ผ่าแนวคิดกูรูชั้นนำ!! ต้องแบบไหน ถึงเรียกว่า "เมืองอัจฉริยะ"

ผ่าแนวคิดกูรูชั้นนำ!! ต้องแบบไหน ถึงเรียกว่า "เมืองอัจฉริยะ"

เราคุ้นชินกับคำว่า “เมืองอัจฉริยะ” แต่เราจะแยกมันได้อย่างไร ระหว่างความเป็นกระแส กับความเป็นจริง? การผสมผสานเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย คือ รากฐานสำคัญ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในเมือง ที่เน้นการบริการให้เกิดความยั่งยืน และต้องเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของคนเมืองให้ดีขึ้น!!

เพื่อไขข้อข้องใจเหล่านี้ที่ว่าด้วยเรื่องเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City (และสำหรับผู้ที่สงสัยว่าเราจะอยู่ร่วมกับสิ่งนี้ได้เมื่อไหร่ และที่ไหน) คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งสภาหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (AMCHAM) ดึงผู้เชี่ยวชาญระดับสูงมาแชร์ไอเดียถึงความคืบหน้าเรื่องการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

"แมทธิว เพอร์คินส์" Economic Affairs Officer from United Nations ESCAP ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองใหญ่หลายเมือง ทั่วโลก พบว่ามีความท้าทายในมุมของเทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น ขนาดแบนด์วิธ นำไปสู่การตั้งคำถามที่น่าสนใจว่าเมืองของคุณมีเครือข่ายที่ให้ความเร็วพอที่จะเป็น "อัจฉริยะ" หรือไม่ ประสิทธิภาพของเครือข่าย (อัตรา/ปริมาณการรับ ส่งข้อมูล ตลอดจนความหน่วง) เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ต้องพิจารณา เนื่องจากอาจส่งผลต่อความสามารถในการสื่อสารข้อมูล และการใช้แอปพลิเคชันเมืองอัจฉริยะ 

ผ่าแนวคิดกูรูชั้นนำ!! ต้องแบบไหน ถึงเรียกว่า \"เมืองอัจฉริยะ\"

การเปิดตัวแนวคิดเมืองอัจฉริยะใดๆ ควรมีส่วนช่วยลดช่องว่างทางดิจิทัล ดังนั้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายจึงควรเป็นหนึ่งในข้อกำหนดพื้นฐานในการสร้างโอกาสให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

เน้นการตอบคำถามในแง่ที่ว่า  อีกนานแค่ไหนจึงจะได้ใช้ชีวิตในเมืองอัจฉริยะ 3 ปัจจัยหลักที่จะทำให้การสร้างเมืองอัจฉริยะประสบความสำเร็จ คือ ต้องเป็นจริงได้ในเชิงพาณิชย์, เน้นที่คนเป็นจุดศูนย์กลาง และเน้นความสามารถในการขยายขนาดทางเทคโนโลยีได้  รูปแบบการให้บริการจะรวมไปถึงการบริหารจัดการโครงการ รูปแบบข้อมูลอาคาร (BIM), ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ผสมผสานทั้งทางดิจิทัล และทางกายภาพ และใช้สภาพแวดล้อม 'Digital Twin' เพื่อสร้างและทดสอบสิ่งต่างๆ ที่จะส่งมอบ 

การสร้างเมืองอัจฉริยะนั้น มีความท้าทายหลายประการ เช่น ความคาดหวังของผู้อาศัยทั้งในบ้านและอาคารพาณิชย์ สำหรับการออกแบบ ตกแต่งภายใน ที่ทันสมัยที่รวมเทคโนโลยีใหม่เข้าด้วยกัน

ส่วนวิธีการแก้ปัญหาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวไว้หลายวิธี และในความเห็นของเขานั้น เขามองว่า “อนาคตได้มาถึงแล้ว มันแค่ยังไปไม่ทั่วถึง”

"แอนโธนี่ อรุนเดลล์" รองประธานอาวุโส หัวหน้าสมาร์ทซิตี้ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ ประเทศไทย กล่าวถึงกรณีศึกษาของ โครงการ One Bangkok ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรขนาดใหญ่ที่สุดใจกลางเมือง กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่รวมกว่า 1.83 ล้านตารางเมตร   โดยค่านิยมหลักของ โครงการ One Bangkok เน้นการให้ความสำคัญกับผู้คน ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้ชีวิตในเมืองอัจฉริยะ (smart-city living) เป็นหลัก เพื่อสร้างวิถีในเมืองที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ 

พร้อมมอบประสบการณ์พิเศษและสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับประเทศไทย ผ่านบริการต่างๆที่สร้างสรรค์ค่านิยมให้แก่ผู้มาใช้บริการทั้งภายในโครงการ วัน แบงคอก ตลอดจนชุมชนโดยรอบ ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างประสบการณ์สุดพิเศษแก่ผู้เข้ามาใช้บริการทั้งในประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความยั่งยืน การออกแบบเมืองอัจฉริยะแบบบูรณาการที่รวมถึงด้าน สุขอนามัย พลังงานอัจฉริยะ ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ การวิเคราะห์ข้อมูล หุ่นยนต์ และบล็อกเชน 

แอนโทนี่ เชื่อว่าเมืองไม่สามารถทำให้เป็นเมืองอัจฉริยะได้ หากไม่คำนึงถึงหลักการออกแบบที่ยั่งยืน ในขณะเดียวกันเมืองจะออกแบบให้ยั่งยืนไม่ได้ หากขาดการนำระบบเทคโนโลยีที่ชาญฉลาดมาประยุกต์ใช้จริงกับชีวิตประจำวัน

ด้าน "ธิติ วัชรสินธพชัย" ผู้อำนวยการโครงการ สมาร์ท พรอพเพอร์ตี้  ทีซีซี เทคโนโลยี อธิบายกว้างๆถึงโอกาสของเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย  ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยมีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่ UN Sustainable Development Goals (UN-SDG) และแบบจำลองBCG;ซึ่งเป็นการผสมผสานของการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (bio) เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular) และเศรษฐกิจสีเขียว (green)  แนวคิดของเมืองอัจฉริยะได้ถูกวางไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ของประเทศไทย ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า ประเทศไทยได้วางเป้าหมายที่จะเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้หรือเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

ธิติ แนะว่าไทยยังมีช่องว่างอีกมากสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในบริบทของสมาร์ทซิตี้ ประเทศไทย ภายใต้องค์ประกอบสำคัญ 7 ประการ ได้แก่

-สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (ที่จำเป็นอย่างยิ่ง)

-พลังงานอัจฉริยะ

-การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ

- เศรษฐกิจอัจฉริยะ

-การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ

-ผู้คนที่ชาญฉลาดและการดำรงชีวิตอัจฉริยะ