 เม.ย. 2565 ธนาคารกรุงเทพ ได้มีหนังสือแจ้ง “การจดทะเบียนกรรมการ” โดยในส่วนของนพ.สรณ มีข้อความว่า

“สำหรับกรรมการที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งได้แก่นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ เนื่องจากนพ.สรณได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งการดำรงตำแหน่งทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวในขณะเดียวกัน อาจส่งผลให้มีประเด็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ กสทช.“

นพ.สรณจึงได้ขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้เกิดความชัดเจนเสียก่อน ดังนั้น นายสรณจึงขอไม่เข้ารับตำแหน่งกรรมการจนกว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาจะมีคำวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า นพ.สรณ รู้อยู่แล้วว่าอาจจะเป็นการไม่เหมาะสมหรือไม่สามารถมารับทั้ง 2 ตำแหน่งพร้อมกันได้ ซึ่งควรจะรู้ตัวตั้งแต่ 17 ม.ค. 2565 ที่มีชื่อขึ้นไปรอโปรดเกล้าฯและตัวเองเป็น ว่าที่ประธาน กสทช.“ อยู่แล้ว

สว.ขู่สอบ’ประธานฯกสทช.‘ส่อขาดคุณสมบัติ สว.ขู่สอบ’ประธานฯกสทช.‘ส่อขาดคุณสมบัติ สว.ขู่สอบ’ประธานฯกสทช.‘ส่อขาดคุณสมบัติ

ต่อมาในวันที่ 27 เม.ย. 2565 มีการประชุมบอร์ด กสทช. วาระ 6.2 : ประธาน กสทช. ได้รับเชิญเป็นกรรมการ อิสระ ธนาคารกรุงเทพโดยมีมติดังนี้ “รับทราบเรื่องประธาน กสทช. ได้รับเชิญเป็นกรรมการอิสระของแบงก์กรุงเทพ และมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือขอหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นข้อกฎหมายกรณีการรับตำแหน่งเป็นกรรมการอิสระในหน่วยงานอื่นของกรรมการ กสทช. ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความถูกต้องและชัดเจนในการปฏิบัติหน้าที่“

เป็นเหตุให้ในวันที่ 20 พ.ค. 2565 มีหนังสือจากสำนักงาน กสทช. ขอความร่วมมือให้คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว  ซึ่งสังเกตได้ว่าไม่มีเหตุผลอันควรหรือความจำเป็นใดๆ ที่ต้องดึงเรื่องดังกล่าวออกอยู่แล้ว และยิ่งถ้ากฤษฎีกาตีความว่าไม่สามารถรับทั้งสองตำแหน่งพร้อมกันได้

"หากนพ.สรณมิได้กระทำการโดยมิชอบใดๆ ก็ไม่จำเป็นต้องร่วมมือกับสำนักงานดึงเรื่องดังกล่าวออกจากทางกฤษฎีกา และยิ่งถ้ากฤษฎีกาตีความว่าไม่เป็นปัญหาสามารถรับได้ ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์กับนายสรณ เองที่จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองตำแหน่งพร้อมกันไปได้ "

แต่นั่นก็ต้องหมายถึง “ประธาน กสทช. ได้รับเชิญเป็นกรรมการอิสระ ธนาคารกรุงเทพ” ดั่งที่ประธานกล่าวอ้าง แต่ในความเป็นจริงมิใช่แค่ได้รับเชิญ แต่ได้รับการสรรหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 12 เม.ย.2565 ทั้งๆที่ยังรอโปรดเกล้าโปรดเกล้าฯ เป็นประธาน กสทช.อยู่ ซึ่งส่อเจตนาจะปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการที่อื่นในระหว่างรอโปรดเกล้าฯมาปฏิบัติหน้าที่ กสทช. แต่เนื่องจากได้รับการโปรดเกล้าฯในช่วงเวลาใกล้ๆกัน ประธานจึงไม่กล้ารับตำแหน่งกรรมการที่อื่น

ดังนั้น หลังจากลาออกจากการเป็นกรรมการที่อื่น ในวันที่ 14 ม.ค.2565 ได้มีการตอบรับคำเชิญกลับไปเป็นกรรมการที่อื่นอีกหรือไม่ ทำไมมีรายชื่อเสนอโหวตเป็นกรรมการแบงค์กรุงเทพอีกครั้ง และได้รับการโหวต โดยในใบประวัติมีการระบุว่าเป็นประธาน กสทช. อย่างชัดเจน ดังนั้น ในเมื่อนพ.สรณทราบดีว่า ไม่บังควร ควรให้ทางกฤษฎีกาวินิจฉัยก่อน แล้วหนังสือของทางแบงค์กรุงเทพในวันที่ 21 ก.พ. 2565, 11 มี.ค. 2565 , 12 เม.ย. 2565 หมายความว่าอย่างไร

สรุปแล้ว การไปทำงานที่โรงพยาบาล,การไปเป็นกรรมการอิสระธนาคารกรุงเทพ นพ.สรณต้องเคลียร์ทุกอย่างจนโปรดเกล้าฯแล้วเสร็จดำรงตําแหน่งประธาน กสทช. แล้วจะไปสมัครหรือดำรงตําแหน่งอื่นใดได้นั้น ต้องทำเรื่องไปถามกฤษฎีกาก่อนว่าเรื่องนั้นๆ ทำได้หรือไม่ จนกฤษฎีกามีคำตอบ ว่า “ได้” จึงจะสามรถไปสมัครหรือรับเชิญ ไปดำรงตำแหน่งนั้นได้ ในเรื่องนี้นพ.สรณจึงมีความผิดในขั้นตอนกระบวนสรรหาในเรื่องคุณสมบัติต้องห้าม ซึ่งเป็นการเท็จทูลเบื้องสูงและพยายามปกปิด

ด้านนพ.สรณ กล่าวเพียงสั้นๆว่า เป็นเรื่องของผู้ถือหุ้นในครั้งนั้น และตนยืนยันไม่รับตำแหน่ง และเรื่องนี้ได้มีการสอบถามไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว