กสทช.วิดีโอคอล 'ไอทียู' ถก '5G'

 กสทช.วิดีโอคอล 'ไอทียู' ถก '5G'

เสนอตัวเจ้าภาพ ‘เทเลคอม เวิลด์’ กลางปี 64

“ด้วยศักยภาพดังกล่าวของประเทศไทย จึงจะเสนอให้ไอทียูมีมติให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน ไอทียู เทเลคอม เวิลด์ 2021 ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2564 หากมีมติเห็นชอบจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป”

นายฐากร กล่าวว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยช่วง 3-4 เดือนนี้ ยังคงซบเซาต่อเนื่อง แต่ขณะที่รายงานของแอพพลิเคชั่นพฤติมาตรของสำนักงาน กสทช. พบว่า ระหว่างเดือน ม.ค.-ก.พ.2563 ประชาชนมีการใช้งาน 4 แอพพลิเคชั่น ได้แก่ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ไลน์ และยูทูบ เพิ่มสูงขึ้น ทวิตเตอร์ใช้งานเพิ่มขึ้น 266.43% ถัดมาคือ ไลน์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 154.26% ขณะที่ การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ผ่าน 3 แอพพลิเคชั่น ได้แก่ ลาซาด้า ช้อปปี้ และแกร็บ เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยช้อปปี้ใช้งานเพิ่มขึ้น 478.59% ลาซาด้าเพิ่มขึ้น 121.52%

“ดังนั้น ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) ต้องเร่งเปิดบริการ 5G เชิงพาณิชย์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศโดยเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานเหล่านี้ได้ ช่วยให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะนี้ มีการขยายตัวดีขึ้นในบางเซกเตอร์ เพื่อชดเชยบางเซกเตอร์ที่ชะลอตัวลง” นายฐากร กล่าว

นอกจากนี้ ยังได้รับการประสานจาก บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) เครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่าจะเข้าชำระเงินค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ งวดแรก 1,912,399,111 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือคิดเป็น 10% ของราคาค่าใบอนุญาต 19,123,991,110 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) พร้อมรับใบอนุญาต และวางหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) จากธนาคารเพื่อค้ำประกันการชำระเงินค่าใบอนุญาตในส่วนที่เหลือจำนวน 17,211,591,999 ล้านบาท ในวันนี้ ( 16 มีนาคม 2563 )

ทั้งนี้ การชำระค่าใบอนุญาต คลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็น 7 งวด ได้แก่ งวดที่ 1 จำนวน 10% และงวดที่ 2-7 จำนวนงวดละ 15% (ปีที่ 5-10) โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 50% ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ภายใน 1 ปี และครอบคลุม 50% ของประชากรในเมืองอัจริยะ (สมาร์ทซิตี้) ภายใน 4 ปี