"สมุนไพรไทย"โกอินเตอร์ได้อย่างไร? แนะเริ่มจากคนไทยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

"สมุนไพรไทย"โกอินเตอร์ได้อย่างไร? แนะเริ่มจากคนไทยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

"ตลาดสมุนไพรไทย" อันดับ8 ของโลก มูลค่าการบริโภค1,483.5 ล้านดอนล่าร์สหรัฐฯ ผู้เชี่ยวชาญ แนะโกอินเตอร์ ต้องใช้สารสกัดที่ต่างประเทศไม่มี หนุนคนไทยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สร้างงานวิจัย และเทคโนโลยี

ตลาดสมุนไพรโลกมีมูลค่าการบริโภคสมุนไพรในแต่ละภูมิภาคของโลก 54,957 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯโดย 12 ประเทศที่มีมูลค่าการบริโภคสมุนไพร อันดับ 1 ได้แก่ประเทศจีน มีมูลค่า 17,039.9 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา7,636.40 ล้านดอนล่าร์สหรัฐฯ ญี่ปุ่น 4,628,6 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯและของไทยอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก มีมูลค่าการบริโภคสมุนไพร 1,483.5 ล้านดอนล่าร์สหรัฐฯ

อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของไทยในช่วงที่มีการประกาศใช้แผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยแห่งชาติฉบับที่ 1 (ช่วงปี 2560-2562) สูงกว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของประเทศผู้นำ (ประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ในช่วงเวลาเดียวกัน

\"สมุนไพรไทย\"โกอินเตอร์ได้อย่างไร? แนะเริ่มจากคนไทยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

 

  • 5ปัจจัยยกระดับสมุนไพรไทย

โดยประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกรมการแพทย์แผนไทยและแผนทางเลือก ได้สนับสนุนสมุนไพรไทยเพื่อเข้าสู่ตลาดโลกใน 5 ประเด็น ได้แก่ 1.เศรษฐกิจ ต้องใช้สมุนไพรไทย การแพทย์แผนไทย เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในทุกช่องทาง และปลายทางสมุนไพรไทยต้องเป็นที่เชื่อมั่นของคนในประเทศและต่างประเทศ สมุนไพรไทยต้องกลายเป็นของฝากกระจายไปทั่วโลก

2.การบริการ สนับสนุนให้การบริการแพทย์แผนไทยเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ โดยเฉพาะการบริการปฐมภูมิ การบริการเฉพาะด้าน การบริการระยะกลาง และการบริการระยะสุดท้าย

\"สมุนไพรไทย\"โกอินเตอร์ได้อย่างไร? แนะเริ่มจากคนไทยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

3.การคุ้มครองภูมิปัญญา ยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและหมอพื้นบ้านไทยให้มีส่วนร่วมในระบบสุขภาพและให้ความสำคัญในการคุ้มครองภูมิปัญญาไทย การขึ้นทะเบียนการจดสิทธิบัตร ป้องกันการลักลอบภูมิปัญญาไทย

4.ศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ แพทย์แผนไทยถือว่าเป็นวิชาชีพหนึ่ง ต้องได้รับการสนับสนุนให้เป็นที่ยอมรับและมีศักดิ์ศรี ไม่ใช่ถูกมองเป็นแพทย์ทางเลือกหรือ แพทย์ชั้นสองเหมือนอดีตที่ผ่านมา

5. ด้านการวิจัย ผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการวิจัยอย่างจริงจัง เป็นที่ยอมรับ สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาออกแบบระเบียบวิธีวิจัยของแพทย์แผนไทยโดยเฉพาะ

 

  • เน้นสารสกัดที่ต่างประเทศไม่มี

ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาล(รพ.) เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า อนาคตของสุขภาพทุกคนจะเน้นการป้องกันมากกว่ารักษา ขณะที่คนส่วนใหญ่ต้องการความเป็นหนุ่มสาว ชีวิตที่แอคทีฟ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม รวมถึงต้องการรักษาโรคเรื้อรัง โรคระบาด และต้องการเทคโนโลยี

“ขณะนี้มีผู้ประกอบการสมุนไพรไทยหลายคนได้ขยายผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะธุรกิจเครื่องสำอาง ซึ่งที่ผ่านมาจะเน้นเรื่องสารสกัดภายในประเทศที่ผู้ประกอบการสามารถจ่ายได้ แต่หากจะผลักดันให้สมุนไพรไทยเติบโตในตลาดโลกและแข่งขันได้ ต้องเล่นในกลุ่มสารสกัดที่ต่างประเทศไม่มี เพราะถ้านำสารสกัดที่ต่างประเทศมีแล้ว เราอาจจะไม่สามารถสู้ได้ เนื่องจากเรายังขาดงานวิจัย และนวัตกรรมภญ.ผกากรอง กล่าว

\"สมุนไพรไทย\"โกอินเตอร์ได้อย่างไร? แนะเริ่มจากคนไทยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

“สมุนไพรไทย” โดดเด่นเรื่องสายพันธุ์ และการบริการ ซึ่งเท่าที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับผู้ประกอบการต่างชาติส่วนใหญ่จะชื่นชอบและให้ความสนใจเรื่องการบริการ ภญ.ผกากรอง กล่าวต่อว่าจุดเด่นของสมุนไพร นอกจากมีสายพันธุ์ที่มีความแตกต่างจากสายพันธุ์ในต่างประเทศแล้ว ยังมีจุดขายด้านการบริการ การท่องเที่ยวที่นำสมุนไพรเข้ามาช่วยดึงให้นักท่องเที่ยวสนใจสมุนไพรไทย ผลิตภัณฑ์ไทยมากขึ้น ซึ่งเมื่อคนรู้จักมากขึ้น ผลิตภัณฑ์สมุนไพรก็สามารถส่งออกไปขายในต่างประเทศได้

  • ส่งเสริมคนไทยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

การจะผลักดันให้สมุนไพรเติบโตและแข่งขันในตลาดโลกได้ ต้องเริ่มที่จะทำให้คนในประเทศใช้สมุนไพรไทยก่อน ตอนนี้คนใช้สมุนไพรมากกว่าในอดีต เพราะมีโรคระบาด และใช้สมุนไพรบางตัวเท่านั้น เช่น ฟ้าทะลายโจร สามารถลดอาการปอดอักเสบได้ ทำให้ได้รับความสนใจ แต่มีสมุนไพรอีกจำนวนมากที่มีสรรพคุณดูแล ป้องกัน และรักษาโรคได้ อยากให้มีการส่งเสริมยาสมุนไพรให้ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายเหมือนยาแผงปัจจุบัน เพราะต้องสร้างโอกาสในไทยก่อนจะไปสร้างโอกาสในต่างประเทศภก.ผกากรอง กล่าว

\"สมุนไพรไทย\"โกอินเตอร์ได้อย่างไร? แนะเริ่มจากคนไทยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

เช่นเดียวกับ “สมุนไพร 3 ก กัญชา กัญชง กระท่อม”ที่ขณะนี้ได้รับตอบรับอย่างมาก แต่ยังขาดงานวิจัยสนับสนุน ซึ่งกัญชา กัญชง กระท่อมของไทยมีลักษณะแตกต่างจากต่างประเทศ เช่น กัญชาในต่างประเทศกินดอก ไม่ไดใช้ใบ แต่ในไทยกลับกินใบ หากมีงานวิจัยสนับสนุนก็จะทำให้โอกาสกัญชามีมากขึ้น

  • อย.พร้อมอนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร

นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่าเมื่อปี 2562 ได้มีการออกพ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 ในหมวดที่ 11 ได้ส่งเสริมผู้ประกอบการ ผู้ผลิตหรือผู้ขายสนับสนุนให้เกิดความรู้ และการสร้างเครือข่าย การรวมตัว เพื่อพัฒนาผู้ผลิตให้มีความรู้ความสามารถในเรื่องสมุนไพร อันนำไปสู่การพัฒนาสมุนไพรเติบโตทางเศรษฐกิจ

“อย.ได้มีการสนับสนุนในเรื่องสมุนไพรอย่างมาก ทั้งในเรื่องการอนุญาตผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภทให้ออกสู่ตลาดง่ายขึ้น เร็วขึ้น ลดต้นทุนทางธุรกิจ สถานที่ผลิตเอื้อต่อระบบการจ้างผลิต และการขยายใบอนุญาตด้านสถานที่และผลิตภัณฑ์ให้ยาวขึ้นเป็น 5 ปี รวมถึงจัดตั้งกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร กองผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรมฯ กองความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืชสมุนไพร ทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีการศึกษาให้คำปรึกษา วิจัย มีการขึ้นบัญชียาหลัก 90 รายการ และมีการส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าถึงผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรมากขึ้น” นพ.สุรโชค กล่าว

\"สมุนไพรไทย\"โกอินเตอร์ได้อย่างไร? แนะเริ่มจากคนไทยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

ทั้งนี้ การส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยต้องมีการทำให้เห็นคุณค่า และประโยชน์ผลที่เกิดใช้อย่างชัดเจน ปัจจุบันในส่วนของกัญชากัญชงนั้น ตอนนี้มีการนำมาสกัดเป็นยา และเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยในส่วนของอย.จะผลักดันให้ผู้ผลิตสามารถขึ้นทะเบียนได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น แต่การจะขอขึ้นทะเบียนได้ต้องมีความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคเป็นสำคัญ