สรุป “อาการโอมิครอน” น่ากลัวแค่ไหน วัคซีนป้องกันได้ไหม?

สรุป “อาการโอมิครอน” น่ากลัวแค่ไหน วัคซีนป้องกันได้ไหม?

ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ "โอมิครอน" กระจายเร็วกว่าเดลตา ติดได้ทั้งในคนที่ฉีดวัคซีนหรือผู้ที่หายป่วยจากโควิดแล้ว ชวนอัพเดท "อาการโอมิครอน" ว่าเหมือนหรือแตกต่างจากอาการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่นๆ อย่างไร

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่กำลังแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในไทยก็มีรายงานยืนยันพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนแล้ว 63 ราย ส่งผลให้ศบค. มีคำสั่งระงับรับนักท่องเที่ยวแบบ “Test and go” ตั้งแต่วันนี้ - 4 ม.ค.65 เร่งเคลียร์ยอดที่เหลืออีก 9 หมื่นคน ก่อนกลับไปใช้ระบบกักตัวคนเข้าประเทศ แต่ยังไม่งดจัดงานปีใหม่

ความคืบหน้าของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน สำนักข่าวรอยเตอร์รวบรวมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยให้เห็นภาพความเป็นไปของโควิดสายพันธุ์นี้ได้มากขึ้น

 

  • องค์การอนามัยโลก (WHO)

ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงข่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้เมื่อวันจันทร์ (20 ธ.ค.64) ที่ผ่านมา โดย ทีดรอส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการ WHO ระบุว่า

“ตอนนี้มีหลักฐานแสดงออกมาต่อเนื่องว่า โอมิครอนกระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตาอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นไปได้มากว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้วหรือหายจากโควิด-19 แล้ว ก็อาจติดเชื้อหรือติดเชื้อซ้ำได้”

 

 

  • อิมพิเรียล คอลเลจ ลอนดอน

ผลการศึกษาใหม่โดยอิมพิเรียล คอลเลจ ลอนดอน แถลงว่าโอมิครอนทำให้ผู้คนเสี่ยงติดเชื้อซ้ำสูงกว่าเดลตาถึง 5 เท่า และไม่มีสัญญาณว่าจะเบากว่าเดลตา

 

  • องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนกาวี (Gavil)

องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนกาวี (Gavil) สรุปอาการที่พบโดยกลุ่มแพทย์ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในแอฟริกาใต้ มีทั้งหมด 5 อาการคือ

  1. เจ็บคอ
  2. ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
  3. เหนื่อยมากกว่าปกติ
  4. ไอแห้ง
  5. เหงื่อออกตอนกลางคืนแม้นอนในห้องอากาศเย็น

 

สรุป “อาการโอมิครอน” น่ากลัวแค่ไหน วัคซีนป้องกันได้ไหม?