กลยุทธ์ ‘มัลติคลาวด์’ วาระเร่งด่วน องค์กรดิจิทัล

กลยุทธ์ ‘มัลติคลาวด์’ วาระเร่งด่วน องค์กรดิจิทัล

รายงานล่าสุดโดย “วีเอ็มแวร์” ร่วมกับ “แวนสัน บอร์น” ระบุ แม้ว่าหลายๆ องค์กรในเอเชียแปซิฟิกจะหันมาใช้งานสภาพแวดล้อมมัลติคลาวด์เต็มรูปแบบแล้วก็ตาม แต่องค์กรจำนวนมากยังขาดแนวทางเชิงกลยุทธ์สำหรับมัลติคลาวด์

การสำรวจพบว่า 70% ขององค์กรในเอเชียแปซิฟิกใช้งานพับบลิคคลาวด์หลายตัว แต่มีเพียง 38% ที่มีการกำหนดและวางแผนกลยุทธ์สำหรับมัลติคลาวด์ของพวกเขาไว้อย่างชัดเจน ขณะที่ ความท้าทายยิ่งกว่านั้นคือ องค์กรยังไม่มีการเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชั่นและกลยุทธ์บนคลาวด์

อย่างไรก็ดี 90% ขององค์กรที่ใช้มัลติคลาวด์เผยว่า มีแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำงานบนมัลติคลาวด์ ซึ่งทำให้องค์กรเหล่านี้สามารถเพิ่มแอปพลิเคชัน พัฒนา DevOps และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านไอที พร้อมทั้งนำผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วขึ้น

โดยรวมแล้ว องค์กรที่ใช้งาน “Cloud Smart” หรือองค์กรที่ประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจอันชาญฉลาดในการสร้างนวัตกรรมและความสามารถในการรักษาความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายได้อย่างเหมาะสม จะมีประสิทธิภาพดีกว่าองค์กรในกลุ่มอื่นๆ

ปัจจุบัน กลุ่มที่ถูกจำแนกไว้แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ยังล้าหลัง (Trailing), กลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นใช้คลาวด์ (Cloud Beginner) และ กลุ่มที่มีประสบการณ์ใช้งานคลาวด์มาระยะหนึ่งแล้ว (Cloud Intermediate)

พอล ไซมอส รองประธานและกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี วีเอ็มแวร์ กล่าวว่า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า องค์กรในภูมิภาคนี้มีความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่ Cloud First แต่หลายองค์กรกำลังเผชิญหน้ากับจุดอิ่มตัวในการใช้งานมัลติคลาวด์ที่ปรับตัวรวดเร็วเกินไป

โดยแทนที่จะมีการปรับเข้าสู่การใช้งานคลาวด์สมาร์ท หลายๆ องค์กรมีความเสียงที่จะเข้าสู่สถานการณ์โกลาหลของคลาว์ “Cloud Chaos” ทำให้สูญเสียความสามารถด้าน “visibility” และการควบคุม เนื่องจากมีการกระจายตัวของแอปพลิเคชันและข้อมูลบนคลาวด์ต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ธุรกิจมีความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนากลยุทธ์และลงทุนด้านมัลติคลาวด์ เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงาน

“ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับเปลี่ยนและใช้กลยุทธ์ “Cloud Smart” ไม่ใช่แค่เพื่อรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ต้องสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการสร้างประโยชน์เมื่อมีการย้ายมาใช้งานคลาวด์ตั้งแต่ก้าวแรกและต่อไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน”

สำหรับ 6 ประเด็นหลักที่องค์กรทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกจำเป็นต้องพิจารณาเพื่อเข้าสู่การเป็นองค์กรแบบ Cloud Smart จากการสอบถามองค์กรที่สามารถสร้างความสำเร็จได้แล้วประกอบด้วย 

ปลดล็อกผลตอบแทนและศักยภาพในการทำกำไร: 97% กล่าวว่า กลยุทธ์มัลติคลาวด์ของพวกเขาช่วยเพิ่มรายได้และสร้างผลกำไร

เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นเงิน: 41% กล่าวว่า การสร้างรายได้จากข้อมูลเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญในปัจจุบัน โดย 75% คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2570

ควบคุมค่าใช้จ่ายบนคลาวด์ได้มากขึ้น : การขาด visibility และการควบคุมการทำงานของมัลติคลาวด์จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลกำไรของธุรกิจ จากการรายงานพบว่าองค์กรแบบ Trailing จะมีค่าใช้จ่ายสำหรับคลาวด์มากกว่า องค์กรแบบ Cloud Smart ถึงสองเท่า

การจัดการและแก้ไขปัญหาข้อมูลภายใต้ข้อกำหนด: 92% กล่าวว่าเป็นเรื่องง่ายในการจัดการข้อมูลในประเทศที่ข้อมูลอยู่ เมื่อเทียบกับ 63% ขององค์กรแบบ Trailing ยิ่งไปกว่านั้น 89% ขององค์กรแบบ Cloud Smart กล่าวว่าเป็นเรื่องง่ายในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในภูมิภาคที่ข้อมูลนั้นๆ ถูกจัดเก็บอยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับ 60% ขององค์กรแบบ Trailing

เพิ่มความปลอดภัยและการควบคุม: เนื่องจากเมื่อจำนวนคลาวด์มากขึ้น ก็เพิ่มช่องโหว่ให้ผู้ไม่หวังดีมากขึ้นตามไปด้วย 42% ขององค์กรต่างๆ ระบุว่า “ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น" ความท้าทายสำคัญที่จะเกิดขึ้นกับมัลติคลาวด์

เชื่อมโยงช่องว่างของ Talent: ช่องว่างด้านความสามารถ หรือ Talent เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคต่อความสำเร็จของมัลติคลาวด์ 42% ยอมรับว่าองค์กรของพวกเขายังขาดความเชี่ยวชาญภายในเพื่อปรับใช้แนวทางมัลติคลาวด์

ดังนั้นการมีกลยุทธ์มัลติคลาวด์ที่ชัดเจนจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดย 91% ยอมรับว่าการวางแผนกลยุทธ์มัลติคลาวด์ที่ชัดเจนมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถภายในองค์กรไว้ได้มากที่สุด