ผลงานเด่น กสศ. ปี 64 เข้าถึง-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง กว่า 2 ล้านคน

ผลงานเด่น กสศ. ปี 64 เข้าถึง-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง กว่า 2 ล้านคน

กสศ.รายงานประชาชน ปี 2564 เข้าถึง ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ลดเหลื่อมล้ำมากกว่า 2 ล้านคน ผ่านมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าครัวเรือนยากจนร้อยละ 15 ล่างสุดของประเทศ

ในปี 2564  กลุ่มเป้าหมายของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง  จากผลการคัดกรองนักเรียนยากจนพิเศษพบว่า มีจำนวนสูงสุดนับแต่เคยมีการสำรวจ รายได้ของครอบครัวเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้  คือลดลงเหลือ 1,094 บาทต่อเดือน เมื่อเทียบกับ 1,159 บาทต่อเดือนช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19  จนเกิดปรากฏการณ์ยากจนเฉียบพลัน ส่งผลให้นักเรียนกลุ่มยากจนพิเศษในภาคเรียนที่ 1/2564 มีจำนวนถึง 1,244,591 คน หรือสูงสุดนับแต่ปีการศึกษา 2561  หรือเพิ่มขึ้น 250,163 คน หรือร้อยละ 20 เทียบกับภาคเรียนที่ 1/2563 ที่ยังไม่มีการระบาดของโควิด-19 ความเสี่ยงของเด็กนักเรียนยากจนที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา เห็นได้ชัดในกลุ่มช่วงชั้นรอยต่อ โดยเฉพาะระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดของการศึกษาภาคบังคับ

ผลงานเด่น กสศ. ปี 64 เข้าถึง-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง กว่า 2 ล้านคน

นพ.สุภกร บัวสาย รักษาการผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า  กล่าวว่า จากงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในปี 2564  จำนวน 6,084.76 ล้านบาท  กสศ.สามารถช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่สะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศจำนวน  1.35 ล้านคน เป็นนักเรียนยากจนพิเศษโดยตรงราว 1.2 ล้านคน ด้วยทุนเสมอภาคในอัตรา 3,000 บาท/คน/ปีการศึกษา  ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมาก  แต่มุ่งหวังเพื่อบรรเทาปัญหาให้กับครอบครัวยากลำบากร้อยละ 15 ล่างสุดของประเทศ  แม้มีมาตรการเรียนฟรี 15 ปี แต่ก็ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางและค่าครองชีพที่สูงขึ้น จนต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา

ผลงานเด่น กสศ. ปี 64 เข้าถึง-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง กว่า 2 ล้านคน

 

  • กสศ.เดินหน้าลดเหลื่อมล้ำช่วยเหลือเด็ก

 “กสศ.ใช้คำว่าทุนเสมอภาค  เพื่อสื่อว่าเป็นการที่ประชาชนมีส่วนรวมเสียภาษีเกื้อหนุนครอบครัวที่ยากลำบากที่สุด  และทุนเสมอภาคมิใช่เป็นเงินสงเคราะห์ แต่เป็นการให้เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข ต้องรักษาอัตราการมาเรียนให้มากกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียน และมีการติดตามข้อมูลพัฒนาการให้สมวัยตามเกณฑ์ของกรมอนามัย ผลการประเมินขั้นต้นของกสศ.พบว่า กลุ่มที่เคยขาดเรียนเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 วัน ขาดเรียนลดลงเหลือสัปดาห์ละครึ่งวัน และในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปีการศึกษา 2563-2564 นักเรียนทุนเสมอภาคกว่าร้อยละ 95 ยังคงอยู่ในระบบการศึกษา ทั้งนี้เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ที่ผ่านมา กสศ.ได้จัดสรรทุนเสมอภาคภาคเรียนที่ 2/2564  ให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษจำนวน 1,247,451 คน  วงเงินงบประมาณ 1,978,264,500 บาทนพ.สุภกร กล่าว

ผลงานเด่น กสศ. ปี 64 เข้าถึง-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง กว่า 2 ล้านคน

ผลงานเด่น กสศ. ปี 64 เข้าถึง-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง กว่า 2 ล้านคน

นพ.สุภกร กล่าวว่า มีกลุ่มนักเรียนยากจนอีกราว 8 แสนคน ที่ กสศ. ได้ทำงานร่วมกับครูมากกว่า 400,000 คนทั่วประเทศในการคัดกรองสถานะความยากจน แต่งบประมาณที่กสศ. ได้รับจากรัฐบาลแต่ละปียังไม่เพียงพอ กสศ. จึงสนับสนุนข้อมูลผลการคัดกรองรายบุคคลให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดเพื่อช่วยเหลือผ่านเงินปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจนในโครงการเรียนฟรี 15 ปี ระดับประถมศึกษา 1,000 บาท/คน/ปีการศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3,000 บาท/คน/ปีการศึกษา ซึ่งคิดเป็นเงินเพียง 5-15 บาทต่อวันเท่านั้น และเป็นอัตราที่ไม่ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับปัจจุบันมากว่า 12 ปี ตั้งแต่มีโครงการเรียนฟรี 15 ปีเมื่อปีการศึกษา 2552 ดังนั้น กสศ. และหน่วยงานต้นสังกัดทางการศึกษา ได้เสนอแผนการใช้เงินประจำปีงบประมาณ 2566 โดยขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมกลุ่มนักเรียนอนุบาล และ ม.ปลายที่เข้าเกณฑ์ยากจนและยากจนพิเศษมากกว่า 240,000 คน

ผลงานเด่น กสศ. ปี 64 เข้าถึง-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง กว่า 2 ล้านคน

 

  • มุ่งแก้ปัญหาช่วยเด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบาง

นพ.สุภกร กล่าวว่า  การช่วยเหลือด้วยทุนเสมอภาคเป็นเพียงการบรรเทาความเดือดร้อน ไม่ให้วิกฤต  ในฐานะที่กสศ.เป็นหน่วยงานสาธารณะที่รับผิดชอบต่อประชาชน ต้องมุ่งแก้ปัญหาให้ลึกขึ้นไปอีกจากโจทย์ที่ต้นทาง  จึงได้วิเคราะห์พบว่าบรรดาเด็กและเยาวชนกลุ่มขาดโอกาสแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่จากสถานการณ์ปัจจุบัน  ทำให้มีเป้าหมายการช่วยเหลือที่แตกต่างกันดังนี้

ผลงานเด่น กสศ. ปี 64 เข้าถึง-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง กว่า 2 ล้านคน

กลุ่ม 1 นักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ จำเป็นต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาผ่านการพัฒนาครูและโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล  โดยกสศ.ทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และ 11 เครือข่ายปฏิรูปการศึกษาทั่วประเทศ พัฒนาโรงเรียนขนาดกลางสังกัด สพฐ. สช. และ อปท. รวม 727 แห่ง ให้เป็นต้นแบบโรงเรียนพัฒนาตนเอง นักเรียนทุกคนมีโอกาสพัฒนาตนเองตามศักยภาพ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 22,303 คน มีนักเรียนได้รับประโยชน์ จำนวน 204,680 คน

กลุ่ม 2 นักเรียนชั้นมัธยมปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ซึ่งจะอยู่ในระบบการศึกษาอีกเพียง 1-3 ปี  หลังจากนั้นจะทยอยออกจากระบบการศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยมีเพียงร้อยละ 11.54 ของนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษเท่านั้นที่เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา จึงต้องช่วยส่งเสริมความพร้อมการทำงาน    กสศ.พัฒนารูปแบบการให้ทุนการศึกษาระดับสูง ได้แก่ ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ ทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น รวมทั้งสิ้น 8,019 ทุน เป็นทุนการศึกษาใหม่ 2,714 ทุน และทุนการศึกษาสะสม 5,305 ทุน โดยในปีนี้มีนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงสำเร็จการศึกษาจำนวน 1,106 คน กว่าร้อยละ 67 ของนักศึกษามีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 สามารถก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีคุณภาพ    

ผลงานเด่น กสศ. ปี 64 เข้าถึง-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง กว่า 2 ล้านคน

กลุ่ม 3 เด็กนอกระบบระดับการศึกษาภาคบังคับ เป็นกลุ่มที่นำกลับคืนสู่ระบบการศึกษาได้ยากที่สุด  โดยปีที่ผ่านมา กสศ.ร่วมกับองค์กรพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ 74 จังหวัด พัฒนาระบบและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ ด้วยโมเดลการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมตามสภาพปัญหาและความต้องการเป็นรายบุคคลแบบครบวงจร ในปีงบประมาณ 2564 มีเด็กนอกระบบได้รับการช่วยเหลือรวม 43,410 คน พร้อมกับส่งเสริมครูนอกระบบการศึกษาจำนวน 3,471 คน

กลุ่ม 4 เยาวชน (อายุ 15-24 ปี) ที่หลุดจากระบบการศึกษาไปแล้ว เป็นกลุ่มที่มีจำนวนสะสมมากและแก้ไขปัญหายากที่สุด  ส่วนใหญ่เข้าสู่ตลาดแรงงานไร้ฝีมือนอกระบบ มีรายได้ต่ำ กลุ่มเป้าหมายนี้ยังต้องการความช่วยเหลือจากทั้งภาครัฐภาคเอกชนที่จะพัฒนาทักษะอาชีพ เบื้องต้น กสศ.ร่วมกับหน่วยพัฒนาทักษะอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน 117 พื้นที่ทั่วประเทศ   พัฒนาโมเดลการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อยกระดับทักษะอาชีพประมาณ 8,561 คน ให้มีอาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้

ผลงานเด่น กสศ. ปี 64 เข้าถึง-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง กว่า 2 ล้านคน

  • 3 กลยุทธ์ใหม่ ลดเหลื่อมล้ำเด็กยากจนพิเศษปี65

นพ.สุภกร กล่าวว่า โจทย์ความเหลื่อมล้ำมีปมผูกกับปัญหาเศรษฐกิจและสังคมสะสมมายาวนาน เมื่อมีผลกระทบจากโควิด-19 เข้ามาซ้ำเติม ยิ่งทำให้ปัญหาขยายกว้างมากขึ้น  ในขณะที่ทรัพยากรภาครัฐไม่เพียงพบอร์ดบริหาร กสศ. จึงให้แนวทางการทำงานผ่านแผนกลยุทธ์ใหม่ 3 ปีจากนี้  มุ่งเน้นให้กสศ.มีบทบาทเหนี่ยวนำความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ครอบคลุมถึงนโยบายการศึกษาของประเทศลงไปถึงระบบงาน ระดับหน่วยงาน และพัฒนาฐานข้อมูล งานวิชาการคุณภาพสูงที่สามารถไป“กระตุ้น” หรือ“ชี้เป้า” ให้กับเครือข่ายองค์กรพันธมิตรที่เป็นเจ้าของงบประมาณอีกกว่า 99%  เพื่อให้การใช้จ่ายด้านการศึกษารวมกว่า 8 แสนล้านบาท ก่อประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ตรงจุด

ผลงานเด่น กสศ. ปี 64 เข้าถึง-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง กว่า 2 ล้านคน

นอกจากนี้ กสศ.ยังมุ่งเน้นทำงานกับท้องถิ่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาและบูรณาการทรัพยากรจากทุกแหล่งในพื้นที่ ในปี 2564 มีจังหวัดจากทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการนำร่องจำนวน 20 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก ขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครราชสีมา กาญจนบุรี นครนายก ระยอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา และสงขลา