‘เอสที เทเลมีเดีย’ หวังรัฐบาลไหม่ ขับเคลื่อนไทยสู่ ‘Regional Hub’

‘เอสที เทเลมีเดีย’ หวังรัฐบาลไหม่ ขับเคลื่อนไทยสู่ ‘Regional Hub’

วันนี้ประเทศไทยเดินทางมาถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหม่ ซึ่งทำให้เกิดแรงกระเพื่อมไปในทุกมิติของประเทศ ตั้งแต่ผู้คน ชุมชน สังคม รวมไปถึงเศรษฐกิจในทุกระดับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...

Keypoints:

  • รัฐบาลใหม่ที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริงจะเป็นเสมือนจุด Refresh & Restart ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่
  • นโยบายบริหารประเทศต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของทุกคนในชาติ
  • มองหา “Connected Leaders” ที่มีความสามารถเชื่อมโยงได้กับทุกอย่าง

ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) เปิดมุมมองว่า นโยบายบริหารประเทศหลังการเลือกตั้งต้องคำนึงถึงภาพรวมและผลประโยชน์ของทุกคนในชาติ

โดยผู้นำรัฐบาลต้องแสดงให้เห็นความเป็น “Connected Leaders” ที่เชื่อมโยง “Local” ซึ่งนำไปสู่แนวคิด นโยบายและการปฏิบัติแบบ “Global” และการทำงานแบบ “Co-Create” ที่สำคัญต้องเร่งมือทำ “Digital Transformation” เพื่อปูทางไปสู่ “Digital Economy” ที่มีความยั่งยืน ‘เอสที เทเลมีเดีย’ หวังรัฐบาลไหม่ ขับเคลื่อนไทยสู่ ‘Regional Hub’ รัฐบาลใหม่ที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริงจะเป็นเสมือนจุด “Refresh & Restart ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่” ที่องค์กรธุรกิจในทุกระดับต่างเตรียมพร้อมกับนโยบายสนับสนุนในด้านต่างๆ

พร้อมความคาดหวังว่าจะช่วย “แก้ปัญหาให้ตรงจุดด้วยคนที่มีความสามารถ” เพื่อกระตุ้นชีพจรเศรษฐกิจของประเทศ ดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ จากทั้งในและนอกประเทศ เพื่อฟื้นฟูศักยภาพในการแข่งขัน และทำให้ประเทศไทยเป็น “Regional Hub” ในด้านต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม

โดยมีต้นทุนเดิมรองรับอยู่แล้วเชิงภูมิศาสตร์ด้วยภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงพลังงานทางเลือกอื่นๆ ที่เป็นข้อได้เปรียบของประเทศไทย

ชู 3 เสาหลักขับเคลื่อนประเทศ

ศุภรัฒศ์ เสนอแนะแนวทางการพัฒนาประเทศใน 3 ส่วนหลักๆ ส่วนที่หนึ่งคือ ผู้คน Citizen Comes First รัฐบาลต้องสนับสนุนภาคประชาชน ด้วยการสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนอย่างจริงจัง

โดยรัฐบาลใหม่สามารถช่วยประชาชนได้ใน 3 ประเด็นหลัก ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานไปถึงด้านการพัฒนาศักยภาพการผลิต ประกอบด้วย ลดต้นทุนสาธารณูปโภคพื้นฐาน อาทิ ค่าไฟฟ้า (Electricity is the Cost of Living) พร้อมสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน

สร้างงานใหม่ รองรับคนจบใหม่ (New Gen Jobbers) ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของประเทศ ช่วยขับเคลื่อนและสร้างโอกาสในงานใหม่ๆ กับบริษัทสตาร์ทอัพเพื่อดึงดูดหรือสร้างการลงทุนทั้งจากในและต่างประเทศ

ยุคใหม่ของเกษตรกรระยะไกล (New E-Farmer Remotely) แนวคิดใหม่ในภาคการเกษตรที่วิวัฒน์ตัวเองเป็น E-Farmer ด้วยเทคโนโลยี มีการนำระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และเอไอมาใช้ ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนและพัฒนาต่อยอดจะเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพที่แข็งแกร่งอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นแก่เกษตรกรนิวเจนของประเทศ

ดันไทยสู่ 8 ฮับสำคัญของโลก

ส่วนที่สอง เศรษฐกิจและสังคม เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส ดันไทยเป็น “8 Regional Hubs สำคัญของโลก” ได้แก่ Clean Energy Hub, Carbon Credit Tokenization Manufacturing Hub, Network Connectivity Hub, Tourism & Aviation Hub, Hydrogen Hub for New Logistics Era, Education Hub, Sport & Entertainment Hub, และ Healthcare Hub

ส่วนที่สาม สังคายนา เริ่มที่ “Privatize to Move Faster” ยืดหยุ่นและคล่องตัวทันกระแสการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารในรัฐบาลต้องเปิดกว้างและพร้อม Disrupt ตัวเอง

นอกจากต้องเร่งอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนพัฒนาและเติบโตไปในทิศทางเดียวกันแล้ว ควรมีการนำโมเดลการบริหารจัดการใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพและให้ประโยชน์สูงสุดมาใช้ อาทิ การ Privatize หน่วยงานที่เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญ อย่างภาคการบิน การขนส่ง การท่องเที่ยว และพลังงาน

โดยพิจารณาให้ภาคเอกชนเข้ามาดูแล หรือนำโมเดลธุรกิจที่ได้รับการยอมรับและได้ผลมาใช้ เปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมบริหาร เพิ่มความคล่องตัว ย่นเวลาการตัดสินใจที่รวดเร็ว ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 

ที่สำคัญต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยรัฐบาลปรับโหมดไปเป็นผู้ลงทุนและจัดเก็บภาษีอย่างเป็นธรรม กล้าที่จะ Privatize เพื่อนำเงินเข้าคลังไปบริหารประเทศต่อไป

‘Connected Leaders’ คือ คำตอบ

ทั้งหมดที่กล่าวมา เราต่างกำลังมองหา “Connected Leaders” ที่มีความสามารถเชื่อมโยงได้กับทุกอย่าง ตั้งแต่ การเชื่อมโยงกับภาคประชาชน (Connect People) ไม่ว่าจะเจนไหนก็ตาม เพื่อลดความขัดแย้งในชุดความคิด (Mind Set) ที่ต่างกันและหาจุดเชื่อมตรงกลาง เพื่อสร้างความสามัคคีให้ได้

อย่างที่สองคือ เชื่อมกับเศรษฐกิจของชาติทั้งในและนอกประเทศ (Connect Domestic & International Economic) มองหาโอกาสที่จะผลักดันให้ประเทศเติบโต โดยทำข้อตกลงที่เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกับนานาประเทศ

สุดท้าย เชื่อมต่อกับโครงสร้างพื้นฐาน (Connect Infrastructure) ทั้งด้านโลจิสติกส์ การบิน รถไฟความเร็วสูง รวมถึงดิจิทัลอีโคโนมีที่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ