อัปเดต "อัตราครองเตียง" รักษาโควิดทั่วไทย 60% จากทั้งหมด 1.8 แสนเตียง

อัปเดต "อัตราครองเตียง" รักษาโควิดทั่วไทย 60% จากทั้งหมด 1.8 แสนเตียง

กรมการแพทย์ อัปเดต "อัตราครองเตียง" รักษาโควิด-19 ทั่วประเทศ อยู่ที่ 60% จากจำนวนเตียงทั้งหมด 1.8 แสนเตียง ยืนยันยังเพียงพอรับผู้ป่วยอาการหนัก

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ ประชาชนมีข้อกังวลว่า ระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะความเพียงพอของจำนวนเตียงที่รองรับผู้ป่วยโควิด 19

กรมการแพทย์ ได้ดำเนินการบริหารจัดการเตียงร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลภาคีเครือข่าย UHosNeT กรุงเทพมหานคร กลาโหม โรงพยาบาลเอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี คร.สาธิต ปีตุเตชะ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมค้านการรักษาพยาบาลและการป้องกันการคิดเชื้อในโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มปฏิบัติการค้านการจัดการเดียงและรักษาพยาบาล UHOSNET BKK กรมการแพทย์ทุกสัปดาห์ เพื่ออัปเดตสถานการณ์ภาพรวม โควิด 19 ประเมินสถานการณ์และศักยภาพเตียงรองรับผู้ป่วยโควิค 19 ในโรงพยาบาล Home Isolation (HI) และ Community Isolation (C) ทุกระดับในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งภาพรวมของประเทศด้วย ซึ่งขณะนี้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก วัยทำงานโดยมากกว่า 90% จะอาการเล็กน้อย และมากกว่า 50% ไม่มีอาการ แต่กลุ่มที่เสียชีวิต อาการหนักยังเป็นกลุ่มสูงวัย กลุ่มเปราะบาง มีโรคเรื้อรัง ติดบ้านติดเตียง ที่รับเชื้อจากคนใกล้ชิด ขณะนี้ทั่วประเทศมีเตียงรักษาโควิดประมาณ 1.8 แสนเตียง อัตราครองเตียงประมาณ 60%

อัปเดต \"อัตราครองเตียง\" รักษาโควิดทั่วไทย 60% จากทั้งหมด 1.8 แสนเตียง

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การระบาดโควิด 19 อยู่ในช่วงขาขึ้น แนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาการสีเขียว ดังนั้น ยังมีเตียงรองรับกลุ่มอาการหนัก

อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจการเข้าสู่ระบบรักษาพยาบาลหลังติดเชื้อ โดยผู้ที่มีอาการหรือเป็นโรคอื่นแล้วไปตรวจที่โรงพยาบาลและพบผลบวก จะจัดระบบเข้ารักษาที่บ้าน (HI) หรือโรงพยาบาลตามระดับอาการ

อัปเดต \"อัตราครองเตียง\" รักษาโควิดทั่วไทย 60% จากทั้งหมด 1.8 แสนเตียง

กรณีตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้วผลบวก ยืนยันว่าไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ ให้โทรสายด่วน 1330 เข้าระบบได้เลย

หากไม่มีอาการจะจัดเข้า HI ก่อน หากทำไม่ได้จะจัดเข้าสู่ศูนย์พักคอย (CI) แต่หากมีอาการหนักมากขึ้นโรงพยาบาลที่ดูแลจะส่งไปศูนย์จัดหาเตียงและเข้าโรงพยาบาลหลักต่อไป หรือโทรประสาน 1669 หากมีอาการฉุกเฉิน

สำหรับข้อมูลเตียงทั่วประเทศ ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 24 ก.พ. 2565 ดังนี้

  • เตียงผู้ป่วยน้อยระดับ 1 ทั้งหมด 142,044 เตียง ครองเตียง 89,141 เตียง อัตราครองเตียง 62.8%
  • ป่วยหนัก ระดับ 2.1 ทั้งหมด  24,456 เตียง ครองเตียง 5,104 เตียง อัตราครองเตียง 20.9%
  • ระดับ 2.2 ทั้งหมด 5,633 เตียง ครองเตียง 703 เตียง อัตราครองเตียง 12.5%
  • ระดับ 3  ทั้งหมด 2,158 เตียง ครองเตียง 419 เตียง อัตราครองเตียง 19.4% ภาพรวม 174,291 เตียง ครองเตียง 95,367 เตียง อัตราครองเตียง 54.7% 
  • ส่วนผู้ดูแลที่บ้าน (HI) 69,278ราย และในชุมชน (CI) 24,369 ราย 

ในขณะที่ กทม. ปริมณฑล ซึ่งมีผู้ป่วยสูงมากกว่า 3 พันรายต่อวัน มีความร่วมมือในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น เอกชน โรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลตำรวจ กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กระทรวงกลาโหม และกทม. รวมแล้วมีเตียงรองรับทั้งหมด 69,682 เตียง คนไข้เข้าไปนอน ใน รพ. 36,454 เตียง อัตราครองเตียง 52.31%  เตียงว่าง 47.69%