สภาผู้บริโภคฯยื่นหนังสือขอกสทช.ยึดอุดมการณ์พิจารณาดีลควบรวม

สภาผู้บริโภคฯยื่นหนังสือขอกสทช.ยึดอุดมการณ์พิจารณาดีลควบรวม

วอนใช้หลักอุดมการณ์และยืนหยัดข้างผู้บริโภคและประชาชน เนื่องจากทรู-ดีแทค มีเจตนาจะทำการควบรวมบริษัทในธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งท่านในฐานะคณะกรรมการองค์กรอิสระที่ดูแลกำกับกิจการโทรคมนาคมจะต้องใช้อำนาจพิจารณาการควบรวมครั้งนี้

วันนี้ (10 ต.ค.) นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ยื่นหนังสือต่อกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่อง ขอให้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ใช้หลักอุดมการณ์และยืนหยัดข้างผู้บริโภคและประชาชน เนื่องจากกรณีที่ บริษัท ทรู คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค มีเจตนาจะทำการควบรวมบริษัทในธุรกิจโทรคมนาคม โดยมีพ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข เลขานุการประจำประธานกสทช.และนางสาวพิรงรอง รามสูต ลงมารับจดหมาย

ซึ่งท่านในฐานะคณะกรรมการองค์กรอิสระที่ดูแลกำกับกิจการโทรคมนาคมจะต้องใช้อำนาจพิจารณาการควบรวมครั้งนี้ เนื่องจากบริษัททั้งสองเป็นบริษัทในกิจการโทรคมนาคม ที่หลังจากการควบรวมจะมีการเข้าไปถือหุ้นมากกว่า 10% ในบริษัทลูก คือบริษัท ทรูมูฟเอช จำกัด และ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด 
 

สภาผู้บริโภคฯยื่นหนังสือขอกสทช.ยึดอุดมการณ์พิจารณาดีลควบรวม

ซึ่งทั้งสองบริษัทเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน อันขัดต่อตามบัญญัติมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561

ยิ่งไปกว่านั้น ยังขัดต่อแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562-2566 ที่มีผลผูกพันต่อ กสทช.ในทางปกครองนับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่องการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม "ตามกฎหมายของปี 2549 กำหนดว่า การเข้าซื้อหุ้นหรือถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 10 ของผู้ได้รับใบอนุญาตรายอื่น หรือเข้าซื้อสินทรัพย์ทั้งหมดเพื่อให้มีสิทธิ์กำหนดนโยบาย ต้องได้รับอนุญาตจาก กสทช. ก่อนเท่านั้นจะกระทำก่อนไมได้

ทั้งนี้ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ในฐานะเป็นตัวแทนผู้บริโภค ที่มีอำนาจคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคในทุกด้าน มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่าการควบรวมกิจการโทรคมนาคมดังกล่าว จะเกิดผลกระทบต่อสังคมในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าด้านการศึกษา

หากคณะกรรมการ กสทช.อนุญาตให้เกิดการควบรวมกิจการทั้งสองบริษัทนี้จะทำให้เกิดการผูกขาด และลดการแข่งขันในตลาดค่ายมือถือและตลาดอินเตอร์เน็ตที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสการเข้าถึงแหล่งความรู้จากทุกมุมโลกที่จะทำให้นักศึกษา ผู้บริโภค และประชาชนมีโอกาสพัฒนาศักยภาพด้วยตนเอง หรือจากสถาบันการศึกษาระดับโลก 

สภาผู้บริโภคฯยื่นหนังสือขอกสทช.ยึดอุดมการณ์พิจารณาดีลควบรวม

อีกทั้ง จากผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการด้านเศรษฐศาสตร์ ของ กสทช. พบว่า การควบรวมครั้งนี้เป็นอันตรายต่อการแข่งขันในตลาดผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่แสดงค่า HHI ที่เป็นดัชนีวัดการกระจุกตัวของตลาด ที่ กสทช. ได้กำหนดไว้ว่าไม่ควรเกิน 2500 แต่หากเกิดการควบรวม ดัชนีนี้จะทะยานสูงถึง 5007 ที่ส่งสัญญาณอันตรายต่อตลาดนี้ที่นำทรัพยากรคลื่นความถี่ของประชาชนมาบริหาร

โดยมีการคาดการณ์ว่า ราคาค่บริการที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเพิ่ม จะสูงขึ้นจาก 2.07% ในระดับของการแข่งขันหลังควบรวม และจะทะยานถึง 244.5% และทำให้ผู้บริโภคขาดทางเลือกในการใช้บริการ กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของพลเมืองในยุคดิจิทัล รวมถึงความมั่นคงในการบริการโครงข่ายสาธารณะเพราะการมีผู้ประกอบการน้อยรายย่อมเสี่ยงมากกว่าการมีผู้ประกอบการมากราย

ดังนั้น ในนาม สภาองค์กรของผู้บริโภค จึงขอเรียกร้องให้ท่านยึดมั่นต่อหน้าที่ที่มีต่อประชาชนในการรักษาผลประโยชน์สูงสุด ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 60 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ด้วยการไม่อนุญาตให้เกิดควบรวม ดัชนีนี้จะทะยานสูงถึง 5007 ที่ส่งสัญญาณอันตรายต่อตลาดนี้ที่นำทรัพยากรคลื่นความถี่ของประชาชนมาบริหาร โดยมีการคาดการณ์ว่า ราคาค่าบริการที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเพิ่มซึ่งหากวิเคราะห์ตาม มาตรา 21 ในพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปี 2549

จะพบว่าทั้งสองบริษัท ได้มีการแสดงเจตนารมณ์ทางกฎหมายอย่างชัดเจนว่า ไม่ต้องการให้มีการผูกขาด หรือลดการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคมในธุรกิจประเภทเดียวกันจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาขอให้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ใช้หลักอุดมการณ์และยืนหยัดข้างผู้บริโภคและประชาชน