ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

"ศบค." ห่วง 3 จังหวัด "อัตราครองเตียง" ระดับ 2-3 เกิน 50% ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ชลบุรี ขณะที่ ป่วยโควิดติดเชื้อรายใหม่ 22,130 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 69 ราย ในจำนวนนี้กว่า 61 ราย หรือกว่า 89% ฉีด "วัคซีนโควิด-19" ไม่ครบ ยังไม่รับเข็มกระตุ้น สูงวัยกว่า 2 ล้านคนยังไม่ได้รับวัคซีน

วันนี้ (14 มี.ค. 65) ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริการสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. รายงาน “สถานการณ์โควิด-19” โดยหากดูทิศทางของทั่วโลก ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน ๆ หลายประเทศตัวเลขผู้ติดเชื้อในแถบยุโรป สหรัฐ ค่อนข้างลดลงชัดเจน ขณะที่ เอเชีย เกาหลีใต้ เวียดนาม ญี่ปุ่น และไทย ยังทรงๆ ในส่วนของ เกาหลีใต้ ตัวเลขขึ้นไปค่อนข้างสูง รายสัปดาห์กว่า 2 ล้านราย

 

ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

 

หากดูตัวเลขประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ จากการตรวจ PCR 22,130 ราย แบ่งเป็น

  • ติดเชื้อในประเทศ 22,034 ราย
  • ติดเชื้อจากต่างประเทศ 27 ราย
  • ในเรือนจำ 69 ราย
  • จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 69 ราย

ขณะที่ ตัวเลขผู้ป่วยจากการตรวจ ATK อยู่ที่ 15,650 ราย เสียชีวิตสะสม 23,778 ราย ขณะที่ผู้ที่หายป่วยกลับบ้านสูงกว่าผู้ที่ป่วยใหม่เล็กน้อยอยู่ที่ 23,508 ราย ผู้ที่ยังคงรับการรักษาในระบบ 225,889 ราย ในจำนวนนี้อาการหนัก 1353 ราย จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 453 ราย

 

"ตลอดสัปดาห์ พบว่า ผู้เสียชีวิตลดลงอยู่บ้านแต่ยังต้องเฝ้าติดตามใกล้ชิดเพราะปลายกราฟมีการสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ผู้ป่วยปอดอักเสบ และการติดเชื้อรายวันยังค่อนข้างเป็นเส้นแนวนอน"

 

ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

ห่วง 3 จังหวัด อัตราครองเตียงเกิน 50%

สำหรับ ผู้ป่วยปอดอักเสบ ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใน รพ. กทม. ยังเป็นอันดับ 1 จำนวน 191 ราย ตามมาด้วย สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช นครราชสีมา นนทบุรี ขณะเดียวกัน แม้ตัวเลขจังหวัดเหล่านี้จะมีการติดเชื้อค่อนข้างสูง แต่เนื่องจาก โอมิครอน ทำให้ 90% ของผู้ติดเชื้อมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลย ทำให้มีจำนวนน้อยที่จะเป็นต้องเข้ารับการรักษาใน รพ.

 

"แต่สิ่งที่ ศบค. เป็นห่วง คือ 3 จังหวัด มีการใช้เตียงเกิน 50% ได้แก่ สุราษฎร์ธานี 51.2% ภูเก็ต 57.8% และ ชลบุรี 50.6% ดังนั้น เป็นตัวเลขที่ สธ. ใช้เป็นมาตรฐาน เราไม่สามารถดูแค่จำนวนผู้ติดเชื้อ เพราะ 90% อาจจะมีอาการน้อย แต่เราต้องมั่นใจว่าผู้ติดเชื้อเหล่านี้ต้องปลอดภัย จะต้องลดจำนวนผู้มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต" ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าว 

 

ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

 

เสียชีวิต 61 รายฉีดวัคซีนไม่ครบ ยังไม่รับเข็มกระตุ้น

 

สำหรับ การเสียชีวิตวันนี้ 69 ราย โดยในจำนวนนี้กว่า 61 ราย คิดเป็น 89% ยังได้รับวัคซีนไม่ครบโดส ยังไม่ได้กระตุ้นภูมิอย่างมีประสิทธิภาพ และ 26 รายไม่ได้รับวัคซีนเลยแม้แต่เข็มที่ 1 และ มี 8 ราย ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็ม 3 แต่พบว่าเป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว เป็นสิ่งสำคัญ ที่ สธ. เป็นห่วง

 

ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

 

สูงวัยกว่า 2 ล้านคน ยังไม่ได้รับวัคซีน

 

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวต่อไปว่า หากสำรวจการให้บริการวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายหลักในปี 2565 กลุ่มประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป้าหมาย 12,704,543 ราย ตอนนี้ได้รับวัคซีนเข็ม 1 แล้ว 83.3% เข็ม 2 ครอบคลุม 78.8% และ เข็ม 3 ครอบคลุมค่อนข้างต่ำ 32% (ข้อมูล ณ วันที่ 13 มี.ค. 65)

 

ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

 

"หมายความว่ายังมีผู้สูงอายุกว่า 2 ล้านคน ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนฉีดวัคซีน บางท่านยังไม่ได้รับแม้แต่เข็ม 1 และใครที่ได้รับเข็ม 3 เกิน 3 เดือนไปแล้ว ขอให้ลูกหลาน เพื่อนบ้าน ญาติ หน่วยงานภาครัฐ ในพื้นที่ ช่วยกันค้นหากลุ่มนี้ให้ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วย"

 

ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

ไทยฉีดวัคซีนเข็ม 3 ครอบคลุม 31.3%

 

จำนวนการได้รับ "วัคซีนโควิด-19" สะสม (28 ก.พ. 2564 - 13 มี.ค. 2565) รวม 126,158,379 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น

  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 54,415,190 ราย (78.2%)
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 49,990,678 ราย (71.9%)
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 21,752,511 ราย (31.3%)

 

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 13 มีนาคม 2565

ยอดฉีดทั่วประเทศ 71,155 โดส

  • เข็มที่ 1 : 28,868 ราย
  • เข็มที่ 2 : 5,984 ราย
  • เข็มที่ 3 : 36,303 ราย

 

ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

 

กทม. ยังอยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้

 

ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อสูงสุดรายวัน 10 จังหวัด มากที่สุด คือ กทม. อยู่ที่ 3,060 ราย แต่หากเทียบกับปีที่ผ่านมา กทม. เคยขึ้นไปอยู่ที่ 4,000 กว่าราย ดังนั้น ตอนนี้ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ดีพอสมควร และ หากเทียบจะเห็นว่า 10 จังหวัดติดเชื้อรายใหม่ จะมีการรายงานผู้ที่เข้ารับการรักษาในระบบบริการด้วย

 

ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

 

ติดเชื้อสูง แต่ปอดอักเสบ น้อยกว่าปีก่อน

หากเทียบในปีที่ผ่านมา การรายงานของ “กรมควบคุมโรค” ติดตามการติดเชื้อตั้งแต่ปีที่ผ่านมา การรายงานนับเป็นรายสัปดาห์ ในช่วงประมาณ ส.ค. 64 เทียบกับ ปัจจุบัน มี.ค. 65 เป็นสัปดาห์ที่ 9 การติดเชื้อพอๆ กับ ส.ค. ปีที่ผ่านมา โดยวันที่ 14 ส.ค. 64 สัปดาห์ที่ 32 มีผู้ติดเชื้อ 139,235 ราย ใน 1 สัปดาห์ เทียบกับ มี.ค. สัปดาห์ที่ 9 ของปีนี้ มีผู้ติดเชื้อ 151,535 ราย ตัวเลขใกล้เคียงกัน

 

สิ่งที่สำคัญ คือ ในวันที่ 13 ส.ค. 64 มีผู้ป่วยติดเชื้อสูงสุด 23,418 ราย ปอดอักเสบสูงสุด 16 ส.ค. 64 จำนวน 5,626 ราย แต่ขณะที่ เดือน มี.ค. 65 ผู้ติดเชื้อวันนี้ (14 มี.ค. 65) จำนวน 22,130 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบสูงสุด 26 ก.พ. 65 จำนวน 965 ราย

 

โดยสรุปแม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ในช่วงเวลาสูงสุดของ ส.ค. 64 กับ มี.ค.65 ใกล้เคียงกัน แต่โดยธรรมชาติของเชื้อตอนนี้เป็นโอมิครอน พบว่าตอนนี้ ผู้ที่ครองเตียงระดับ 2-3 ปีก่อนประมาณ 5,000 กว่าราย ขณะที่ปีนี้อยู่ที่ 900 -1,000 ราย สิ่งที่ ศบค. ต้องพิจารณาควบคู่กัน คือ ศักยภาพของการเข้าสู่ระบบการรักษา อย่างไรก็ตาม ยังต้องเน้นย้ำให้ประชาชนเข้าสู่ระบบการรักษาให้เร็ว

 

ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

 

ขอให้เข้าระบบรักษาโดยเร็ว

 

ทั้งนี้ หากดูตัวเลขข้อมูลผู้เสียชีวิต ค่ามัธยฐาน จากวันที่พบว่าผู้ติดเชื้อ จนเสียชีวิตอยู่ที่ 5 วัน หมายความว่า มีผู้เสียชีวิตกว่า 15 ราย ที่ได้รับรู้ว่ามีการติดเชื้อล่าช้าและเข้าสู่ระบบการรักษาล่าช้า บางรายรับเชื้อ และไม่ทราบว่าป่วย จนกระทั่งเข้าสู่ระบบการรักษา 1-3 วัน ก็เสียชีวิตมีมากถึง 15 ราย และเมื่อมาถึง รพ. ในภาวะที่อาการรุนแรง แพทย์ก็อาจจะไม่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้

 

ดังนั้น เน้นย้ำประชาชน หากมีประวัติ ไอ ไข้ อาการระบบทางเดินหายใจ หรือหากไม่มีอาการแต่มีความสงสัย เช่น สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันหรือผู้ป่วยสัมผัสเสี่ยงสูง เดินทางไปพื้นที่เสี่ยง เข้าไปในกิจกรรม กิจการเสี่ยง นอกจากตรวจ ATK แล้ว ช่วยสังเกตคนรอบข้างให้เข้ากระบวนการรักษาให้เร็วที่สุด โดยสามารถติดต่อไปที่ สปสช. 1330 กด 14 ซึ่งภายใน 6-24 ชม. เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับและจับคู่สถานพยาบาล หรือ แอดไลน์ @nhso โดยมีแอดมินคอยตอบ

 

ทั้งนี้ หากการติดต่อกลับล่าช้า ต้องขออภัยเพราะโดยปริมาณผู้ป่วย ที่เข้าสู่ระบบอาจจะสูงกว่า 4 หมื่นรายต่อวัน ค่อนข้างเห็นใจเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ประชาสังคม หลายหน่วยงานที่ระดมอาสาสมัครเข้ามาช่วยบริการ 

 

ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

 

ดังนั้น ศบค. ชุดเล็ก ที่พิจารณาเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ ยังมีระเบียบในเรื่องของประเมินคัดแยกผู้ป่วยวิกฤติสำหรับโรคโควิด-19 ยูเซป พลัส (UCEP Plus) โดยจะต้องโทร 1669  และขอความร่วมมือประชาชน หากเป็นผู้ป่วยสีเขียวไม่มีอาการรุนแรง ขอให้เข้าสู่ระบบ 1330 สงวนเตียงเหลืองแดงให้ผู้ที่มีความจำเป็นจริงๆ 

 

ขณะที่ ในขณะนี้ นิยามของคำว่าวิกฤติ ขอให้สถานพยาบาล รพ. ศึกษาให้ดี ไม่ใช่เกณฑ์สีแดงเหมือนเดิมอีกต่อไป เพรา สธ. มีการสอดคล้องให้เข้ากับสถานการณ์มากขึ้น เช่น หากกรณีมีไข้สูงกว่า 39 องศา นานกว่า 24 ชม. หรือ กรณีมีการหายใจเร็วขึ้นเกิน 25 ครั้งต่อนาที หรือ กรณีปริมาณออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94%

 

ที่สำคัญ กรณีที่ยังสบายดี อาการไอ ไข้ ไม่ชัดเจนมาก แต่เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ ปอด เข้าเกณฑ์ ที่จะเข้ารับบริการสถานพยาบาลใกล้บ้าน และระดับวิกฤติ 7 มีกลุ่มเด็ก และ ระดับ 9 ในหญิงตั้งครรภ์ ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ เม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1,000 ควรจะเข้าสู่ระบบการรักษาให้เร็วและปลอดภัย

 

"หากมีการเปลี่ยนแปลงเพราะท่านเป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว เป็นหญิงตั้งครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเด็ก ไม่ควรรอ ขณะเดียวกัน ก็มีการให้บริการแบบ ผู้ป่วยนอก ซึ่งสามารถใช้สิทธิบริการใกล้บ้านได้ ในกรณีผู้ป่วยระดับเขียว ขอความกรุณาให้ช่วยกันสงวนเตียงระดับ 2-3 ให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจริงๆ"

 

ศบค. เผยเสียชีวิต 89% รับวัคซีนไม่ครบ ห่วง 3 จ.ครองเตียงเกิน 50%

 

เตรียมประชุม ศบค.ชุดใหญ่ 18 มี.ค.นี้

อย่างไรก็ตาม 18 มี.ค. นี้ ศบค.ชุดใหญ่ แม้จะมีสถานการณ์การติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น แต่สะท้อนให้เห็นว่าระบบสาธารณสุข ยังอยู่ในเกณฑ์ที่รองรับได้ เป็นไปได้ว่า 18 มี.ค. จะมีการผ่อนคลาย กิจการ กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ดำเนินเศรษฐกิจ ชีวิตกลับมาเป็นปกติ แต่ยังต้องเน้นย้ำการป้องกันตัวแบบครอบจักรวาลหรือ Universal Prevention เราต้องอยู่ร่วมกับโควิดให้ได้อย่างปลอดภัยทั้งตัวเราและคนรอบข้างด้วย