"ดีอี" ใส่เกียร์ตั้งศูนย์ฯต่อต้าน "อาชญากรรมออนไลน์" ดีเดย์ 1 พ.ย.นี้

"ดีอี" ใส่เกียร์ตั้งศูนย์ฯต่อต้าน "อาชญากรรมออนไลน์" ดีเดย์ 1 พ.ย.นี้

ดีอี ไฟแรง!!! เร่งอำนวยความสะดวกประชาชนตั้งศูนย์ปราบอาชญากรรมออนไลน์แบบวันสต๊อปเซอร์วิส เร่งเครื่องจัดตั้งศูนย์ฯเตรียมลุยคิกออฟ 1 พ.ย. นี้ และ จับมือเฟซบุ๊ค ติ๊กต๊อกจัดการโจรซื้อโฆษณา ส่งประชาชนวงกว้าง

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า ในวันนี้  (11 ต.ค.) ได้มีการประชุมผู้บริหารกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีเรื่องสำคัญ

ดังนี้ 1. ดีอีขอแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย ในกรณี อิสราเอล-ฮามาส และ เตือนให้ใช้ความระมัดระวัง กรณีคนร้ายหลอกรับเงินบริจาค ฉวยโอกาสสถานการณ์อิสราเอล-ฮามาส ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และโอนเงินให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งจะทำให้เสียทรัพย์สินตามมา นอกจากนี้ ขอให้ระวังข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน ขอให้ประชาชน ติดตามข่าวสาร อิสราเอล-ฮามาส จากกระทรวงการต่างประเทศและภาครัฐอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่หลงเชื่อข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน

2. นอกจากนี้ ดีอีโดยทางบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที ได้อำนวยความสะดวกให้สามารถติดต่อสื่อสารได้ฟรี ติดต่อไป อิสราเอล โดยโทรเข้าระบบ 001 800 001 หลังเสียง IVR กด 009 ตามด้วยหมายเลขปลายทาง โทรได้ทุกเครือข่าย

3. การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC) เพื่อให้มีการดำเนินการในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ เป็นศูนย์แบบ One Stop Service สามารถดำเนินการระงับธุรกรรม/อายัดบัญชี ให้แก่ประชาชนทันที และให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับภัยออนไลน์ โดยตั้งเป้าหมาย AOC เริ่มใช้ใน 1 พฤศจิกายนนี้ เป้าหมาย ทำCall center 100 คู่สาย ให้บริการ 24 ชั่วโมง
 

4. การปิดกั้นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย โดย 1-8 ตุลาคม 2566 มีการปิดกั้น ได้สูงขึ้นมาก 2,417 รายการใน 8 วัน หรือ เฉลี่ย 302 รายการ (หรือ url) ต่อวัน จากเดิม ในปีงบประมาณ 2566 (1 ตค 2565 – 30 กย 2566) ปิดกั้น 19,953 รายการ หรือ เฉลี่ย 54.6 รายการ ต่อวัน โดยมีสาเหตุจากการปรับเปลี่ยนวิธีการปิดกั้น โดยใช้ บุคคลากร ดีอี ดำเนินการเองมากขึ้น และ การร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ต่างๆ 

ซึ่ง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 รมว.ดีอีได้มีการหารือกับเฟซบุ๊ค และ ติ๊กต๊อก ประเด็นการป้องกันการหลอกลวงออนไลน์ การทำผิดกฎหมายออรไลน์ โดยเฉพาะที่ คนร้าย มีการซื้อโฆษณาใช้หลอกลวง และมีประเด็นหารือ เรื่อง การสื่อสารที่เป็นภัยสังคม สร้างความเสียหายต่อผู้อื่น ปัญหาข่าวปลอม นอกจากนี้ หารือถึงความร่วมมือ ในการใช้โซเชียล มีเดียเพื่อการพัฒนาบุคคลากรไทย การพัฒนาอาชีพ และ สร้างรายได้สำหรับคนไทย


 

จัดตั้ง Anti Online Scam Operation Center (AOC) หรือ ศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์  เป็นวันสต๊อปเซอร์วิส สำหรับประชาชน และใช้ติดตามสถานการณ์ สั่งการปฏิบัติการป้องกันปราบปราม โจรออนไลน์ อย่างบูรณาการและทันเวลา ต้องทำงานแข่งกับเวลา โดยมี War-room ภายใต้ AOC และ ใช้เทคโนโลยี พัฒนา Intelligent Assistant (IA) และ Intelligence based platform ทำให้เกิด รวบรวมเชื่อมโยงข้อมูลเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้พร้อมใช้งานในการป้องกัน ปราบปราม 

โดยแพลตฟอร์มนี้จะมีการใช้และการวิเคราะห์ ทั้งข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลการใช้โทรศัพท์ ข้อมูลธุรกรรมต้องสงสัย และ ใช้เทคโนโลยี AI ใช้ Data scientists เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ คาดการณ์ ซึ่งระบบนี้ จะทำงานเชื่อมโยง กับ Central Fraud Registry ของสมาคมธนาคาร และ ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ให้บริการโทรคมนาคม โดยมุ่งหวังให้ระบบนี้ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นการใช้พลัง AI ช่วยเจ้าหน้าที่ (Intelligent assistant) เพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน ได้รวดเร็ว ทันเวลา