จุฬาฯ วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม โดยประเมินความเสียหายด้วย "ข้าว”

จุฬาฯ วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม โดยประเมินความเสียหายด้วย "ข้าว”

จากการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมโดยใช้ข้อมูลจาก สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ย้อนหลัง 3 ปี และนำข้อมูลบิ๊กเดต้า มาประกอบกันพร้อมใช้เทคนิคจากงานวิจัย ทำให้สามารถทำแผนที่ความเสี่ยงจากภัยที่ออกมาเป็นตัวเงินได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม โดยประเมินความเสียหายด้วยการยกตัวอย่าง ข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ ถ้าไม่มีพายุมาช่วยเติมฝนเหนือเขื่อนจะมีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำช่วงต้นปี 2565 แต่หากฝนตกใต้เขื่อนอาจทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่กรมชลประทาน

หากจะสื่อสารเรื่องน้ำท่วมอาจจะต้องสื่อสารผ่านตัวเงิน เพื่อให้เข้าใจตรงกัน จากสถานการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 54 ส่งผลกระทบต่อความเสียหายมูลค่ากว่า 1.4 ล้านล้านบาท หากเทียบกับงบประมาณในการพัฒนาประเทศ 2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 70% ความหมายคือ ทำงาน 1 ปีเงินเดือนหายไป 6-7 เดือน

ฉะนั้นมี 2 ประเด็นที่สำคัญคือ 1.ได้รับบาดเจ็บจากสถานการณ์โควิด ฉะนั้นหากดูข้อมูลในอดีตประเทศไทยมีช่วงการพัฒนาเศรษฐกิจขึ้นๆ ลงๆ หนักๆปี 54 คือ 1.4 ล้านล้านบาท และวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2541 เป็นช่วงที่ลำบากพอสมควร แต่ปี 41 โชคดีคือหากไม่มีงานก็จะมองย้อนกลับไปที่ภาคเกษตร ซึ่งในภาคเกษตรนั้น “น้ำก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะฉะนั้นปีนี้เรื่องน้ำ หากมีโควิดเข้ามา และภัยจากน้ำจะส่งผลอย่างไรบ้างนั้นจะเป็นในลักษณะของแนวนโยบาย

ข้อมูลเพาะปลูกพืชที่ดีจะต้องฟรีและเข้าถึงได้ จึงได้ใช้ข้อมูลพวกนี้มาทำเพราะมีการปรับปรุงตลอด เช่น ข้อมูลเพาะปลูกพืช หรือ ข้าวทุก 2 สัปดาห์ ตอนนี้จึงทำให้รู้จำนวนข้าวที่จะต้องเก็บเกี่ยวไปจนถึงเดือนธันวาคมมีปริมาณเท่าไร ราคาเท่าไร และสร้างรายได้เท่าไร

ซึ่งจากการประเมินความเสี่ยงมูลค่าความเสี่ยงของข้าวที่ถูกน้ำท่วม กรณีเดือนกันยายนปี 64 หากดูตัวเลขพบว่าเสียหายหลัก 10 ล้านต่อแปลง สีเหลืองน้อยกว่า 1 ล้าน ส่วนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมจะเป็นพื้นที่ในเชิงภาคกลาง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และมีบางส่วนลุ่มน้ำโขงชีมูล ทั้งนี้สังเกตได้ว่าจากการกระจายตัวค่อนข้างอยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ส่วน Worst-Case Scenario ข้าวทั้งหมดที่ถูกน้ำท่วมและตาย และไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ อยู่ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท เพราะฉะนั้นหากดูตัวเลขวิธีการดูเรื่องภัยว่าสเกลขนาดไหน และอยู่ที่ใด และจะเกิดเวลาใด หากดูพบว่าข้าวนาปีประเทศไทย ประมาณเดือนกันยายน และตุลาคม ช่วงวิกฤติหากมีพายุเข้ามาจะมีความเสี่ยง เราจึงพยายามดูว่าหากกันยายนข้าวเสียหายและเกิดน้ำท่วมมูลค่าจะอยู่ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท ส่วนตุลา 1.1 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้สิ่งที่น่าสนใจคือพื้นที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน หากมองในเชิงบริหารจัดการภัยคิดว่าตอนนี้พื้นที่ปลูกข้าวและมีความเสี่ยงน้ำท่วมอยู่ที่ใด และตัวเลขใด ทั้งนี้ผ่านช่วงพฤศจิกายนไปได้ ตัวเลขจะต่ำลงและพื้นที่ข้าวที่ถูกน้ำท่วมจะน้อยลง อีกทั้งยังสามารถดูอายุข้าวได้เช่นกัน ทั้งนี้บางพื้นที่เก็บเกี่ยวก็จะไม่อันตราย ส่วนบางพื้นที่หากมีฝนตกหนักอาจจะได้รับผลกระทบ และเกิดความเสียหาย และส่วนเดือนธันวาคมไม่ค่อยมีความเสี่ยง

ฉะนั้นโดยสรุปหากน้ำท่วมเราจะเริ่มเห็นว่าข้าวที่เราใช้ข้อมูลดาวเทียมเข้ามาช่วย พื้นที่ที่อาจจะเป็นจุดเสี่ยงจะอยู่ในช่วงของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และในช่วงของภาคอีสานในบางตอน แต่มองงว่ามีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ การดูปริมาณน้ำในเขื่อน กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเราใช้น้ำจาก 4 เขื่อนหลัก อาทิ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิตติ์ โดย 3 ปีที่ผ่านมามีปริมาณน้ำค่อนข้างต่ำ ดังนั้นจากข้อมูลความเสี่ยงน้อยลงจากปี 54 เพียงแต่ประเด็นที่น่าสนใจคือปีหน้าอาจจะต้องเผชิญกับภัยแล้ง

หากดูตามเทรนด์ ข้อเท็จจริงน้ำในเขื่อนค่อนข้างน้อย จากข้อเท็จจริงต้นปี 65 ข้าวนาปรังมีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำเพราะปริมาณน้ำในเขื่อนค่อนข้างน้อย ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกข้าวนาปรังจริงมากกว่าการวางแผนหน้าแล้ง อีกทั้งปีที่กรมชลฯไม่ส่งน้ำก็ยังมีการปลูกข้าวนาปรัง และปีนี้ต้นทุนน้ำน้อยกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นโจทย์คือหากเรากลัวน้ำท่วมปีนี้และปล่อยน้ำจะกลายเป็นว่าน้ำปีหน้าน้อยลง จะส่งผลให้ความสามารถในการทำนาปรังน้อยลงเช่นกัน ดังนั้นจึงควรปลูกน้อยลง และสำรองน้ำไว้กับน้ำประปา น้ำอุปโภคบริโภคและการผลักดันน้ำเค็ม

ฉะนั้นหากเทียบดูแนวโน้มของการปลูกข้าว ประเด็นที่เจอจะมีการขาดแคลนน้ำในต้นปีหน้า หากมีการบริหารจัดการที่ไม่ดี และหากไม่มีพายุมาเติมฝน และหากเติมฝนเหนือเขื่อนจะดีมากเนื่องจากมีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย แต่ที่กังวลคือหากตกใต้เขื่อนจะทำให้เกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่ แต่หากมองภาพใหญ่อยากให้ตกเหนือเขื่อนเพื่อเป็นต้นทุนปลูกข้าวนาปรังในปีถัดไป

ดังนั้นมูลค่าความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำกรณีแล้งในปี 2564 และ 2565 ความเสี่ยงจ้าวจากการขาดแคลนน้ำ กรณีต้นปี 2565 ประเทศไทย ข้าวนาปรังตัวเลขจะคล้ายกับปี 63 มูลค่าประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท เทียบเท่ากับจีดีพีของแม่ฮ่องสอนทั้งจังหวัด ความเสียหายจะอยู่ที่ 70%

สุดท้ายนี้จากโควิดปี 2564 ประเทศไทยไม่สามารถรับความเสียหายได้มากกว่านี้อีกแล้ว ภาคเกษตรเป็นเบาะรองกระแทกให้แก่วิกฤติ และจากความเสี่ยงขาดแคลนน้ำจะทำให้เกิดวิกฤติซ้ำ ดังนั้นจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ดังนั้นต้อง Risk analytics meets policy analysis เป็นอีกหนึ่งคำตอบ และการวางนโยบายถัดไปเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยงานที่สนับสนุนข้อมูลได้ และการเอางานวิจัยเข้ามาช่วยจะเป็นตัวหนึ่งที่จะทำให้เห็นว่าจะสามารถเติมช่องว่างในเชิงการบริหารจัดการข้อมูลและข้อเท็จจริงได้ด้วยเช่นกัน