ถอดแนวคิดนโยบายช่วยเหลือโควิด-19 ฉบับ "บีจี" ที่เน้น "ให้ใจ" ไม่น้อยไปกว่าผลกำไร

ถอดแนวคิดนโยบายช่วยเหลือโควิด-19 ฉบับ "บีจี" ที่เน้น "ให้ใจ" ไม่น้อยไปกว่าผลกำไร

เบื้องหลัง "กลยุทธ์องค์กร" ฉบับ "บีจี" ถอดสูตรแนวคิดนโยบายช่วยเหลือด้านโควิด-19 ตอกย้ำความเป็นองค์กรยุคใหม่ที่เน้น "ให้ใจ" ไม่น้อยไปกว่าผลกำไร เพราะเชื่อว่าธุรกิจกับสังคมต้องเติบโต และเดินหน้าฝ่าวิกฤติไปด้วยกัน

เกือบ 2 ปีที่ผ่านมา "โควิด-19" ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของทุกคนอย่างมหาศาล นับว่าเป็นช่วงเวลาที่หนักหนาที่สุดสำหรับทุกๆ คน ในขณะเดียวกันโควิดก็ทำให้เราได้เห็นถึงพลังแห่งความร่วมมือจากทุกฝ่าย หลากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ต่างระดมทุกสรรพกำลังเท่าที่ตนเองพอจะทำได้ มุ่งมั่นประคับประคองกันและกันภายใต้สถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่นี้ ให้สามารถก้าวผ่านทุกอย่างไปด้วยกัน

หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจคือ บทบาทขององค์กรเอกชนต่างๆ ที่ต่างทุ่มเททรัพยากรที่มีเพื่อช่วยเหลือสังคมอย่างเต็มความสามารถ เน้นการ "ให้ใจ" กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อยกว่าการเติบโตทางผลกำไร และหนึ่งในองค์กรที่เดินหน้าในภารกิจเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่องด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนมาโดยตลอดก็คือ บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ บีจี (BG) บริษัทที่คุ้นเคยกันในบทบาทผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แก้ว และการเป็นเจ้าของทีมฟุตบอล บีจี ปทุม ยูไนเต็ด

ถอดแนวคิดนโยบายช่วยเหลือโควิด-19 ฉบับ \"บีจี\" ที่เน้น \"ให้ใจ\" ไม่น้อยไปกว่าผลกำไร

บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจบรรจุภัณฑ์ครบวงจร ที่อยู่คู่ประเทศไทยมากว่า 40 ปี มีหัวเรือใหญ่คือ ปวิณ ภิรมย์ภักดี ด้วยวิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นถึงโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ บีจี จึงเดินหน้าขยายและต่อยอดธุรกิจภายใต้การบริหารของบริษัทในเครือ อาทิ ธุรกิจพลังงานทดแทน, ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง, ธุรกิจกีฬา เป็นต้น เพื่อรองรับการเติบโตตามเป้าหมายในอนาคต

นอกจากนี้ บีจี ยังมุ่งมั่นมีส่วนร่วมกับการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในหลากหลายด้าน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม จะสามารถเติบโตเคียงข้างบีจีได้อย่างยั่งยืน

ท่ามกลางความท้าทายจากวิกฤติการระบาดของโควิด-19 บีจี ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ Helping Hands For Heroes ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล และหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ด่านหน้าที่ได้เสียสละดูแลรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตรง โดยการส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เพียงพอในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

ถอดแนวคิดนโยบายช่วยเหลือโควิด-19 ฉบับ \"บีจี\" ที่เน้น \"ให้ใจ\" ไม่น้อยไปกว่าผลกำไร

ในปี 2564 ที่ผ่านมา บีจี ได้สนับสนุนโรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านโครงการ Helping Hands For Heroes ไปแล้ว 13 แห่ง รวมมูลค่ากว่า 12,391,647 บาท ได้แก่

  1. โรงพยาบาลศิริราช
  2. โรงพยาบาลราชวิถี
  3. โรงพยาบาลรามาธิบดี
  4. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
  5. โรงพยาบาลเด็ก
  6. โรงพยาบาลกลาง
  7. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์
  8. โรงพยาบาลปทุมธานี
  9. โรงพยาบาลลำลูกกา
  10. โรงพยาบาลธัญบุรี
  11. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
  12. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  13. ศูนย์พักคอยมูลนิธิมาดามแป้ง

นอกจากนั้น ยังร่วมผลิตและส่งมอบเตียงกระดาษให้แก่โรงพยาบาลสนามในพื้นที่ใกล้เคียงโรงงานทั้ง 6 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, นครปฐม, ปราจีนบุรี, ขอนแก่น และราชบุรี

และในปีนี้เมื่อเดือน มีนาคม 2565 บีจี ได้บริจาคอาหารสำเร็จรูปพร้อมทานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ กทม. และโรงพยาบาลสนาม วัดศรีสุดาราม จำนวน 300 ชุด และยังบริจาคให้กับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วย ณ ศูนย์พักคอยเราต้องรอด จำนวน 300 ชุด เพื่อสนับสนุนการทำงาน และเป็นกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ถอดแนวคิดนโยบายช่วยเหลือโควิด-19 ฉบับ \"บีจี\" ที่เน้น \"ให้ใจ\" ไม่น้อยไปกว่าผลกำไร

เช่นเดียวกับ โครงการดีๆ ที่เกิดจากความตั้งใจช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ที่ขาดรายได้และผู้ได้รับผลกระทบในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในโครงการ Helping Hands For Thai โดยทาง บีจี ได้ดำเนินการส่งมอบถุงยังชีพรวมถึงของใช้อุปโภค บริโภค ให้แก่หน่วยงานที่ดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร, มูลนิธิกระจกเงา, มูลนิธิรักษ์ไทย, มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม, สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต, โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา, สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญา (บ้านเฟื่องฟ้า) บ้านเด็กธรรมรักษ์ และสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี มูลค่ารวม 5,438,303 บาท

จากบทบาทดังกล่าวของ บีจี เป็นการตอกย้ำได้อย่างดี ถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรยุคใหม่ที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าการสร้างผลกำไรทางธุรกิจ เพื่อประคับประคองและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเดินหน้าไปด้วยกันได้อย่างมั่นคง ทั้งในสถานการณ์ปกติและวิกฤติ เพราะหากทุกฝ่ายมีกำลังที่จะยืนหยัดอย่างแข็งแกร่ง ผลลัพธ์ที่ดีก็ย่อมจะสะท้อนกลับสู่องค์กรเช่นเดียวกัน