‘ไอเอ็มซี’ผุด 10 หลักสูตรดิจิทัล ปลุก'ซีอีโอ'สู่ 'ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์ม'

‘ไอเอ็มซี’ผุด 10 หลักสูตรดิจิทัล ปลุก'ซีอีโอ'สู่ 'ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์ม'

ไอเอ็มซี ชี้ 3 ประเด็นผู้บริหารยุคใหม่ต้องรู้ปฏิบัติ 'ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์ม-เอไอและบิ๊กดาต้า-พีดีพีเอ' พร้อมผุด 10 หลักสูตรเติมเต็มความรู้ พร้อมวางยุทธศาสตร์ก้าวไปสู่องค์กรยุคใหม่บนเส้นทางสายดิจิทัล

ส่วนหลักสูตรด้าน เอไอและบิ๊กดาต้า มีทั้งสำหรับนักพัฒนาธุรกิจ และสำหรับผู้บริหาร เพื่อให้เข้าใจแนวคิดและพื้นฐานของเอไอ (Artificial Intelligence) ได้รู้จักการกระบวนทำงาน และสามารถปรับแต่งระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ส่วนเนื้อหาด้าน บิ๊กดาต้า จะเป็นการปูพื้นฐานให้แน่นและเข้าใจอย่างถ่องแท้ รู้การประยุกต์ใช้บิ๊กดาต้าในองค์กร การเตรียมพร้อมด้านบุคลากร ด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมทั้งได้เรียนรู้ตัวอย่างการใช้งานในมุมต่างๆ

“และที่กำลังมาถึง คือ ทำอย่างไรให้องค์กรปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA ที่จะมีผลใช้บังคับ 1 มิถุนายนนี้ สอนให้รู้แนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รู้วิธีวางแผนจัดระเบียบควบคุมจัดทำเอกสารและปิดโครงการให้สำเร็จและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด”

ธนชาติ กล่าวว่า องค์ความรู้ที่สำคัญสำหรับผู้บริหารเหล่านี้ ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กร กำหนดยุทธศาสตร์ วางรากฐานทางธุรกิจให้มั่นคงยั่งยืนต่อไปในยุคของคลื่นลูกที่สี่ได้ 

สำหรับ 10 หลักสูตร เช่น  Digital Transformation Trends for Management , Big Data in Action for Management , Building Digital Organization : From Crisis to Sustainable Growth, PDPA in Practice for Management เป็นต้น โดยหลักสูตรจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย.เป็นต้นไป หรือสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://www.imcinstitute.com/index.php/training/public-training/training-schedule-by-track/mange-ment-track

‘เอไอ’ หนุนจีดีพีประเทศเพิ่ม 

อย่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี เคยวิเคราะห์ว่า ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ ชาติที่สามารถพัฒนาเอไอได้ดี ไม่เพียงทำให้เกิดความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี แต่ยังมีผลทำให้จีดีพีประเทศเพิ่มขึ้น คาดว่า จีีดีพีโลกปี 2573 จะถึง 15% ซึ่งเป็นผลผลิตที่มาจากการทำงานเอไอหรือระบบอัตโนมัติ และประเทศใดที่ไม่สามารถแข่งขัน หรือพัฒนาเอไอได้ก็จะล้าหลังและไม่สามารถแข่งในอุตสาหกรรม 4.0 ได้ 

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่หลายชาติเวลานี้ทุ่มงบประมาณทำงานวิจัย และพัฒนาด้านเอไอ ในอดีตชาติที่เป็นมหาอำนาจด้าน เอไอ คือ สหรัฐอเมริกา ที่เริ่มทำงานวิจัยทางด้านนี้มาก่อน มีนักวิทยาศาสตร์ มีผลงานมากมาย แต่ช่วงหลังประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนสามารถไล่ตามทันบางด้าน เพราะความจริงจังรัฐบาลประเทศเหล่านั้น ในการลงทุนงานวิจัยและพัฒนาทางด้านนี้อย่างจริงจัง 

ทั้งนี้ การแข่งขันด้านเอไอต้องพิจารณามุมมอง 6 ด้าน คือ ทักษะบุคลากร ด้านงานวิจัย การพัฒนา การประยุกต์ใช้งาน ด้านข้อมูล และด้านฮาร์ดแวร์ ซึ่งเปรียบเทียบการแข่งขันทั้ง 6 ด้านระหว่างสหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป และพบว่า สหรัฐอเมริกายังเป็นผู้นำเกือบทุกด้านยกเว้นด้านข้อมูล และด้านประยุกต์ใช้งาน ที่ถูกจีนแซงหน้าไปแล้ว