NIA ชี้ชัด ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ โอกาสเติบโตเทียบฟินเทค - อีคอมเมิร์ซ

NIA ชี้ชัด ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ โอกาสเติบโตเทียบฟินเทค - อีคอมเมิร์ซ

NIA เปิดโจทย์ใหญ่ “โลกและไทยกับความมั่นคงทางอาหาร” พร้อมปั้น ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ รับมือวิกฤตและสร้างโอกาสเติบโตที่ไม่แพ้ฟินเทค - อีคอมเมิร์ซ ส่องนวัตกรรมอาหารมาแรง “โปรตีนจากพืช - แพลนต์เบส” โซลูชันสร้างเสถียรภาพทางอาหารรับยุคอาหารปลอดภัย

วันประชากรโลกที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติ หรือ UN มีการคาดการณ์ว่าภายในสิ้นปีนี้ ทั่วโลกจะมีประชากรทั้งสิ้นราว 8 พันล้านคน ซึ่งการเติบโตที่เกิดขึ้นอาจนำมาซึ่งปัญหาความมั่นคงในหลากหลายประเด็น โดยเฉพาะ “ความมั่นคงทางอาหาร” ที่นับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของประชากรทั่วทุกมุมโลก

ทั้งนี้ มีรายงานโภชนาการและความมั่นคงทางอาหารแห่งสหประชาติ ฉบับปี 2565 รายงานว่าประชากรราว 800 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 10 ของประชากรโลกกำลังได้รับผลกระทบความหิวโหยจากทั้งจากวิกฤตการณ์โรคโควิด – 19 วิกฤตทางเศรษฐกิจ การขาดแคลนวัตถุดิบ และความปลอดภัยของอาหารที่เริ่มลดลง

จากประเด็นที่เกิดขึ้น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA หน่วยงานด้านการส่งเสริมนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศไทยจึงได้หาแนวทางสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ

ผ่านการสร้างสตาร์ทอัพ – นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทุกมิติ และตอกย้ำความเป็นฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์ และครัวของโลกที่ไมได้มีดีแค่อาหารอร่อยหรือผลิตปริมาณอาหารได้ตามความต้องการได้เพียงอย่างเดียว

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า พื้นที่ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะปลูกและผลิตอาหารออกมาได้หลายชนิด จึงมีความมั่นคงทางอาหารอยู่ในเกณฑ์สูง

NIA ชี้ชัด ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ โอกาสเติบโตเทียบฟินเทค - อีคอมเมิร์ซ

ต่างจากอีกหลายประเทศที่ต้องเผชิญภาวะการชาดแคลนอาหาร ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต ดัชนีความสุข และยังทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันในอีกหลายเรื่องลดน้อยลง

อย่างไรก็ตาม เมื่อมองถึงความมั่นคงทางอาหารของไทยและทั่วโลกในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทุกประเทศล้วนตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากข้อจำกัดการเดินทางทำให้อาหารบางชนิดที่เคยได้รับอยู่ในสภาวะขาดแคลน

หากคาดการณ์ถึงอนาคตก็จะพบว่า การที่ประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาวะโลกร้อน แรงงานด้านเกษตรลดลง สิ่งเหลือทิ้งที่เกิดจากการบริโภค ฯลฯ จะยิ่งตอกย้ำให้เห็นภาพของความมั่นคงทางอาหารที่จำเป็นต้องหาทางออกอย่างจริงจัง เพื่อให้ระดับความมั่นคงทางอาหารก้าวไปสู่ทิศทางที่ดียิ่งขึน

“ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ” จิ๊กซอว์สำคัญของความมั่นคงทางอาหาร และโอกาสการลงทุนที่ไม่แพ้ฟินเทคและอีคอมเมิร์ซ

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีวัตถุดิบเพียงพอต่อความต้องการ และมีระบบโลจิสติกส์ที่เข้มแข็ง จึงทำให้อุตสาหกรรมอาหารมีความโดดเด่นทั้งระดับประเทศและระดับโลก แต่มิติของการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารยังไม่มีความหลากหลาย

NIA ชี้ชัด ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ โอกาสเติบโตเทียบฟินเทค - อีคอมเมิร์ซ

เพราะตลาดส่วนใหญ่หยุดอยู่ในระดับเอสเอ็มอีที่เน้นบริโภคภายในประเทศ และขาดการวิจัยและพัฒนา ดังนั้น NIA จึงตั้งเป้าหมายที่จะบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของธุรกิจด้านเทคโนโลยีอาหาร หรือ FoodTech เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก

พร้อมแก้ปัญหา 9 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ โปรตีนทางเลือก กระบวนการผลิตอัจฉริยะ บรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต ส่วนผสมและอาหารใหม่ วัสดุชีวภาพและสารเคมี เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านอาหาร การตรวจสอบควบคุมคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และการบริการอิจฉริยะด้านอาหาร

ซึ่งในทุกการเกิดขึ้นของสตาร์ทอัพและนวัตกรรม มักจะทำให้ทุกคนได้เห็นสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าหรือโซลูชันที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงเป้า

นอกจากการปั้นสตาร์ทอัพเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารแล้ว NIA ยังมีเป้าหมายที่จะผลักดันกรุงเทพมหานครให้เป็น “ฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์” หรือ “ศูนย์กลางด้านนวัตกรรมอาหารของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และระดับโลก”

เป็นจุดพบปะของสตาร์ทอัพและนักลงทุนในพื้นที่แห่งเทคโนโลยีอาหารขั้นสูง (ดีพเทค) และเป็นแลนด์มาร์คแห่งการพัฒนาวัตถุดิบที่มีในประเทศให้เกิดมูลค่าสูงขึ้น

NIA ชี้ชัด ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ โอกาสเติบโตเทียบฟินเทค - อีคอมเมิร์ซ

ทั้งนี้ หากมองภาพรวมด้านการลงทุนของสตาร์ทอัพทั่วโลกจะพบว่าธุรกิจที่เป็นดีพเทคด้านอาหารและเกษตรยังเติบโตต่อเนื่อง ไม่แพ้ธุรกิจกลุ่มอี-คอมเมอร์และฟินเทค ซึ่งประเทศไทยมีบริษัทและกลุ่มธุรกิจด้านอาหารที่มีห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง

คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 ตลาดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอาหาร หรือ FoodTech จะมีมูลค่าสูงถึง 7.76 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากเป้าหมายในการผลักดันกรุงเทพมหานครให้เป็นฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์ผ่านโครงการสเปซเอฟ (Space – F) ที่ดำเนินมากว่า 3 ปี เกิดฟู้ดเทคสตาร์ทอัพแล้วกว่า 50 ราย ซึ่งอยู่ในช่วงการเจริญเติบโต และได้รับการลงทุนจากธุรกิจเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มโปรตีนทดแทน/โปรตีนทางเลือก

“แพลนต์เบส” ทางเลือกใหม่สายคลีน

แพลนต์เบสเป็นการบริโภคที่โฟกัสพืชเป็นหลัก ไม่ใช่แค่ผลไม้หรือผัก แต่รวมถึงถั่ว เมล็ดพันธุ์ น้ำมัน และธัญพืช ซึ่งตอบโจทย์การเลือกบริโภคอาหารของคนยุคใหม่ เพราะมีประโยชน์ทั้งในแง่การควบคุมน้ำหนัก ลดการอักเสบของร่างกาย และยังลดความเสี่ยงโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย

NIA ชี้ชัด ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ โอกาสเติบโตเทียบฟินเทค - อีคอมเมิร์ซ

ทำให้ผู้ประกอบการทั้งกลุ่มร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ และซูเปอร์สโตร์ มีการเพิ่มพื้นที่วางจำหน่ายเทียบเท่ากับการจำหน่ายเนื้อสัตว์จริง รวมถึงพัฒนาเมนูที่มีวัตถุดิบเป็นแพลนต์เบสเพิ่มขึ้น เช่น สเต็ก และ แฮมเบอร์เกอร์ที่เริ่มต้นจากการผลิตของสตาร์ทอัพรายเล็ก จนธุรกิจขนาดใหญ่หันมาทำตามอีกหลากหลายเมนู เรียกได้ว่าเป็นทางเลือกใหม่ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนเป็นอาหารเพื่อดูแลสุขภาพมากขึ้น

“มอร์มีท” โปรตีนจากพืชที่พร้อมลดความท้าทาย

วรกันต์ ธนโชติวรพงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง MoreMeat กล่าวว่า “แพลนต์เบส” ไม่ใช่เทรนด์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น เพราะในไทยมีนวัตกรรมอาหารจากพืชมานานแล้ว แรกเริ่มเรียกว่าโปรตีนเกษตร เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วเหลืองที่มีโปรตีนสูง แต่ปรุงอาหารยาก

จึงมีการพัฒนาเปลี่ยนมาใช้แป้งสาลีแปรรูปแต่งสีปรุงรสให้เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ จนถึงปัจจุบันที่เรียกว่า “แพลนต์เบส มีท” นวัตกรรมอาหารที่ดัดแปลงโปรตีนจากพืชมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโภชนาการหลากหลาย เช่น วิตามินบี 12 กรดอะมิโน ธาตุเหล็ก รวมถึงแคลเซียมทัดเทียมกับเนื้อสัตว์

ซึ่งแพลนต์เบสนอกจากการดึงโปรตีนมาใช้ ยังมีนวัตกรรมการให้ความเย็นฉับพลันเพื่อน็อคคุณค่าทางโภชนาการอาหารให้มีคุณภาพสูงสุดตั้งแต่โรงงานที่ผลิตจนถึงมือผู้บริโภค ทำให้ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาสนใจแพลนต์เบส มีทมากขึ้น เพราะสามารถใช้ปรุงอาหารได้หลากหลาย ทานแล้วอิ่ม และมีคุณค่าทางโภชนาการครบหมู่

NIA ชี้ชัด ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ โอกาสเติบโตเทียบฟินเทค - อีคอมเมิร์ซ

แพลนต์เบสไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่จะเป็นสิ่งที่มีตั้งแต่นี้เป็นต้นไปเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ปัจจุบันคนสามารถเลือกทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ และมีโปรตีนจากพืชเป็นตัวเลือกเพิ่มขึ้นได้

ดังนั้น ในปี 2022 เวลาสอนเด็กรุ่นใหม่ก็ต้องบอกว่าโปรตีนได้จากเนื้อ นม ไข่ และพืช ซึ่งไม่ใช่การช่วงชิงมาร์เก็ตแชร์ แต่ผู้ผลิตต้องการทำแพลนต์เบสให้มีความหลากหลายตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น บริโภคง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ราคาจับต้องได้มากขึ้น

สำคัญที่สุดคือการให้ความรู้ผู้บริโภคและความโปร่งใสของตัววัตถุดิบที่ใช้ทำแพลนต์เบส มีท ซึ่งผลิตภัณฑ์ของ MoreMeat จะผ่านกระบวนการแปรรูปต่ำและมีวัตถุเจือปนในอาหารต่ำที่สุดในตลาด ทำให้กลุ่มคนที่บริโภคอาหารเจ ฮาลาล หรืออาหารสุขภาพสามารถทานผลิตภัณฑ์ของเราได้

หากพูดถึงเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร วรกันต์ มองว่าผลิตภัณฑ์ MoreMeat สามารถตอบโจทย์องค์ประกอบได้ครบทุกประเด็น ทั้งด้านการได้รับอาหารที่เพียงพอ เพราะผลิตจากพืชและวัตถุดิบที่หาได้ในประเทศถึง 80% ด้านการเข้าถึงอาหารได้ง่าย ราคาจำหน่ายเป็นธรรม ช่องทางการซื้อครอบคลุม

ด้านการใช้ประโยชน์จากอาหาร มีคุณค่าทางอาหารที่ดีและปลอดภัย การผลิตถูกสุขอนามัย มีมาตรฐาน อย. รวมถึงด้านของการมีเสถียรภาพด้านอาหาร เนื่องจากเห็ดแครงเป็นวัตถุดิบที่ปลูกในประเทศได้ มีผลผลิตทุก 2 สัปดาห์

ไม่มีตัวแปรเรื่องอากาศ สภาพแวดล้อมทางภูมิภาคต่างๆ เพราะปัจจุบันใช้การปลูกภายในโรงเรือนแทนการปลูกตามธรรมชาติ จึงสามารถควบคุมมาตรฐานและปลูกได้ตลอดปี ทำให้ More Meat สามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารได้

ต่างจากเนื้อสัตว์ที่มีปัญหาหลายด้าน ทั้งความต้องการของผู้บริโภคที่มากขึ้นสวนทางพื้นที่ทำปศุสัตว์ที่มีจำกัด ทำให้เสถียรภาพทางอาหารของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ลดลง แพลนต์เบสฟู้ดจะเข้ามาตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหารได้อย่างคุ้มค่าทั้งปัจจุบันและในอนาคต

“ผลิตภัณฑ์ MoreMeat จะโฟกัสที่อาหารพร้อมปรุงที่ใช้งานง่าย เก็บรักษาง่าย เพราะอยากให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ของการทำอาหาร ผัด ต้ม ทำให้สีสันของการบริโภคอาหารมีความสนุกมากขึ้น

หลังจากนี้เตรียมต่อยอดนำนวัตกรรมการผลิตอาหารรูปแบบใหม่เข้ามาพัฒนาสินค้าจากพืชท้องถิ่นประเภทข้าว เพื่อพัฒนาผิวสัมผัสให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคและร้านอาหารมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการกระจายพื้นที่ส่งเสริมด้านเกษตรกรอีกด้วย”

NIA ชี้ชัด ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ โอกาสเติบโตเทียบฟินเทค - อีคอมเมิร์ซ

“อาหารปลอดภัย สร้างสังคมสูงวัยใส่ใจสุขภาพ”

ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน ที่ปรึกษาคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ และอดีตผู้อำนวยการสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่าจากการทำวิจัยด้านสุขภาพ อนามัย ของประชากรไทย พบปัญหาที่น่าเป็นห่วงในเรื่องของอาหารที่มีการเจือปนสารอันตราย

เช่น สารเร่งเนื้อแดง ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว สารกันรากันบูด ยาฆ่าแมลง รวมถึงการใช้น้ำมันทอดซ้ำ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประชากรไทยป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งสูงเป็นอันดับหนึ่ง

ดังนั้น หากพูดถึงความมั่นคงทางอาหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการหรือนวัตกรรมที่ลดการใช้สารอันตราย เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรไทยที่เป็นวัยสูงอายุให้มีอายุยืนขึ้นและปราศจากภาวะทุพพลภาพด้วยการดูแลเรื่องของอาหารและสุขภาพอนามัยควบคู่กันไปด้วย

“ประชากรในแถบยุโรปหรืออาเซียนตัวเลขประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ส่วนไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์แล้วประมาณ 20% ดังนั้น การทำให้ประชากรมีสุขภาพดีทุกส่วนต้องเชื่อมโยงกับการมีอาหารที่ดีและเพียงพอ

การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในหลายด้าน อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไข่ ปรับราคาสูงขึ้นมาก อาจจะต้องหาผักผลไม้ หรืออาหารทางเลือกที่มีสารอาหารครบมาทดแทน ถ้าแก้ได้จะทำให้เกิดความมั่นคงทางสุขภาพ และเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพกายและสมองที่ดีทุกส่วน”.