"นิด้า" ร่วมกับ "ธนาคารออมสิน" ชูภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมศักยภาพชุมชน ปี 2565

"นิด้า" ร่วมกับ "ธนาคารออมสิน" ชูภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมศักยภาพชุมชน ปี 2565

นิด้า ร่วมกับ ธนาคารออมสิน ชูภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มองค์กรชุมชน ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2565

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ร่วมกับ ธนาคารออมสิน ดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มองค์กรชุมชน ประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP, กลุ่มผู้ประกอบการโฮมสเตย์, กลุ่มท่องเที่ยวชุมชน, กลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชน ทั้งในด้านการบริหารจัดการ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาดการค้า สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สร้างการเรียนรู้ และการทำงานร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกลุ่มองค์กร ชุมชน สถาบันการศึกษา และธนาคารออมสิน ตลอดจนการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม และการต่อยอดองค์ความรู้ปัญญาท้องถิ่น ที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพตนเองเมื่อออกสู่ตลาดแรงงาน อันนำไปสู่การสร้างความมั่นคงของรากฐานสังคมจากพื้นฐานความเข้าใจของคนรุ่นใหม่

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมกับ ธนาคารออมสิน ได้จัดกิจกรรมการนำเสนอโครงการย่อยขึ้นในรูปแบบ Hybrid ผ่านระบบออนไลน์และออนกราวน์ ณ ห้อง 3001 อาคารนวมินทราธิราช สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

การนำเสนอครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มเทียนต่อเทียน ชุมชนพิบูลทรัพย์ 17 อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร. อนุกัลยณ์ จีระลักษณกุล
  2. ชุมชนพัฒนาบ้านแบนใหญ่ (ไข่เค็มสมุนไพร) อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.กนกกานต์ แก้วนุช
  3. ชุมชนดอกไม้กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ขนมไทยโบราณ อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.พัทรียา หลักเพ็ชร
  4. ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองบ้านสุมาลี อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.วรรษิดา บุญญาณเมธาพร
  5. ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านครูแดง อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.แสงแข บุญศิริ

ภายในงานได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและชุมชนสัมพันธ์ (NIDA) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ผศ.ดร.แตงอ่อน มั่นใจตน รองประธานคณะทำงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2565 กล่าว รายงานความเป็นมาของโครงการ พร้อมด้วย ศ.ดร.วิสาขา ภู่จินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ (NIDA) และทางธนาคารออมสิน ประกอบด้วย นายสมพงษ์ อ่ำบำรุง ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตคลองจั่น, นายณัฐวุฒิ ธรรมตานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย และองค์กรชุมชน, นางสาวชลียา สระบัว ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน และสิบเอกธีระศักดิ์ ทองทศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 2 หน่วยสถาบันการเงินชุมชน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการรับฟังการนำเสนอกลุ่มย่อย พร้อมทั้งร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนา เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อขุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

\"นิด้า\" ร่วมกับ \"ธนาคารออมสิน\" ชูภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมศักยภาพชุมชน ปี 2565 \"นิด้า\" ร่วมกับ \"ธนาคารออมสิน\" ชูภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมศักยภาพชุมชน ปี 2565

\"นิด้า\" ร่วมกับ \"ธนาคารออมสิน\" ชูภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมศักยภาพชุมชน ปี 2565 \"นิด้า\" ร่วมกับ \"ธนาคารออมสิน\" ชูภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมศักยภาพชุมชน ปี 2565 \"นิด้า\" ร่วมกับ \"ธนาคารออมสิน\" ชูภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมศักยภาพชุมชน ปี 2565