ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่กับ ‘สร้างศักยภาพแข่งขันประเทศ’ (ตอนที่ 1)

ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่กับ ‘สร้างศักยภาพแข่งขันประเทศ’ (ตอนที่ 1)

Amazon Web Services ผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) รายใหญ่ ประกาศลงทุนจะตั้ง Cloud Region ในประเทศไทย,มีแผนที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทยด้วยวงเงิน 1.9 แสนล้านบาท ในระยะเวลา 15 ปี บางคนอาจจะแปลกใจว่าจะมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้านไอทีมากน้อยเพียงใด

กลางเดือนที่ผ่านมามีข่าวที่สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการไอทีในบ้านเรา โดยทางบริษัท AWS หรือ Amazon Web Services ผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) รายใหญ่ ประกาศลงทุนจะตั้ง Cloud Region ในประเทศไทย,มีแผนที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทยด้วยวงเงิน 1.9 แสนล้านบาท ในระยะเวลา 15 ปี บางคนอาจจะแปลกใจว่าจะมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้านไอทีมากน้อยเพียงใด

ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกับ Cloud Computing หนึ่งในแนวโน้มเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญยิ่ง ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งตามประเภทของการให้บริการได้3 แบบ คือ 1) IaaS (Infrastructure as a Service) ที่เป็นการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และสตอเรจในการเก็บข้อมูล 2) PaaS (Platform as a Service) เป็นการให้บริการแพลตฟอร์มในการพัฒนาระบบ เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบในการพัฒนาซอฟต์แวร์ และ 3) SaaS (Software as a Service) เป็นการให้บริการซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่น อีเมล หรือโปรแกรมสำนักงาน

ซึ่งหากพิจารณาโดยผิวเผินก็อาจมองว่าเป็นเรื่องของการบริหารจัดการระบบไอที แต่โดยแท้จริงแล้ว Cloud Computing มีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรต่างๆ ทำ Digital Transformation ได้รวดเร็วขึ้น

ในอดีตเมื่อพูดถึง Cloud Computing ผู้คนก็จะนึกถึงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำให้ลดการลงทุนในขั้นต้น ได้ระบบที่มีเสถียรภาพมากขึ้น และสามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมาก โดยองค์กรต่างๆ สามารถเลือกใช้บริการคลาวด์สาธารณะรายใหญ่อย่าง Amazon Web Services (AWS), Microsoft Azure, Google Cloud Platform หรือแม้แต่ผู้ให้บริการของประเทศจีนอย่าง Huawei Cloudและ Alibaba Cloudซึ่งผู้ให้บริการคลาวด์เหล่านี้มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีความเสถียรและแต่ละรายมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการลูกค้าทั่วโลกนับล้านเครื่อง

นอกจากนี้ผู้ให้บริการแต่ละรายต่างก็พยายามสร้างนวัตกรรมการบริการใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งเมื่อมีนวัตกรรมและบริการใหม่ๆ ดังเช่น เรื่องของบล็อกเชน เมตาเวิร์ส และเอไอ ก็จะทำให้องค์กรต่างๆ สามารถพัฒนาระบบไอทีได้อย่างรวดเร็ว สามารถพัฒนานวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว โดยการใช้บริการคลาวด์สาธารณะแทนที่จะต้องเริ่มต้นพัฒนาโครางสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีเอง

ดังนั้น Cloud Computing จึงได้กลายเป็นเรื่องที่ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถสร้างบริการดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว สามารถสร้างโซลูชันใหม่ๆ ได้ง่าย และเป็นตัวเร่ง บริษัทสตาร์ทอัพหลายๆ แห่ง อย่าง NetFlix, Lyft, UBer หรือ AirBnB เริ่มต้นการทำธุรกิจด้วยการใช้บริการคลาวด์สาธารณะ ซึ่งทำให้ไม่ต้องมีต้นทุนเริ่มต้นในการลงทุนด้านไอทีที่สูงเกินไป บริษัทเหล่านี้จะมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นจำนวนมากที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้บริการคลาวด์สาธารณะรายใหญ่ๆ ซึ่งทำให้บริษัทไม่ต้องเสียเวลาไปกับการดูแลโครงสร้างพื้นฐานไอที

บริษัทวิจัย IDC (International Data Corporation)ระบุว่าตลาดการบริการคลาวด์สาธารณะในปี 2021 มีมูลค่าสูงถึง 408.6 พันล้านดอลลาร์ โดยแบ่งเป็น IaaS, PaaS และ SaaS จำนวน91.3, 68.2 และ 249.1พันล้านดอลลาร์ ตามลำดับ โดยคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดการบริการนี้จะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างของการใช้บริการคลาวด์สาธารณะที่สามารถตอบโจทย์ได้ดีและรวดเร็วกว่าการที่องค์กรต่างๆ จะมาพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานหรือลงทุนการพัฒนา Private Cloud ขององค์กร มีในหลายๆ ด้าน เช่น

การใช้ในการพัฒนาระบบออนไลน์หรือโปรแกรมไอทีที่มีผู้ใช้จำนวนมาก เช่น บริการการทำธุรกรรมอีคอมเมิรซ์ บริการออนไลน์ขนาดใหญ่ บริการด้านการเงิน บริการเหล่านี้จำเป็นจะต้องมีระบบเครื่องเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก และต้องสามารถขยายได้อย่างรวดเร็ว ะต้องรองรับการพัฒนาซอฟต์แวร์รูปแบบใหม่ๆ ทางด้าน DevOp หรือแพลตฟอร์มอย่าง Kubernates ซึ่งบริการคลาวด์สาธารณะสมัยใหม่จะออกแบบมาเพื่อรองรับได้ดีกว่าการใช้ในการพัฒนาระบบ Big Data ที่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่สามารถเก็บและประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้ในราคาไม่สูงเกินไป ซึ่งบริการคลาวด์สาธารณะรายใหญ่ๆ จะมีบริการต่างๆ ที่ตอบโจทย์ด้านนี้เป็นอย่างดีการใช้บริการคลาวด์สาธารณะในการทำโครงการด้านเอไอได้อย่างรวดเร็ว

เช่น การสร้างโมเดลพยากรณ์ต่างๆที่ ต้องการใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก หรือการใช้โมเดลที่ผู้ให้บริการ Public Cloud ได้เตรียมมาแล้ว เช่น โมเดลด้านภาพเพื่อจดจำใบหน้า โมเดลการแปลภาษา หรือโมเดลด้านการจดจำเสียง เป็นต้นการใช้บริการคลาวด์สาธารณะเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Blockchain, Internet of Things ซึ่งจะทำให้สามารถทำได้รวดเร็วกว่าโดยไม่ต้องรอลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที หรือล่าสุดมีการให้บริการ Quantum Computing บนคลาวด์สาธารณะ

มาถึงตอนนี้บางคนก็อาจจะแปลกใจว่าในเมื่อบริการคลาวด์สาธารณะจะอยู่ที่ไหนก็ได้ในโลก ผู้ใช้งานก็สามารถจะใช้งานได้ องค์กรต่างๆ ก็สามารถจะพัฒนานวัตกรรมหรือบริการไอทีใหม่ได้ แม้ผู้ให้บริการจะอยู่ในต่างประเทศ แล้วทำไมการเข้ามาลงทุนในบ้านเราจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างไร และจะสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้ดีขึ้นอย่างไร ในตอนหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังต่อว่า ในปัจจุบันผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ๆ ไปลงทุนที่ประเทศไหนบ้าง แล้วมีผลกระทบต่อการพัฒนาไอทีอย่างไร และทำอย่างไรที่เราจะสามารถดึงดูดให้บริษัทต่างๆเหล่านี้มาลงทุนในเมืองไทยเพิ่มขึ้น