“มะลิซ้อน” แอปพลิเคชันไทยเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน | ศิริวรรณ สืบนุการณ์  

“มะลิซ้อน” แอปพลิเคชันไทยเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน | ศิริวรรณ สืบนุการณ์  

สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน มีผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมาก ทําให้ได้ผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

เกษตรกรสูญเสียรายได้  “การทำประกันภัยพืชผล” ถือเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่ใช้เป็นเครื่องมือช่วยเหลือเกษตรกรในการจัดระบบการเงิน

 เพื่อคุ้มครองต้นทุนการผลิตเมื่อเกิดภัยพิบัติ และช่วยบรรเทาเยียวยาความเสียหายแก่เกษตรกร แต่อย่างไรก็ตาม การสำรวจและยืนยันความเสียหาย ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทาย จากขนาดพื้นที่การทำเกษตรที่กว้างขวาง และข้อจำกัดของบุคลากรในการลงสำรวจพื้นที่

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งเป้าที่จะทำให้สิ่งนี้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้นโดยพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแอปพลิเคชัน “มะลิซ้อน”

โดยทำงานร่วมกับพันธมิตรสร้างแพลตฟอร์มเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง จากภัยทางธรรมชาติและภัยจากศัตรูพืช ซึ่งนับวันจะยิ่งมีความแปรปรวนและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ หรือ climate change รวมถึงการรวบรวมข้อมูลพื้นที่ เพื่อสร้างพื้นฐานข้อมูลสำหรับการคาดการณ์และช่วยในการตัดสินใจ

“มะลิซ้อน” แอปพลิเคชันไทยเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน | ศิริวรรณ สืบนุการณ์  

นี่คือจุดเริ่มต้นของแอปพลิเคชัน “มะลิซ้อน” (https://farminsure.infuse.co.th/) ที่เน้นการสร้างแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์บริการบนคลาวด์ที่มีอินเทอร์เฟซแบบเปิดสำหรับเกษตรกร  ตลอดจนผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน

ที่มีวัตถุประสงค์พิเศษด้านการประกันภัยพืชผลการเกษตร ด้วยการรวมข้อมูลตำแหน่งแปลง การตรวจสอบสภาพพื้นที่ด้วยภาพถ่ายดาวเทียม และภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ

ตลอดจนการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูงมาช่วยในการประมวลผลภาพเพื่อยืนยัน ประเภทและปริมาณความเสียหาย ของแปลงเกษตรในแต่ละแปลง
    
“นอกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพและการดำเนินการของกระบวนการทางการเกษตรอีกด้วย ในปัจจุบัน เราไม่สามารถตรวจวัดและกำหนดสภาพน้ำในดินหรือคาดการณ์แมลงศัตรูพืชได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่”

“มะลิซ้อน” แอปพลิเคชันไทยเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน | ศิริวรรณ สืบนุการณ์  

รองศาสตราจารย์ธีรยุทธ โหรานนท์ หัวหน้าโครงการ “มะลิซ้อน” กล่าวในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินฟิวส์ จํากัด ร่วมถือหุ้นโดยบริษัท ทียูไอพี จำกัด (บริษัทที่จัดตั้งขึ้นผ่าน “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการจัดตั้งหรือร่วมกับบุคคลอื่นจัดตั้งนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด พ.ศ. 2562” http://www.sat.tu.ac.th/ipi/) 

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ เราวางแผนในการใช้ AI และ เทคโนโลยี IoT ในรูปแบบของเซ็นเซอร์ ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจระยะไกล สำหรับการสร้างแบบจำลองของกระบวนการทางการเกษตรบนเครือข่าย 5G ในพื้นที่การเกษตร ที่ได้รับการพัฒนาโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการของบริษัท 

“เหนือสิ่งอื่นใด เรากำลังพิจารณาการวิเคราะห์ภาพจากข้อมูลโดรน และกล้องหุ่นยนต์ เพื่อทำให้ผลลัพธ์มีความหมายต่อเกษตรกร” รองศาสตราจารย์ธีรยุทธกล่าว เมื่อรวมข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน เราจะได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่เพาะปลูกที่แทบไม่มีมาก่อน

เกษตรกรจะสามารถโต้ตอบกับ AI และถามคำถามได้ ตัวอย่างเช่น ติดตามการอ่านความชื้นในดินและสภาพอากาศในปัจจุบัน กับความสัมพันธ์ของโรคพืช

“มะลิซ้อน” แอปพลิเคชันไทยเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน | ศิริวรรณ สืบนุการณ์  

AI จะสามารถให้คำแนะนำสำหรับการดำเนินการและแสดงผลของสถานการณ์ต่างๆ แดชบอร์ดที่แสดงพื้นที่การเกษตรและสภาพดินในปัจจุบันจะแสดงบนมือถือหรือแท็บเล็ต

เมื่อคลิกที่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เกษตรกรจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เช่น สภาพการขาดน้ำ ตลอดจนคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ 

ข้อมูลและบริการจาก AI จะได้รับการกระจายโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ และมีการจัดตั้งระบบเก็บข้อมูล และการเรียนรู้แบบกระจาย โดยมีข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในพื้นที่

เกษตรกรจะสามารถแบ่งปันแบบจำลอง AI และถ่ายโอนไปยังแพลตฟอร์มอีกตัวที่ชื่อว่า “FarmFeed” เพื่อปรับปรุงอัลกอริทึมอย่างต่อเนื่อง แพลตฟอร์มนี้จะเปิดให้ผู้ให้บริการบุคคลที่สาม ตัวอย่างเช่น สตาร์ทอัพสามารถนำเสนอโซลูชั่น AI ที่เป็นนวัตกรรมของตนมาใช้งานร่วมบนแพลตฟอร์มได้

จุดมุ่งหมายที่ท้าทายคือการสร้างตัวแทนที่มีความหมายของต้นไม้ในสวนหรือพื้นที่เกษตรของตน เพื่อให้สามารถรู้ถึงจำนวนและระดับของความสมบูรณ์ สภาพของพืชแต่ละชนิด และสภาพดินโดยรอบ ในรูปแบบที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด

“เราประเมินข้อมูลในทุกๆวันจากเซ็นเซอร์และกิจกรรมของเกษตรกร ข้อมูลที่เรารวบรวมจะถูกรวมเข้ากับแผนที่ของประชากรต้นไม้ และแสดงในแผนที่ฟาร์ม เอกสารรายงานต่างๆ สามารถถูกสร้างขึ้นสำหรับเกษตรกรตามข้อมูลเหล่านี้” รองศาสตราจารย์ธีรยุทธ อธิบายการแผนงานในอนาคต

“มะลิซ้อน” แอปพลิเคชันไทยเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน | ศิริวรรณ สืบนุการณ์  

ปัจจุบัน “มะลิซ้อน” ถูกใช้งานเป็นปีที่ 3 สามารถเข้าช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติแต่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ประกาศภัยพิบัติหลายพันราย โดยช่วยลดขั้นตอนและลดระยะเวลาในการแจ้งรายงานความเสียหาย ซึ่งแอปพลิเคชัน จะใช้เก็บข้อมูลเกษตรกร รูปภาพความเสียหายจากเหตุภัยพิบัติ ตำแหน่ง ของสถานที่ประสบภัย 

ทั้งนี้ยังช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถตรวจสอบข้อมูลและดำเนินการช่วยเหลือเกษตรที่ประสบภัยได้อย่างครอบคลุม สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “มะลิซ้อน” ได้แล้ววันนี้ ทั้งในระบบ Android และ IOS ที่ https://farminsure.infuse.co.th/#Download_App