รู้จัก "แพกซ์โลวิด" และ "โมลนูพิราเวียร์" ทางเลือกใหม่ รักษาโควิด

รู้จัก "แพกซ์โลวิด" และ "โมลนูพิราเวียร์" ทางเลือกใหม่ รักษาโควิด

ทุกวันนี้ การพัฒนาทั้งวัคซีนป้องกันโควิด-19 และยารักษา ได้ก้าวหน้าไปมาก จากเดิมที่เราเคยใช้ "ฟาวิพิราเวียร์" จำนวนมาก แต่ขณะนี้ บริษัท เมอร์ค และไฟเซอร์ ได้มีการพัฒนายาต้านไวรัส เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโควิด

แต่เดิม ยาที่ใช้รักษา "โควิด-19" คือ มักจะคุ้นหูคือ "ยาฟาวิพิราเวียร์" แต่ล่าสุด เริ่มมีการพัฒนายาตัวใหม่ออกมา เพื่อเป็นทางเลือกในการ "รักษาโควิด-19" อย่าง "ยาโมลนูพิราเวียร์"  (Molnupiravir) และ "ยาแพกซ์โลวิด" (PAXLOVID) เพื่อรักษาโควิด-19 สำหรับยาทั้ง 2 ตัว มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร กรุงเทพธุรกิจได้รวบรวบ ดังนี้
 

  • “ยาโมลนูพิราเวียร์”

 

ผู้ผลิต : บริษัท เมอร์ค แอนด์ โค (Merck & Co.) 

 

ประสิทธิภาพ และการใช้งาน 


• ช่วยไม่ให้ความรุนแรงถึงเข้านอน รพ.ได้
• ไม่มีผู้เสียชีวิตในกลุ่มที่ได้รับยา 
• ใช้กรณีไข้หวัดใหญ่ได้ด้วย
• ใช้ได้กับไวรัสก่อโรคโควิด-19 ทุกสายพันธุ์
• ยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน เพื่อไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวนในร่างกาย

 

การทดสอบ

 

ข้อมูลการวิเคราะห์เบื้องต้น จำนวน 775 คน ให้ยาโมลนูพิราเวียร์ 385 คน และยาหลอก 377 คน โดยยาโมลนูพิราเวียร์รับประทานมื้อละ 4 เม็ด วันละ 2 มื้อเช้า-เย็นเป็นเวลา 5 วัน ต่อคนจะใช้ยาจำนวน 40 เม็ดในการรักษา

ผลเบื้องต้นพบว่า ลดความเสี่ยงการนอน รพ./เสียชีวิตภายใน 29 วัน ได้ประมาณ 50% โดยไม่มีผู้เสียชีวิตในกลุ่มที่ได้ยาโมลนูพิราเวียร์

 

คืบหน้าล่าสุด 

 

ขณะนี้ FDA สหรัฐ อเมริกากำลังพิจารณา คาดว่าหากผ่านการขึ้นทะเบียนเรียบร้อย น่าจะมีการนำยาเข้ามาในประเทศไทยราวช่วง ธ.ค.2564 - ต้นปี 2565 คาดว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 9 พ.ย.นี้จะมีการเสนออนุมัติงบการจัดซื้อยาโมนูลพิราเวียร์

  • "ยาแพกซ์โลวิด"

 

ผู้ผลิต : บริษัท ไฟเซอร์

 

ประสิทธิภาพและการใช้งาน

 

• ช่วยไม่ให้ความรุนแรงถึงเข้านอน รพ.ได้
• ไม่มีผู้เสียชีวิตในกลุ่มที่ได้รับยา 
• ใช้เฉพาะโรคโควิด-19 
• ใช้ได้กับไวรัสก่อโรคโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ 
• ยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน เพื่อไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวนในร่างกาย

 

การทดสอบ 

 

ยาแพกซ์โลวิด จะต้องใช้คู่กับยาริโทนาเวียร์ ข้อมูลการวิเคราะห์เบื้องต้น จำนวน 774 คน กลุ่มให้ยา แพกซ์โลวิด คู่กับ ยาริโทนาเวียร์ 389 คน และยาหลอก 385 คน โดยรับประทาน 2 เม็ดต่อมื้อ ร่วมกับยาริโทนาเวียร์ 1 เม็ด รับประทานร่วมกันวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน

 

ดังนั้น 1 คน ต้องรับประทานยาแพกซ์โลวิด 20 เม็ด และริโทนาเวียร์ 10 เม็ด รวม 30 เม็ดต่อคนต่อครั้งการรักษา พบว่า ลดความเสี่ยงการนอนโรงพยาบาล/เสียชีวิตภายใน 28 วัน ประมาณ 89% กรณีให้ยาภายใน 3 วันนับตั้งแต่เริ่มมีอาการ ประมาณ 85 % กรณีให้ยาภายใน 5 วันนับตั้งแต่เริ่มมีอาการ และไม่มีผู้เสียชีวิตในกลุ่มที่ได้ยาแพกซ์โลวิดคู่กับริโทนาเวียร์

 

คืบหน้าล่าสุด 

 

ไทม์ไลน์การนำยาแพกซ์โลวิดเข้ามาใช้ในประเทศไทยนั้น กรมการแพทย์ ได้มีการหารือกับบริษัทไฟเซอร์ เกี่ยวกับข้อมูลยาและการวิจัยตั้งแต่เดือนส.ค.2564 ตอนนั้นผลวิจัยยายังไม่ออก หลังคุยข้อมูลเบื้องต้น และมีการลงนามรักษาความลับไม่ให้เปิดเผยข้อมูล ต่อมาเดือนต.ค.มีการหารือเป็นรอบที่ 2 เกี่ยวกับความก้าวหน้าโครงการวิจัย

 

ณ ปัจจุบันผลการศึกษาวิจัยเบื้องต้นออกมาแล้ว จะมีการหารือร่วมกันรอบที่ 3 ในวันที่ 12 พ.ย. นี้ เกี่ยวกับความเป็นไปได้กับการจัดหายามาใช้ ประมาณการว่าบริษัท ไฟเซอร์ น่าจะยื่นขออนุญาตกับ FDA สหรัฐอเมริกา ในเร็วๆ นี้ หลังจากนั้นจะมีความก้าวหน้าในการจัดหายาแพกซ์โควิดเพิ่มขึ้น จะนำข้อมูลมาแจ้งต่อไป

  • ทั้ง 2 ตัวยา ใช้ในคนไข้กลุ่มใด 

 

ยา 2 ตัว จะใช้ได้ดีในคนที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง

เป็นกลุ่มเสี่ยงคือ ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป

มีโรคเรื้อรัง อาทิ โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ เบาหวาน อ้วน เป็นต้น 

 

  • ผลข้างเคียงทั้ง 2 ตัว 

 

ในผลการศึกษา ยังไม่มีอาการข้างเคียงรุนแรง ส่วนข้อห้ามใช้นั้นเหมือนกับยาทั่วๆ ไปคือ ยังไม่แนะนำในคนที่มีความผิดปกติของตับรุนแรง ไตรุนแรง เอชไอวีที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมากๆ เนื่องจากยังไม่ได้มีการศึกษาวิจัยในกลุ่มนี้ 

 

  • ความแตกต่างจาก ฟาวิพิราเวียร์ 

 

สำหรับ ความแตกต่างของยาทั้ง 2 ตัว กับ ยาฟาวิพิราเวียร์ ที่ประเทศไทยใช้รักษาผู้ติดโควิด-19 พบว่า ยาแพกซ์โลวิด และ ยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นการศึกษาในผู้ป่วยโควิดโดยเฉพาะ แต่ยาฟาวิพิราเวียร์เป็นยาที่ใช้รักษาไวรัสตัวอื่นมาก่อน เมื่อเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 จึงนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 และได้ผล

พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์