เช็คที่นี่ ทำอย่างไรเมื่อผล "ATK" เป็นบวก-ติดโควิด “โอมิครอน”

เช็คที่นี่ ทำอย่างไรเมื่อผล "ATK" เป็นบวก-ติดโควิด “โอมิครอน”

หลังจากที่ "โอมิครอน" ระบาด เกิดความกังวลว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะสูงขึ้นอีกครั้ง ทำให้หลายฝ่ายเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ ทั้งกทม. ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทั้งการรักษาในโรงพยาบาล การรักษาที่บ้าน และในชุมชน

2 สัปดาห์แรกของการเปิด "ปีใหม่" นับว่าอยู่ในระยะที่ ศบค. และ กระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวัง โดยเฉพาะการระบาดของ "โอมิครอน" ซึ่งมีการแพร่ระบาดรวดเร็ว ทำให้ในตอนนี้หลายฝ่ายมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการระบาด ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเตียง ยารักษา เร่งการฉีดวัคซีน และการรองรับผู้ป่วยรักษาตัวที่บ้าน (Home isolation) และรักษาตัวในชุมชน (Community isolation)

 

รวมถึงการเข้มมาตรการหลังปีใหม่ ที่มีผู้เดินทางจากจังหวัดเสี่ยงกลับเข้าทำงาน โดยเน้นย้ำให้มีการตรวจ ATK และ ทำงานที่บ้าน (Work from home) ให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ นายแพทย์ สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยในวันนี้ (5 ม.ค.65) ว่า ลักษณะอาการผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน ในไทย ส่วนใหญ่มีอาการคล้ายไข้หวัด และอาการน้อยไม่รุนแรง โดยเน้นย้ำแนวทางรักษาหลักอาการน้อย ไม่มีอาการ เข้าสู่ระบบการรักษาตัวที่บ้าน

  • 8 อาการ “โอมิครอน”

 

อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า จากข้อมูลการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอนในไทย พบว่า อาการไม่แตกต่างจากโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ไข้ เจ็บคอ ไอแห้งร ะยะการแพร่เชื้ออยู่ที่ 2-3 วันก่อนมีอาการ และ 3 ถึง 5 วันหลังมีอาการ พบบางรายมีอาการปอดอักเสบแต่ไม่มากนัก โดยรักษาด้วยยาต้านไวรัส ฟาวิพิราเวียร์ หลังมีอาการภายใน 3 วัน โดยพบว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติ สำหรับ 8 อาการที่พบมากที่สุด ในผู้ป่วย 41 ราย มีอาการเล็กน้อยไม่มีปอดอักเสบ 34 ราย

 

• ไอ ร้อยละ54

• เจ็บคอ ร้อยละ 37

• มีไข้ ร้อยละ29

• ปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 15

• มีน้ำมูก ร้อยละ 12

• ปวดศีรษะ ร้อยละ10

• หายใจลำบาก ร้อยละ5

• ได้กลิ่นลดลง ร้อยละ 2

 

เช็คที่นี่ ทำอย่างไรเมื่อผล \"ATK\" เป็นบวก-ติดโควิด “โอมิครอน”

 

ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถแพร่เชื้อได้ใน 2-3 วัน ก่อนมีอาการป่วย และในช่วง 3-5 วันหลังมีอาการป่วย ส่วนผู้ป่วยปอดอักเสบจากการติดเชื้อโควิคสายพันธุ์โอไมครอน จำนวนไม่มาก มีเพียง 7 รายที่มีอาการปอดอักเสบ และ 2 ราย ความดันออกซิเจนในร่างกายลดลง ผู้ที่มีอาการหนัก ไม่มีรายใดต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และไม่มีผู้เสียชีวิต

 

ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถแพร่เชื้อได้ใน 2-3 วัน ก่อนมีอาการป่วย และในช่วง 3-5 วันหลังมีอาการป่วย ส่วนผู้ป่วยปอดอักเสบจากการติดเชื้อโควิคสายพันธุ์โอไมครอน จำนวนไม่มาก มีเพียง 7 รายที่มีอาการปอดอักเสบ และ 2 ราย ความดันออกซิเจนในร่างกายลดลง ผู้ที่มีอาการหนัก ไม่มีรายใดต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และไม่มีผู้เสียชีวิต

 

"อาการโดยรวมของผู้ป่วยโอมิครอน จะมีอาการคล้ายกับหวัดทั่วไป โดยอาการไข้จะไม่ใช่อาการหลักในการคัดกรองผู้ป่วยโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน อีกต่อไป หากประชาชนมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัด ให้ทำการตรวจหาเชื้อโดยวิธี ชุดตรวจ คัดกรองโควิด ATK เพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้น ก่อนประสานเข้าสู่ระบบการรักษา"

  • ตรวจพบเชื้อโควิด ต้องทำอย่างไร

 

สำหรับประชาชน ที่ซื้อชุดตรวจคัดกรอง โควิด-19 แอนติเจนเทสคิด (ATK) ไปตรวจด้วยตัวเอง แล้วพบผลบวก สิ่งสำคัญ ให้ตั้งสติ อยู่บ้าน แล้วประเมินอาการตนเองว่าอยู่ในระดับไหน หากอาการน้อยไม่มีอาการ โทรไปที่ 1330 ทาง สปสช. ยืนยันแล้วว่าภายใน 6 ชั่วโมง จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับโดยจะมีการจับคู่กับคลินิคฯ ในการรักษาที่บ้าน ขั้นตอนดังนี้

 

• โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 14 หรือสแกน QR Code

• กรอกข้อมูลด้วยตนเอง

• เจ้าหน้าที่จะประสาน-จับคู่สถานพยาบาล

• รักษาตามระบบดูแลผู้ติดเชื้อที่บ้าน

 

เช็คที่นี่ ทำอย่างไรเมื่อผล \"ATK\" เป็นบวก-ติดโควิด “โอมิครอน”

 

  • หากมีอาการหนักต้องทำอย่างไร

 

สำหรับคนที่มีอาการหนัก มีภาวะฉุกเฉิน โทร 1669 จะมีเจ้าหน้าที่ประสานนะเข้าระบบการรักษาเตียงในโรงพยาบาล ขณะเดียวกัน อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า วันนี้ที่ประชุม ผู้บริหารกระทรวงช่วงเช้าทางปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้ในพื้นที่ต่างจังหวัด เตรียมระบบการรักษาที่บ้าน หากพบผู้ติดเชื้อ แต่หากพื้นที่ไหน อาจจะไม่พร้อมในระบบรักษาตัวที่บ้าน ให้มีเตรียมศูนย์ดูแลชุมชนผู้ป่วยโควิด ซึ่งในส่วนนี้ต่างจังหวัดมีความพร้อม.

 

  • “โอมิครอน” รักษาเหมือนกับสายพันธุ์ก่อนหน้า

 

สำหรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ “โอมิครอน” เหมือนกับผู้ป่วยติดเชื้อโควิค-19 สายพันธุ์ก่อนหน้านี้ โดยยาในการรักษาผู้ป่วย โควิด-19 ยังคงให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ ขณะที่โมนูลพิราเวียร์ ความคืบหน้าล่าสุด ทางบริษัทเตรียมที่จะส่งให้กับไทยแล้ว แต่อยู่ระหว่าง ยื่นเอกสารข้อมูลเพิ่มเติมกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งคาดว่าไม่น่ามีปัญหา ส่วนยาแพ๊กซ์โลวิด อยู่ระหว่างดำเนินการเรื่องเอกสาร คาดว่า จะได้ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือช่วงเดือนมีนาคม

 

  • สถานการณ์เตียงกรุงเทพฯ ปริมณฑล

 

ข้อมูลสถานการณ์เตียงกรุงเทพฯ และปริมณฑล ล่าสุด วันที่ 4 ม.ค. รวมทุกประเภท รวม 31,701 เตียง ครองเตียงแล้ว 5,873 เตียง แบ่งเป็น

1. เตียงไอซียู ห้องความดันลบ รวม 232 เตียง ครองเตียง 65 เตียง ว่าง 167 เตียง อัตราครองเตียง 28%

2. ห้องดัดแปลงความดันลบ รวม 1,184 เตียง ครองเตียง 456 เตียง ว่าง 728 เตียง อัตราครองเตียง 38.5%

3. ห้องไอซียูรวม รวม 470 เตียง ครองเตียง 30 เตียง ว่าง 440 เตียง อัตราครองเตียง 6.4%

4.ห้องแยกโรค รวม 3,964 เตียง ครองเตียง 929 เตียง ว่าง 3,035 เตียง อัตราครองเตียง 23.4%

5. ห้องสามัญ รวม 8,223 เตียง ครองเตียง 1,952 เตียง ว่าง 6,271 เตียง อัตราครองเตียง 23.7%

6. ฮอลพิเทล รวม 16,084 เตียง ครองเตียง 2,278 เตียง ว่าง 13,806 เตียง อัตราครองเตียง 14.2%

7.เตียงสนาม รวม 1,544 เตียง ครองเตียง 163 เตียง เตียงว่าง 1,381 เตียง อัตราครองเตียง 10.6%

ส่วนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในต่างจังหวัด อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมสายด่วนในแต่ละจังหวัด เพื่อการประสานรับผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองด้วยตนเอง

 

  • เตรียมการ รับผู้ป่วยเด็ก

 

สำหรับการเตรียมการรับผู้ป่วยโควิด-19 เด็ก “อธิบดีกรมการแพทย์” เผยว่า มีการประสาน กทม. ให้มีการจัดทำเตียง CI สำหรับเด็กและครอบครัวเอาไว้ 6 โซน โซนละ 1 แห่ง แห่งละอย่างน้อย 50 เตียง และ 1 ห้องเด็กอยู่ร่วมกัน 3-4 คน มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรมได้ พร้อมทั้ง มอบสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชราชินีในการเตรียมยาน้ำฟาวิราเวียร์สำหรับเด็กทั่วประเทศ โดย รพ.แต่ละแห่งสามารถทำได้เอง ไม่ต้องสำรอง พร้อมทั้งจัดหมอเด็กเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้ด้วย นอกจากนี้ CI สำหรับแรงงานต่างด้าวด้วยโซนละ 1 แห่ง แห่งละประมาณ 100 เตียง

 

  • เตรียมยาน้ำฟาวิฯ สำหรับเด็ก

 

ส่วนการรักษา "โควิด-19" ในเด็กเล็ก กรมการแพทย์ได้สั่งการทุกโรงพยาบาลเตรียมยาน้ำฟาวิพิราเวียร์ ไว้รักษากลุ่มเด็กโดยเฉพาะ ตอนนี้ทุกโรงยาบาทสามารถผลิตเองได้แล้ว

 

  • สปสช. ปรับแนวทางจ่ายค่าบริการ รักษาตัวที่บ้าน 

 

ด้าน "นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี" เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 64 ว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ในประเทศไทยที่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลสายพันธุ์โอไมครอนที่มีรายงานการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว อาจส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นกระจายไปในหลายพื้นที่ได้ ดังนั้น สปสช. ได้จัดเตรียมระบบการเบิกจ่ายงบประมาณเตรียมพร้อม “ระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน” (Home Isolation : HI) เพื่อรับมือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นนี้ 

 

  • การเบิกจ่ายค่าดูแล

 

ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยบริการร่วมระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านเพิ่มขึ้น สปสช.ได้ปรับปรุงแนวทางการจ่ายชดเชยค่าบริการเพื่อให้เกิดการสนับสนุนการบริการที่เหมาะสม รวมถึงการเบิกจ่ายที่รวดเร็วขึ้น


โดยประเด็นการจ่ายชดเชยบริการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านที่มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ค่าบริการเหมาจ่ายล่วงหน้า ปรับเป็นจำนวน 1,000 บาท โอนให้หน่วยบริการทุกสัปดาห์ ซึ่งในระหว่างการดูแลผู้ป่วย หน่วยบริการสามารถเบิกค่าดูแลเพิ่มเติมตามรายการ ดังนี้

 

1.RT-PCR มีค่าตรวจ Lab 1,000-1,200 บาท/ครั้ง, ค่าอื่นๆในห้อง Lab 200 บาท/ครั้ง และค่าเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ 100 บาท / ครั้ง

2.ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วย แบบไม่รวมค่าอาหารจ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 600 บาทต่อวัน และแบบรวมค่าอาหาร 3 มื้อ เหมาจ่าย ใน 1,000 บาทต่อวัน 

3.ค่าอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วย ได้แก่ ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล เครื่องวัด Oxygen Sat ตามรายการที่ใช้จริง ไม่เกินจำนวน 1,100 บาทต่อราย

4.ค่ายาที่เป็นการรักษาเฉพาะ โรคติดเชื้อโควิด-19 จ่ายตามจริงไม่เกิน 7,200 บาทต่อราย

5.ค่ารถส่งต่อ จ่ายตามจริงตามระยะทาง รวมค่าทำความสะอาด 1,400 บาท

6.ค่า chest X-ray (การเอกซเรย์ปอด) จ่ายในอัตรา 100 บาทต่อครั้ง 

7.ค่าออกซิเจน จ่ายในอัตรา 450 บาทต่อวัน     

 

นพ.จเด็จ กล่าวว่า ส่วนขั้นตอนการเบิกจ่าย ตามที่ สปสช.ได้วางระบบตรวจสอบ 100% ก่อนเบิกจ่ายให้หน่วยบริการ แต่มีการทักท้วงถึงความล่าช้าในการเบิกจ่าย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สปสช.จึงปรับระบบการตรวจสอบโดยใช้วิธียืนยันพิสูจน์ตัวตนผู้ติดเชื้อที่เข้ารับบริการ HI ผ่าน LINE OA : @nhso เบื้องต้นหน่วยบริการจะได้รับค่าบริการเหมาจ่าย 1,000 บาท 

 

ภายหลังจากผู้ติดเชื้อได้รับบริการ ก่อนจำหน่ายออกจากการดูแลในระบบ HI หน่วยบริการเพียงให้ผู้ติดเชื้อทำแบบประเมิน “การติดตามผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระบบดูแลที่บ้าน” ในระบบ LINE OA @nhso ซึ่ง สปสช. ได้เชื่อมโยงกับระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim)

 

เมื่อผู้ติดเชื้อตอบคำถามแบบประเมินนี้ครบถ้วนก็จะถือเป็นหลักฐานการรับบริการเพื่อเบิกจ่ายค่าบริการ ทำให้การเบิกค่าบริการรวดเร็วขึ้น โดย สปสช. ไม่ต้องทำการตรวจสอบยืนยันโดยโทรหาผู้ติดเชื้อที่เข้ารับบริการ ซึ่งที่ผ่านมามีส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถติดต่อได้ ทั้งยังช่วยลดปัญหาการส่งเอกสารทักท้วงของหน่วยบริการ 

 

“การทำแบบประเมินการเข้ารับบริการในระบบ HI โดยผู้ติดเชื้อเอง จะเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเบิกจ่ายค่าบริการให้กับหน่วยบริการ และได้รับค่าบริการที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาติดที่ขั้นตอนที่ สปสช. ต้องโทรตรวจสอบยืนยันการเข้ารับบริการกับผู้ติดเชื้อก่อน ซึ่งมีหลายรายที่มีปัญหาไม่สามารถติดต่อได้ ทำให้ไม่สามารถเบิกจ่าย อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้ติดเชื้อไม่ได้ทำแบบประเมินดังกล่าว การตรวจสอบการบริการก็ยังคงต้องใช้ระบบโทรยืนยันเช่นเดิม” เลขาธิการ สปสช. กล่าว