ถอดรหัส ’Digital Transformation’ คือการเดินทาง ไม่ใช่ปลายทาง

ถอดรหัส ’Digital Transformation’ คือการเดินทาง ไม่ใช่ปลายทาง

เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก ทั้งแนวคิด สังคม ชีวิตประจำวัน รวมถึงวิธีการทำงาน

ด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดและความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ส่งผลให้หลากหลายองค์กรต่างต้องหาหนทางปรับตัวตาม ไม่ว่าจะเป็นการ Upskill การ Reskill และใช้เทคโนโลยีเข้ามาต่อยอด เพื่อยกระดับองค์กรให้ก้าวทันกับการถูก Digital Disruption

ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่า Digital Transformation จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยให้ธุรกิจเอาตัวรอดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไปได้

OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP หยิบยกมุมมองในการทำ Digital Transformation จากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขามาร่วมมาแบ่งบันประสบการณ์ซึ่งหากใครไม่อยากตกขบวนแล้วละก็ต้องรีบศึกษาไว้เลย

Digital Transformation คืออะไร

Digital Transformation (DX) คือ การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและธุรกิจเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่รากฐานขององค์กรไปจนถึงกระบวนการส่งมอบให้ลูกค้า

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตได้อย่าง ก้าวกระโดดมากขึ้นในยุคที่แห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ และแม้ปัจจุบัน Digital Transformation เป็นสิ่งที่หลายๆ องค์กร และธุรกิจนั้นต่างก็พยายามทำที่จะให้สำเร็จแต่ก็ยังมี

โอกาสล้มเหลวถ้าทำไม่ถูกวิธี

เพราะการทำ Digital Transformation ให้สำเร็จนั้นไม่ใช่แค่การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความยั่งยืนที่ก่อตัวขึ้นมาจากสิ่งสำคัญ 3 มิติ คือ มิติทางวัฒนธรรมองค์กร มิติทางกระบวนการธุรกิจขององค์กร และมิติด้านข้อมูลและเทคโนโลยีที่เข้ามาผสมผสานในการทำงาน

3 เสาหลักในการทำ Digital Transformation

  • มิติทางวัฒนธรรมองค์กร

วรนุช เดชะไกศยะ Executive Chairman, Kasikorn Business Technology Group (KBTG) กล่าวว่า ในองค์กรใหญ่ๆ มีคนหลายเจนเนอเรชั่นทำงานร่วมกันอยู่ ซึ่งแต่ละคนจะมี Skill หรือความสามารถที่แตกต่างกันออกไป เพียงแต่ว่าเราต้องคิดและเตรียมรับมือกับเวลาที่เดินหน้าไปเรื่อยๆ และแพลตฟอร์มที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

แล้วเราจะมีการ Reskill หรือปรับทักษะของคนเหล่านี้อย่างไร เพื่อที่จะตามทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สิ่งสำคัญคือเราต้องมีความเชื่อมั่นและมีทัศนคติที่ดี เพื่อที่จะสามารถกระตุ้นให้เขารู้สึกอยากทำงานและสามารถดึงศักยภาพในตัวของเขาออกมาได้  เพื่อให้เขาเป็น Next Successor และเป็น Next Leader ได้ในที่สุด         

สรุปได้ว่า การทำ Digital Transformation นั้นควรเริ่มต้นพิจารณาวัฒนธรรมของธุรกิจที่มีอยู่ก่อนแล้ว ก่อนที่จะทำ Digital Transformation โดยวัฒนธรรมแบบเดิมๆ อาจทำให้ปฏิบัติงานได้ แต่ยังขาดจิตวิญญาณของความเป็นนวัตกรรมที่จะทำให้การทำ Digital Transformation นั้นประสบความสำเร็จ ดังนั้นยิ่งมีการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นให้กับพนักงานได้รับรู้และรับมือมากเท่าไหร่ พวกเขาก็ยิ่งมีความพร้อมมากขึ้นเท่านั้น

  • มิติทางกระบวนการธุรกิจขององค์กร

กำพล ศรธนะรัตน์  ที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation, เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก.ล.ต. และ ประธานชมรม DPO  เปิดมุมมองว่า การทำ Digital Transformation ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่การจะไปสู่เป้าหมายนั้นได้ เราต้องกำหนดตัวชี้วัด และเพื่อให้ตัวชี้วัดนั้นสำเร็จ เราต้องรู้ก่อนว่าจะต้องทำงานอะไร และทำอย่างไร

ดังนั้น Digital Transformation จึงไม่ใช่เพียง Project ของการเอาเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรเฉยๆ แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนทั้งองคาพยพ

สรุปได้ว่าหลักการของการทำ Digital Transformation เพื่อเป้าหมายสู่ความสำเร็จนั้นทีมผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับองค์กร โดยตอบคำถามว่าแผนการริเริ่มคืออะไรและทำไมต้องทำ ขอบเขตของการทำ Digital Transformation มีอะไรบ้าง? ทำไมองค์กรจึงเข้าสู่กระบวนการ? ผลลัพธ์ที่จำเป็นคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? อะไรคือความเสี่ยงของการไม่ทำโครงการ? เมื่อมีการปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับองค์กรโดยรวมแล้ว ถึงเวลาเผยแพร่ข้อความเหล่านั้นไปยังทุกคนในองค์กร

  • มิติด้านข้อมูล-เทคโนโลยี

ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการสถาบัน IMC กล่าวว่า วันนี้เป็นยุคของ Digital Disruption หลายองค์กรมองเห็น Digital Transformation เป็นทางรอด

แต่การจะ Transform ได้นั้น สิ่งสำคัญคือต้องมี Data และในองค์กรทุกองค์กรต่างมี Data เยอะแยะมากมาย แต่ไม่เคยเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ เหตุเพราะเราไม่ได้สร้างวัฒนธรรมการใช้ Data ในองค์กร ดังนั้น Data Culture จึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องฝึกให้คนในองค์กรใช้ Data ในการตัดสินใจ

สรุปได้ว่าหนึ่งในแรงผลักดันที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลได้นั้น คือ ความสามารถในการจัดการและการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ

รวมถึงการใช้ประโยชน์ของข้อมูลให้กลายเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven Organization) ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและช่วยให้ตามทันโลก การมี Data Culture ในองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญ

การทำ Digital Transformation คือการเดินทาง ไม่ใช่ปลายทาง เราไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างพร้อมกันในครั้งเดียว แต่สามารถเริ่มทำทีละส่วนตามความจำเป็นของธุรกิจ

แม้ว่า Digital Transformation จะเป็นสิ่งที่ท้าทายแต่ก็นับได้ว่าเป็นการเดินทางที่จำเป็น แต่หากเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน และรู้ว่าเทคโนโลยีใดที่จะช่วยให้กระบวนการทำงานเกิดผลลัพธ์ได้นั้น การสร้างมูลค่าจากการทำ Digital Transformation จะสามารถทำได้ง่ายขึ้น