เปิดเทรนด์ Design&Branding มุ่งสู่ "โลกเสมือน"

เปิดเทรนด์ Design&Branding มุ่งสู่ "โลกเสมือน"

"สิริอร เฑียรฆประสิทธิ์" แชร์ความสำเร็จจากการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าสำหรับผู้ชาย PAINKILLER จากการใช้ Design&Branding ชี้เทรนด์ธุรกิจอนาคตมุ่งสู่โลกเสมือนตอบความต้องการหลบหนีความเจ็บปวดจากโควิด-19 เผยสิบเทรนด์สี Palette ปี 2022-2023 เพื่อนักออกแบบ

สิริอร เฑียรฆประสิทธิ์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์เสื้อผ้าสำหรับผู้ชาย PAINKILLER Atelier ร่วมบรรยายหัวข้อ Design & Branding ในกิจกรรมอีเว้นท์ออนไลน์ Trends Driving the Future จัดโดย SPRiNG News ร่วมกับ กรุงเทพธุรกิจ โดยเริ่มจากความสำคัญของแบรนด์ดิ้งกับมาร์เก็ตติ้งที่จะต้องใช้ควบคู่กันอย่างเหมาะสม แม้จะแตกต่างกันแต่ก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดไปได้อย่างยั่งยืนโดยการทำให้สินค้าหรือบริการขายออก 

    แบรนด์ดิ้งจะเป็นตัวที่ผลักให้สินค้าโดดเด่นเหนือสินค้าคู่แข่ง แบ่งเป็นสองส่วนหากเปรียบเหมือนร่างกายมนุษย์ ก็คือส่วนที่มองเห็นคือโครงสร้างร่างกายภายนอก และส่วนที่มองไม่เห็นก็คืออวัยวะภายใน แบรนด์ดิ้งอาจคล้ายกับการตลาดแต่มีความซับซ้อนกว่า

การทำแบรนด์ดิ้งจะเป็นตัวที่ผลักให้สินค้าโดดเด่นเหนือสินค้าคู่แข่ง ทำให้เกิดการสร้างภาพจำที่ยั่งยืนให้กับแบรนด์ เมื่อทำตรงนี้ได้อย่างสม่ำเสมอ สินค้าก็จะอยู่ในตลาดไปได้เรื่อยๆ แต่ถ้าใช้มาร์เก็ตติ้งอย่างเดียวโดยไม่ใช้แบรนด์ดิ้งเลย ธุรกิจอาจจะพีคได้ในช่วงสั้นๆ แล้วก็ดับไป

    Marketing คือการนำเสนอสินค้าในเวลาที่เหมาะสม ในสถานที่ที่เหมาะสม ด้วยราคาที่เหมาะสมให้กับกลุ่มคนที่สนใจ โดยหวังว่าคนกลุ่มนี้จะกลายมาเป็นลูกค้าในที่สุด

เปิดเทรนด์ Design&Branding มุ่งสู่ "โลกเสมือน"

ดังนั้น Marketing คือการดึงดูดให้ผู้ชมสนใจโดยมักจะทำในระยะสั้น มีการกำหนดกลยุทธ์หรือที่เรียกว่า Marketing strategy แล้วค่อยแยกย่อยออกมาเป็นการกระทำ เช่น Marketing campaign อย่างซื้อ 1 แถม 1 ชิ้น การทำ Marketing จะมีเวลากำหนดจุดสิ้นสุดและวัดผลได้ง่ายจากยอดขาย ส่วน Branding ส่วนมากจะทำกันในระยะยาว เช่น การดูแลรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า เป็นการหล่อเลี้ยงให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์ 

    สิริอร กล่าวถึงเทรนด์การสร้างแบรนด์ที่เริ่มแล้วในปีนี้และจะส่งผลถึงปี 2022 และ 2023 จะเป็นการปลอบประโลมจิตใจของประชากรโลกให้พ้นจากการคุกคามของโรคระบาด โดยชี้ให้เห็นถึงความสวยงามของสิ่งรอบตัวเพื่อให้เราดำเนินชีวิตต่อไปในที่เดิมถ้าถูกบังคับให้อยู่บ้านกันมานาน

จะมีบางคนเห็นคุณค่าของบ้านและมีการเข้า community มากขึ้น นำมาสู่เทรนด์การตกแต่งบ้านเป็นโฮมออฟฟิศ การปลูกผักที่บ้านเพื่อกินยามขาดแคลน การกลับมาของงานอดิเรกและการพัฒนาตนเอง Online Course รวมไปถึงการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอีกด้วย 

เทรนด์ที่สอง VR Escape หนีไปจากโลกความจริงไปสู่โลกเสมือน เช่น Gaming การรวมตัวกันแบบ Virtual community ชุมชนเสมือนของผู้ที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกันผ่าน Application หรือแพลตฟอร์มใหม่ๆ ในหลากหลายรูปแบบ

    ทางด้านเทรนด์สี Palette ปี 2022-2023 สำหรับนักออกแบบ ประกอบด้วย 10 ชุดสี ได้แก่ 
1.butter cream ครีมเหลืองอ่อน ให้ความรู้สึกอบอุ่น สงบ สว่าง ทำให้นึกถึงเทียนหอมและการเยียวยาจิตใจ ช่วยผ่อนคลาย 
2.mango yellow เหลืองอมส้ม ที่มีความสดชื่นและช่วยเพิ่มพลัง สีนี้ยังสื่อถึงหน้าร้อนและความสนุกสนาน ช่วยเพิ่มกำลังใจให้สู้ต่อไป 

เปิดเทรนด์ Design&Branding มุ่งสู่ "โลกเสมือน"
3.sundial / earthy yellow สีของดินเหลือง เป็นสีพื้นดินเกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ และยังเกี่ยวโยงกับสีย้อมจากธรรมชาติ เช่น สีจากผักและสมุนไพรต่างๆ 
4.acid lime เขียวสะท้อนแสง เป็นสีสังเคราะห์ที่ทำให้คิดถึงอนาคต โลกใหม่และการแสดงออกอย่างโจ่งแจ้งรวมถึงความสนุกสนานของโลกดิจิทัล
5.jade ขียวชะอม ให้ความรู้สึกหรูหราและสมดุล สื่อถึงการมองโลกในแง่ดี อย่างเป็นกลาง 
6.stratosphere ฟ้าอมเขียว สื่อถึงชั้นบรรยากาศและจุดเชื่อมต่อระหว่างสีท้องฟ้ากับสีท้องทะเล ทำให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลายและลดความตึงเครียด 
7.lazuli น้ำเงินอมม่วง แสดงถึงความหรูหรา เข้มแข็งและสติปัญญา
8.digital lavender  ม่วงพาสเทล เป็นสีแห่งความผ่อนคลาย เพราะตั้งต้นมาจากสีม่วงของดอกลาเวนเดอร์ที่เชื่อมโยงถึงโลกเสมือน เป็นสีที่อ่อนหวานแต่ก็มีความเข้มแข็งปะปนอยู่
9.festival fuchsia ชมพูอมม่วงเข้มข้น เป็นสีที่มีชีวิตชีวา เปิดเผยและหรูหรา สีแห่งการเฉลิมฉลองและการแสดงออกอย่างเสรี
10.dark oak น้ำตาลเข้ม สื่อถึงความเก่า ที่สามารถเข้ากันได้ดีกับเฉดสีจากธรรมชาติอื่นๆ  

    ข้อจำกัดการนำเทรนด์สีเหล่านี้มาใช้ เธอเตือนว่า เทรนด์สีเหล่านี้ถูกกำหนดมาให้มีอายุ จึงไม่ควรนำมาใช้เพื่อการออกแบบสินค้าหรือใช้สำหรับการทำ Marketing campaign ประจำปี การเลือกสีสำหรับการสร้างแบรนด์จะต้องนำ keyword ของแบรนด์กับความหมายของสีต่างๆ

อีกอย่างที่ต้องระวังก็คือ ถ้าจะทำแบรนด์ส่งออกไปประเทศอื่นจะต้องศึกษาความหมายของสีสำหรับประเทศหรือวัฒนธรรมประจำกลุ่มตลาดด้วย เพราะบางครั้งสีที่มีความหมายดีในประเทศหนึ่งอาจจะมีความหมายลบในอีกประเทศก็ได้