โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 เจอในไทย 14 ราย ตาย 1 ราย

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 เจอในไทย 14 ราย ตาย 1 ราย

กรมวิทย์เผยไทยเจอ BA.2 แล้ว 14 ราย  มี 1 ราย เสียชีวิต ส่วนภาพรวมโอมิครอนเสียชีวิต  7 ราย  อัตราเสียชีวิต 0.1 % ภาพรวมครองไทยแล้ว 94.6 %

    เมื่อวันที่   26 ม.ค. 2565 ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กล่าวว่า  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รายงานเข้าไปในระบบGISAID ที่เป็นฐานข้อมูลไวรัสก่อโรคโควิด19โลก เกี่ยวกับโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.2565 โดยมีรายงานปรากฎแล้ว จำนวน 6 ราย จากที่รายงานเข้าไปแล้ว 14 ราย แต่กว่าจะปรากฎในระบบนั้น GISAIDต้องมีการตรวจสอบก่อน ซึ่งอีก 8 รายน่าจะปรากฎในอีก2-3 วัน ยืนยันว่าเห็นBA.2 ตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์มาแล้วและรายงานเข้าระบบไปแล้ว
         นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า BA.2 ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ปัจจุบันยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่า แพร่เร็ว รุนแรง อาการหนัก และหลบภูมิคุ้มกันได้แค่ไหน ยังบอกไม่ได้ ถ่สัดส่วนเปลี่ยนจากที่มี 2 % เพิ่มเป็น  5 %  10 % ในเวลาถัดมาอาจจะต้องจับตาดู แสดงว่าอาจจะแพร่เร็วกว่า ส่วนอาการหนักเท่าที่ดูข้อมูลในประเทศไทย ที่มี 14 ราย  เป็นเดินทางมาจากต่างประเทศ 9 ราย ติดในประทศ 5 ราย ซึ่งมี 1 รายเสียชีวิต คือ ผู้ป่วยติดเตียงที่เสียชีวิตจากโอมิครอนรายแรกที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  จึงยังบอกไม่ได้ว่าจำนวนเท่านี้แล้ว BA.2 จะรุนแรงกว่า BA.1 หรือไมj แต่ภาพรวมไทยส่งข้อมูลโอมิครอนประมาณ  7 พันบันทึก ให้กรมการแพทย์ตามดูพบมีผู้เสียชีวิต 7 ราย  อัตราการเสียชีวิต 0.1 %จากโอมิครอน อัตราค่อนข้างต่ำ ซึ่งกรมการแพทย์กำลังจัดทำรายละเอียดว่า อาการหนัก อาการปานกลาง มากน้อยแค่ไหน รวมถึงปัจจัยการฉีดวัคซีนติดอย่างไรด้วย   

     การถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตวัทุกสัปดาห์ ตอนที่เจอเดลตาระบาดที่ตอนนี้มีพันธุ์ย่อยหรือเดล AY ประมาณ 127  ตัว ประเทศไทยเคยเจอเดลตา +K417N(AY.1) ซึ่งหลบวัคซีนได้มากขึ้น แต่จำนวนที่พบก็ไม่ได้มากมายและไม่ได้เพิ่มจำนวน  เมื่อทำสายตระกูลก็มีความสัมพันธุ์กับที่พบในเกาหลีใต้ ก็บอกให้เห็นว่าเจอ แต่เป็นที่เจอเบื้องต้น ไม่ได้มีความน่าห่วงกังวลอะไร  ส่วน AY.4.2  ไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์อะไร แต่ก็ปรากฎให้เห็นก็เก็บเป็นข้อมูล ก็รายงานไป GISAID ส่วนที่พบมากที่สุดที่เป็นพันธุ์ย่อย คือ AY. 5 ไทยเจอประมาณ 49  % ซึ่งเจอบางส่วนบวกด้วย ตำแหน่งที่หลบวัคซีนเช่นกัน แต่ไม่ได้เจอมาก ท้ายที่สุดถ้าเดลตาถูกแทนด้วยโอมิครอน เดลตาที่กลายพันธุ์ก็ไม่มีความหมายอะไรแล้ว  เพราะคนติดเชื้อในประเทศเป็นโอมิครอนเกือบหมดแล้ว  ก็ต้องมาจับจตาย่อยโอมิครอนแทน หรือมีกลายพันธุ์อื่นเกิดขึ้น 

    “เดือนก.พ.น่าจะเป็นโอมิครอนส่วนใหญ่ แพร่เชื้อเร็ว แต่อาการจะเกิดความุรนแรงป่วยหนักเสียชีวิตก็จะน้อย และยังต้องบูสเตอร์ด้วยวัคซีนโดยเฉพาะกลุ่มมีความเสี่ยงมีโรคเรื้อรัง สูงอายุ ยิ่งรอบโอมิครอนยิ่งชัดว่า ถ้าคนร่างกายแข็งแรงมีภูมิคุ้มกัน โอกาสเสียชีวิตจะน้อยมาก แต่ผู้อายุสูงกราฟจะชันขึ้นไปมาก อยากให้คนสูงอายุ ควรรีบมารับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้เร็วที่สุด”นพ.ศุภกิจกล่าว 
     สำหรับสักส่วนการเฝ้าระวังสายพันธุ์ในประเทศไทย พบว่า ภาพรวม เป็นโอมิครอน 94.6 % gเดลตา 5.4 % เมื่อแยกเป็นกลุ่มที่มาจากต่างประเทศ โอมิครอน  99.4% เดลตา 0.6 % และกลุ่มในประเทศ โอมิครอน 92.3 % เดลตา 7.7 %