'เอไอเอส' ปูพรมโซลูชัน 5G หนุน อีโคซิสเต็มส์ 'เฮลท์แคร์'

'เอไอเอส' ปูพรมโซลูชัน 5G หนุน อีโคซิสเต็มส์ 'เฮลท์แคร์'

เอไอเอส ลุยสร้าง 5G Use case ในภาคสาธารณสุข หลังผ่านวิกฤติโควิด-19 เตรียมนำนวัตกรรม IoT, AI, Robotic เข้ามาประยุกต์ใช้ในเขตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพื้นที่โดยรอบ เพื่อให้เป็นเสมือนศูนย์กลางเทคโนโลยี Digital ที่ทันสมัย และสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดในประเทศ

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวในงานสัมมนา Digital Health TECH ระบบนิเวศใหม่การแพทย์ไทย จัดโดย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าในภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด -19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีผลวิจัยของ McKinsey ระบุว่า 60% ของผู้ป่วยเชื่อว่าเวอร์ช่วล แคร์ มีผลสัมฤิทธิ์ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้ารับรักษาได้ดีกว่าการเดินทางมายังโรงพยาบาลในการใช้เทเลเมดิซีนได้มากขึ้น เป็นคำตอบแรกๆว่า คนเริ่มยอมรับในการใช้งานบริการสาธารณสุขผ่านเทคโนโลยีมากขึ้น

ดังนั้น สิ่งนี้คือสัญญาณที่ระบุว่า อีโคซิสเต็มส์ของระบบสาธารณสุขในประเทศไทยกำลังเปลี่ยนโฉมไป การบริการทางการผ่านแพทย์ผ่านเอไอ ไอโอที และเทเลเมดิซีน ในชั้นปฐมภูมิ ทุติยภูมิก็กำลังเปลี่ยนแปลง เพราะบุคลากรทางการแพทย์มีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะบุคลากรด้านหน้าอย่าง กลุ่มอาสาสมัครอสม. การดึงเอาเอไอ 5G IoT และคลาวด์เข้ามามาช่วย

นอกจากนี้ ได้พัฒนา Use case ต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรม รวมถึงให้การสนับสนุนระบบสื่อสาร สำหรับ Use case ในภาคสาธารณสุข ที่ได้มีโอกาสนำไปใช้งานจริงแล้วและประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาโดยความร่วมมือที่ผ่านมา ประกอบด้วย ร่วมนำเสนอเทคโนโลยี 5G และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ใน “ศูนย์ 5G AI/IoT Innovation Center” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมนำนวัตกรรม IoT, AI, Robotic และ 5G เข้ามาประยุกต์ใช้
\'เอไอเอส\' ปูพรมโซลูชัน 5G หนุน อีโคซิสเต็มส์ \'เฮลท์แคร์\'

นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนระบบสื่อสารและUse case ของคณาจารย์ นักวิจัย ในวงการสาธารณสุข อาทิ การทดสอบหุ่นยนต์ต้นแบบในการรักษาทางการแพทย์เพื่อผ่าตัดเจาะกระดูก หรือ Teleoperation drilling robot ที่ใช้การควบคุมระยะไกล (remote) ซึ่งในระหว่างกระบวนการเจาะกระดูกคนไข้เพื่อรักษานั้น แพทย์จะสามารถรับรู้ได้ถึงทุกสัมผัสในทุกขั้นตอนการเจาะผ่าน remote ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้เครือข่ายที่ตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วมากๆ หรือ Latency ต่ำอย่าง 5G รวมถึงเทคโนโลยี Robotic ที่ได้เข้าไปสนับสนุนระบบสื่อสาร (ซิมการ์ด) ให้กับภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์

และศูนย์ Regional Center of Robotics Technology จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้พัฒนาหุ่นยนต์คุณหมอ และหุ่นยนต์นินจา, ทีม CU-RoboCovid คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้พัฒนาหุ่นยนต์ปิ่นโตและหุ่นยนต์กระจก เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงระหว่างวิกฤติโควิดที่ผ่านมา

เขา กล่าวว่า ล่าสุด เอไอเอสได้ทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลวิมุต เพื่อยกระดับการโรงพยาบาลให้ก้าวสู่การเป็น Smart Hospital แบบเต็มรูปแบบนี้ คือการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีโครงข่าย เพื่อใช้ในการออกแบบบริการและโซลูชันการทำงานภายในตามโจทย์ข้างต้นของโรงพยาบาลวิมุต อาทิ

Turnkey IT Solutions นับเป็นครั้งแรกที่ใช้ศักยภาพด้านโครงข่ายและผสานความสามารถร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายเข้าไปให้บริการได้แบบครบวงจร ทั้งการวางระบบงานด้าน ICT การจัดการฐานข้อมูลหรือ Data Center ระบบสื่อสารและอุปกรณ์ไอที

Managed IT Services การให้บริการอย่างครบวงจรด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปสนับสนุน พร้อมให้คำแนะนำช่วยเหลือ และดูแลระบบการใช้งานตลอดเวลา Digital Services การออกแบบแอปพลิเคชันสำหรับโรงพยาบาลวิมุต รวมถึงระบบเพื่อให้บริการวัคซีน และบริการที่ช่วยยกระดับการทำงานทางการแพทย์ อย่างระบบเทเลเมดดิซีน เพื่อให้คนไข้หรือผู้รับบริการได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ในการรักษา

และ Cloud Contact Center ระบบการสื่อสารภายในที่ช่วยเชื่อมต่อการทำงานของส่วนต่างๆ ทั้งในแง่ของการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและง่ายต่อการบริหารจัดการ