ยิบอินซอย จับตาอนาคต ‘ยุคดิจิทัล’ กับการต่อกร ‘ภัยไซเบอร์’

ยิบอินซอย จับตาอนาคต ‘ยุคดิจิทัล’ กับการต่อกร ‘ภัยไซเบอร์’

การคุกคามหนักสุดเกิดจาก แรนซัมแวร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 68 สายพันธุ์

เลี่ยงอีเมล์น่าสงสัย-รวมศูนย์ข้อมูล

วิธีแก้ คือ หลีกเลี่ยงอีเมลที่น่าสงสัย หมั่นอัพเดทซอฟต์แวร์ความปลอดภัยให้กับเซิร์ฟเวอร์หลัก เครื่องลูกข่าย เมลเซิร์ฟเวอร์ และเมลเกตุเวย์ กำหนดพื้นที่แซนด์บ็อกซ์ ไว้ล้อมกรอบเว็บหรืออีเมลลักษณะแปลกๆ เพื่อลดผลกระทบให้อยู่ในวงจำกัด หรือใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งมาช่วยตรวจจับก็จะช่วยสร้างแนวป้องกันด่านหน้าให้กับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

สิ่งหนึ่งที่องค์กรต้องเผชิญจากการใช้แอพพลิเคชั่น หรืองานบริการผ่านเครือข่ายในองค์กรหรือออนไลน์ คือ ข้อมูลที่กระจายไปทั่วทั้งในดาต้าเซ็นเตอร์ ตามสาขาห่างไกล หรือบนคลาวด์สาธารณะ ซึ่งยากต่อการควบคุมและเสี่ยงเพิ่มช่องโหว่การโจมตี 

แนวทางแก้ไขที่ทำได้ เช่น รวบรวมข้อมูลเข้าสู่ศูนย์กลาง มีตัวช่วยเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลต่างๆ ขึ้นสู่ที่เก็บข้อมูลกลางบนคลาวด์สาธารณะ ซึ่งเพิ่มขนาดได้ไม่จำกัดและกำกับดูแลจากจุดเดียว และที่ขาดไม่ได้คือ ระบบแบ็คอัพข้อมูลตามหลัก 3-2-1 ซึ่งหมายถึงการแบ็คอัพข้อมูลเป็น 3 ชุด ชุดต้นฉบับ 1 ชุด และสำเนา 2 ชุด ที่ควรแบ็คอัพไว้บนอุปกรณ์จัดเก็บต่างชนิดกัน และแยกเก็บสำเนา 1 ชุดไปไว้ในอีกสถานที่หนึ่งนั่นเอง

ลดเสี่ยงเรื่องเชื่อมต่อด้วยคลาวด์

ขณะที่ ควรหันมาใช้เครือข่ายคลาวด์ เพื่อจัดการเครือข่ายและการเชื่อมต่อแบบรวมศูนย์ ลดความเสี่ยงจากการจัดการอุปกรณ์เครือข่ายหลายตัว และมีซอฟต์แวร์กำกับการใช้งาน ที่สามารถเพิ่ม ลด กำหนดความเร็ว-ช้าในการเชื่อมต่อให้เหมาะกับอุปกรณ์และลักษณะงาน เมื่อมีการเชื่อมต่อไอโอทีเพิ่มขึ้น สามารถติดตามแก้ไขปัญหาให้กลับมาใช้งานเหมือนเดิมได้รวดเร็ว 

ขณะที่ การใช้งานระบบเครือข่ายต้องกำหนดนโยบายความปลอดภัย ระบุตัวตน และตัวอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่ออย่างชัดเจน

สุภัค กล่าวว่า ทุกวันนี้ แอพพลิเคชั่น งานบริการ และข้อมูล ไม่จำเป็นต้องอยู่ในดาต้า เซ็นเตอร์ เสมอไป เห็นได้จากการเติบโตของแพลตฟอร์มบนคลาวด์ หรือ เอดจ์ คอมพิวติ้ง ที่มุ่งนำการบริการและประมวลผลไปใกล้ผู้ใช้งานให้มากที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการได้รวดเร็ว แอพพลิเคชั่นหรือแพลตฟอร์มบริการทำนองนี้มักจะพัฒนาขึ้นโดยเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ (Container) เพื่อให้มีขนาดเล็ก กินทรัพยากรไอทีน้อย และปรับเปลี่ยนโยกย้ายเร็ว อย่างปลอดภัย

วิเคราะห์ข้อมูลใต้หลักการพีดีพีเอ

"เดิมการจัดการข้อมูลเน้นทำความสะอาดข้อมูล ออกรายงานเพื่อให้เห็นมุมมองธุรกิจ แต่ไม่ลงลึกระดับการวิเคราะห์ที่ไปสู่การคาดการณ์อนาคต แต่ยุคดิจิทัลซึ่งมีแอพพลิเคชันและแพลตฟอร์มเกิดใหม่บนคลาวด์ เกิดบิ๊กดาต้าที่เป็นประโยชน์เชิงธุรกิจ การนำเอไอมาใช้สร้างรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูล จึงเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค" 

รวมทั้งมีเออาร์ และวีอาร์มาช่วยสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่น่าจดจำและเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้มากขึ้น จนถูกตั้งคำถามถึงการละเมิดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งองค์กรต้องเร่งพัฒนาระบบกำกับการใช้งานข้อมูลเหล่านั้นด้วยความโปร่งใส และสอดคล้องกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA เพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่จัดเก็บและใช้งานในศูนย์ข้อมูลขององค์กร บนคลาวด์ หรือโซเชียลมีเดียก็ตาม