ดีป้าปักหมุด “สมาร์ท เนชั่น” เสริมแกร่งขีดความสามารถดิจิทัล

ดีป้าปักหมุด “สมาร์ท เนชั่น” เสริมแกร่งขีดความสามารถดิจิทัล

ระบุปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นสมาร์ทซิตี้รวม 30 พื้นที่ใน 23 จังหวัด ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกว่า 20 ล้านคน เกิดโอกาสการลงทุนเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่จากภาคเอกชนมูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาท

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา “สมาร์ทซิตี้ กับ สมรรถนะการแข่งขันของเมือง” ในหัวข้อการขับเคลื่อนประเทศด้วยดิจิทัลว่า แนวคิดการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งข้นด้านดิจิทัลอย่างยั่งยืน (Digital Competitive Advantage) จะมี 4 หัวข้อหลักคือ

1. การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล และข้อมูล (Digital Access) รวมถึงการจัดเก็บข้อมูล การนำข้อมูลออกมาใช้ประโยชน์ หรือการเปลี่ยนข้อมูลเป็นชิ้นงาน โดยการต้นแบบอย่างรวดเร็ว ที่เชื่อมต่อผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น (Mass Customization)

2. การเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์-บุคคล-ธุรกิจ-สังคม (Digital Connectivity) เกิดการเชื่อมโยงของเศรษฐกิจ สังคม ทั้งโลกกึ่งเสมือนและโลกเสมือน ที่คนสามารถดำเนินชีวิตได้ทั้งสองโลกพร้อมๆ กัน

3. ข้อมูลเกิดจากการเชื่อมโยง อุปกรณ์-บุคคล-ธุรกิจ-สังคม (Digital Data) เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ และถูกนำไปประมวลเพื่อก่อประโยชนในมิติต่างๆ มากขึ้น ประเทศไทย ต้องใช้ประยชน์จากข้อมูลเพื่อให้การดำเนินงานทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปโดยสะดวก

และ 4. ยุคอัตโนมัติที่เกิดจากการเข้าถึงดิจิทัล (Digital Automation)การเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์-บุคคล-ธุรกิจ-สังคม เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ช่วยให้การผลิตสินค้า บริการ การจัดการ และการส่งมอบสินค้าและบริการ รวมถึงคอนเทนต์ เสร็จสมบูรณ์อย่างถูกต้อง ใช้เวลาน้อย เกิดความผิดพลาดน้อย ส่งมอบให้กับคนที่ถูกต้องช่องทางที่ถูกต้อง โดยมนุษย์ไม่ต้องทำเองทั้งหมดแต่เกิดขึ้นโดอัตโนมัติ
ดีป้าปักหมุด “สมาร์ท เนชั่น” เสริมแกร่งขีดความสามารถดิจิทัล

ร่าย 7 มิติพัฒนาสมาร์ทซิตี้

ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (สมาร์ท ซิตี้) ไม่ใช่การสร้างเมืองใหม่ที่น่าอยู่โดยเอาเทคโนโลยีมาใช้แต่ต้องหมายความถึง เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย

โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีมิติการพัฒนาได้หลายด้าน มีมิติที่สำคัญ 7 ด้านคือ สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) และ การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)

“กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านเมืองอัจฉริยะเปิดโอกาสรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน ผ่านการจับคู่เมืองกับผู้ให้บริการ สร้างตลาดท้องถิ่น ปรับกระบวนการทำงานภาครัฐ/ท้องถิ่น โดยจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล เพิ่มความสะดวกสบายในการจัดซื้อจัดจ้าง สร้างให้เกิดการลงทุนด้วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้วย สิทธิประโยชน์ BOI เกิดมาตรฐานและการแข่งขัน เพื่อไปสู่การ จัดทำดัชนีเมืองอัจฉริยะขัน”

หวังดึงเม็ดเงิน20,000ล้านบ.

ผู้อำนวยการดีป้า กล่าวอีกว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นเมืองอัจฉริยะรวม 30 พื้นที่ใน 23 จังหวัด ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกว่า 20 ล้านคน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับกิจการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ และกิจการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะจาก BOI โดย 15 เมืองอัจฉริยะ จะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่จากภาคเอกชนมูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณกรรมการขับเคลื่อนการพัฒราเมืองอัจฉริยะ ได้ร่วมมือระดับภูมิภาคผ่านเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network: ASCN) ผลการดำเนินกิจกรรมสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในปี 2565 ผ่านกิจกรรมการพัฒนากำลังคนด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อาทิ โครงการนักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ (Smart City Ambassadors) รุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการพัฒนากำลังคนดิจิทัลรุ่นใหม่ ควบคู่ไปกับการยกระดับทักษะดิจิทัลให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น กิจกรรมส่งเสริมและสร้างความตระหนัก อาทิ การจัดประกวด The Smart City Solution Awards 2022 เพื่อมอบรางวัลแก่ผู้ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อการบริการภาคประชาชน

ชูดิจิทัลช่วยกลุ่มเปราะบาง

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวอีกว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลผ่านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ตามแนวทางที่แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีได้วางไว้ โดยการประชุมในวันนี้เพื่อรับทราบผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการประกาศมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย ประจำปี 2565 กิจกรรมการพัฒนากำลังคนด้านเมืองอัจฉริยะ การสร้างกลไกการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการพิจารณาเพิ่มเมืองเพื่อเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน มุ่งการทำงานเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศอัจฉริยะ (สมาร์ท เนชั่น) ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 โดยเฉพาะหมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมาอันดับการนำเอาดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ของประเทศไทยยังไม่สูงและไม่ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร แม้ว่าไทยจมีความสามารถในการเข้าถึงได้อย่างดี โดยหากมองโครงสร้างเศรษฐกิจพีระมิดฐานกว้างของธุรกิจไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลง คือ ฐานล่างสุดคือภาคการเกษตร ซึ่งมีการนำเอาข้อมูลทางสถิติมาเก็บข้อมูล พบว่าปัจจุบันมีเกษตรกรเกิดใหม่อยู่ที่ 8 ล้านครัวเรือน คิดเป็นอัตราการสร้างจีดีพีให้แก่ประเทศเกิน 40% ฐานกลางกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (เอสเอ็มอี) มีจำนวน 3 ล้านครัวเรือนคิดเป็น 34% ของจีดีพี แต่หากดูข้อมูลในประเทศที่เจริญแล้วเกินกลุ่มฐานกลางนี้จะมีอัตราส่วนมากเกิน 50% 

ดังนั้น กลุ่มคนตรงกลางดีป้ามองว่าเป็นกลุ่มเปราะบาง จึงควรสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วยการเอาดิจิทัลเข้าเป็นเครื่องมือช่วยทุ่นแรงการประกอบการกิจการ ส่วนสุดท้ายยอดพีระมิดคือผู้ประกอบการขนาดใหญ่ กลุ่มที่มีการจ้างงานจำนวนมาก กลุ่มอุตสาหกรรม และกลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่ 70% เป็นผู้ประกอบการจากต่างชาติ คิดเป็นจีดีพีของประเทศมากเกิน 60%

ดังนั้น สิ่งที่น่าตระหนักคือ หากกลุ่มยอดพีระมิดเกิดการฐานย้ายการผลิตย้ายแหล่งลงทุน จะทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ