เปิด 5 เทรนด์ ‘ซีอาร์เอ็ม’ กุญแจไข ‘ดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม’ 

เปิด 5 เทรนด์ ‘ซีอาร์เอ็ม’ กุญแจไข ‘ดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม’ 

เบริล 8 พลัส เปิด 5 เทรนด์ซีอาร์เอ็ม ดูแลลูกค้ายุคนิวนอร์มอล พร้อมยกระดับความเชี่ยวชาญ ขยายบริการลูกค้าในประเทศไทยและอาเซียน ชูโซลูชั่นซีอาร์เอ็ม บิ๊กดาต้า เอไอ ครบวงจร ชี้ ซีอาร์เอ็ม คือ กุญแจสำคัญทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

2.สร้างช่องทางที่ครอบคลุมทุกการสื่อสารเพื่อเข้าถึงลูกค้า นำเสนอสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการในจังหวะเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม อาจอาศัยช่องทางอื่นที่บริษัทไม่ได้เป็นเจ้าของโดยตรง เช่น ช่องทางโซเชียล มีเดียต่างๆ 

3.ปรับแต่งประสบการณ์ลูกค้าแบบเฉพาะบุคคล และการให้บริการที่สอดคล้องประวัติการซื้อ รสนิยม บริบท และเจตนารมณ์ของลูกค้าคนนั้นๆ 4. ดำเนินงานที่เชื่อมถึงกัน เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่สมบูรณ์แบบให้ลูกค้า ทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ บนแพลตฟอร์มแบบครบวงจรหนึ่งเดียว พร้อมการโต้ตอบแบบเรียลไทม์เพื่อให้บริการลูกค้า 5. บิ๊กดาต้า และเอไอ เพื่อซีอาร์เอ็มที่ตอบโจทย์ยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น ธุรกิจสามารถใช้เอไอ เพื่อให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ พร้อมจัดหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวข้องเพื่อช่วยการทำงาน และปรับแต่งแคมเปญ ผลิตภัณฑ์ และราคาอย่างทันท่วงที

เบริล8พลัสลุยขยายธุรกิจลุยซีอาร์เอ็ม 

“อภิเษก เทวินทรภักติ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เบริล8 พลัส จำกัด กล่าวว่า ในฐานะที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเทคโนโลยีคลาวด์และระบบซีอาร์เอ็มของเซลส์ฟอร์ซ  บริษัทพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าเพื่อฟื้นฟู และพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการนำเสนอโซลูชั่นแบบครบวงจรสำหรับการตลาด การขาย การบริการ และการวิเคราะห์ข้อมูล 

"เมื่อพิจารณาถึงสภาพตลาดในปัจจุบัน เราเชื่อว่าความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับโซลูชั่นซีอาร์เอ็ม และอัตราการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะช่วยสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจที่ดีในอนาคต” 

นอกจากการทำธุรกิจที่ปรึกษาในไทยแล้ว เบริล 8 พลัส ยังทำงานร่วมกับหลายบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วภูมิภาค ประกอบด้วยเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ซึ่งประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้มีความต้องการคล้ายคลึงกันสำหรับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงเปิดสำนักงานสาขาในเวียดนามเมื่อปี 2562 

สำหรับ แผนการขยายธุรกิจไปยังเวียดนาม เขาระบุว่า เนื่องจากเศรษฐกิจของเวียดนามมีอัตราการเติบโตที่สูง ก่อให้เกิดความต้องการสำหรับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น รวมถึงความพร้อมของบุคลากรไอทีที่มีความเชี่ยวชาญ และทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับประเทศไทย จึงนับเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมในการขยายไปยังตลาดใหม่

นอกจากนี้ บริษัท ยังมีแผนขยายธุรกิจไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ๆ โฟกัสที่ธุรกิจค้าปลีก อีคอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยจะลงทุนจริงจังในการสรรหาและเพิ่มพูนทักษะให้กับบุคลากร เพื่อพัฒนาบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นของลูกค้าอย่างครบถ้วน