บทพิสูจน์ฝีมือ “ดีอีเอส” เมื่อ “เอ็นที” ส่อแววแท้ง

บทพิสูจน์ฝีมือ “ดีอีเอส” เมื่อ “เอ็นที” ส่อแววแท้ง

หวังให้ 2 รัฐวิสาหกิจเป็นแขนขาของรัฐบาลในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ แต่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ก็ยังไม่เห็นความคืบหน้าว่าเป็นทิศทางไหน

158365943216 อาจเสร็จไม่ทันภายในเวลา

ด้าน พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสทฯ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2563 มีการประชุมคณะทำงานควบรวมกิจการชุดใหญ่ครั้งแรก ซึ่งประกอบด้วยคณะทำงาน 3 คณะ ได้แก่ ด้านกฎหมาย ด้านบุคลากร และด้านการเงิน โดยมีการมอบนโยบายแก่คณะทำงานชุดย่อย 13 คณะ เพื่อดำเนินการในส่วนต่างๆ ตามขั้นตอนการควบรวมกิจการ โดยจะรายงานต่อดีอีเอสและครม. ซึ่งมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 กำหนดให้ดำเนินการควบรวมกิจการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน

ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวได้ให้นโยบายร่วมกัน ในการพิจารณาภาพรวมและรูปแบบธุรกิจ โดยเริ่มจากรูปแบบธุรกิจที่ทั้งสองบริษัทมีเหมือนกัน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ก่อนโดยไม่ต้องรอการควบรวมกิจการเสร็จสิ้น เช่น ธุรกิจโมบายล์จะพิจารณาเรื่องการถือครองคลื่นความถี่ เป็นต้น ซึ่งนอกจากนี้ยังมีธุรกิจไฟเบอร์ออฟติก, ธุรกิจเคเบิลใต้น้ำ และธุรกิจคลาวด์ รวมทั้งการให้บริการด้านดิจิทัลในภาคสังคม ตามที่นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส ได้เสนอแนวทางไว้ ซึ่งจะมีการพิจารณาเป็นระยะ เพื่อให้รูปแบบธุรกิจหลังควบรวมกิจการตรงตามความต้องการของผู้บริโภค

“การควบรวมกิจการคืองานหลักของปี 2563 และด้วยขั้นตอนของกฎหมาย ทำให้การจัดทำแผนก่อนหน้านี้ประเมินว่า การควบรวมกิจการจะแล้วเสร็จใน 8 เดือน แต่เมื่อ ครม. มีมติเห็นชอบให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ก็จะพยายามเร่งดำเนินการตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งหากไม่สามารถดำเนินการได้ทันจะชี้แจงต่อ ครม. เพื่อทราบถึงเหตุผลต่อไป” พ.อ.สรรพชัย กล่าว

ผุดโมเดลจดทะเบียน

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้แหล่งข่าวกระทรวงดีอีเอส ระบุว่า เอ็นที ยังไม่สามารถจดทะเบียนบริษัทได้ เนื่องจากชื่อใหม่ที่ ครม. มีมติเห็นชอบขัดต่อพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 เนื่องจากทั้ง กสทฯ และทีโอที ต่างจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด แต่บริษัทใหม่ภายหลังควบรวมกิจการกลับไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด

แหล่งข่าวกล่าวว่า มี 2 แนวทางสำหรับแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้แก่ 1.จดทะเบียนเอ็นที เป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือ 2.ถอดบริษัทมหาชนจำกัด ออกจาก กสทฯและทีโอที ซึ่งทั้ง 2 แนวทางกระทรวงดีอีเอสต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เพื่อให้มีมติว่าจะเลือกใช้แนวทางใด

ดังนั้น แนวทางแรก คือให้เอ็นที เป็นบริษัทมหาชนจำกัด เนื่องจากคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) จะเป็นผู้พิจารณาโครงการต่างๆ แต่หากไม่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด การพิจารณาโครงการต้องผ่านสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน