เจาะลึก "อุโมงค์ยักษ์" ระบายน้ำ แผนสร้าง 6 จุดวงเงิน 2.6 หมื่นล้าน!

เจาะลึก "อุโมงค์ยักษ์" ระบายน้ำ แผนสร้าง 6 จุดวงเงิน 2.6 หมื่นล้าน!

เมื่อ "อุโมงค์ยักษ์" เป็น "เส้นเลือดใหญ่" การระบายน้ำท่วมในพื้นที่จุดอ่อนของกรุงเทพฯ ตามโรดแมพก่อสร้าง 6 เส้นทาง มูลค่า 2.6 หมื่นล้าน!

ยังอยู่ในช่วงเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด สำหรับสถานการณ์ฝนที่ตกหนักสะสมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน ก่อนจะไหลสู่พื้นที่กรุงเทพฯโดยเฉพาะ "พื้นที่เฝ้าระวัง" นอกคันกั้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำขึ้นสูงกระทบ 11 ชุมชน 239 ครัวเรือนในพื้นที่ 7 เขต 1-5 ต.ค.

จากระบบป้องกันน้ำท่วมของหน่วยงาน กทม.สำหรับรับมือ "น้ำเหนือ" ในแนวป้องกันน้ำท่วมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กทม.ได้ก่อสร้างตั้งแต่คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ ปากคลองชักพระ และคลองพระโขนง ความยาว 87.93 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จ 78.93 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่เอกชนไม่สามารถเข้าไปได้

เจาะลึก \"อุโมงค์ยักษ์\" ระบายน้ำ แผนสร้าง 6 จุดวงเงิน 2.6 หมื่นล้าน!

ขณะที่อีกหนึ่งระบบหลักในระบบป้องกันน้ำท่วม ของกทม.ยังอยู่ที่ "อุโมงค์ยักษ์" ระบายน้ำระดับเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5-5.0 เมตรกระจายอยู่ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งหลักทำงาน "อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่" เป็นเครือข่ายระบายน้ำจุดที่มีปัญหาน้ำท่วม หากกรณีที่ท่อระบายน้ำ คู คลอง ในพื้นที่ เกินขีดจำกัดรับมือการระบายน้ำไปยังแม่น้ำเจ้าพระยา 

"กรุงเทพธุรกิจ" ตรวจสอบไปที่ "แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครประจำปี 2564" สำนักการระบายน้ำ ได้ระบุถึงข้อมูล "อุโมงค์" ระบายน้ำใต้ดินขนาดใหญ่" ที่ก่อสร้างไปแล้ว จำนวน 4 แห่ง ความยาวรวม 19.37 กิโลเมตร มีประสิทธิภาพการระบายน้ำรวม 195 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ต่อวินาที แบ่งเป็นดังนี้ 

1.โครงการก่อสร้างระบบผันน้ำเปรมประชากร ขีดความสามารถระบายน้ำ 30 ลบ.ม.ต่อวินาที อุโมงค์ใต้ดินมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.40 ม. ยาวประมาณ 1.88 กม. แก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ตอนบนกรุงเทพฯ ริมคลองเปรมประชากร เขตบางซื่อ จตุจักร หลักสี่ และดอนเมือง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3.50 ตารางกิโลเมตร(ตร.กม.)

2.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสันลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ขีดความสามารถระบายน้ำ 45 ลบ.ม.ต่อวินาที ท่อระบายน้ำใต้ดิน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.60 เมตร ยาวประมาณ 5.98 กม. ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เขตวัฒนา ปทุมวัน ราชเทวี พญาไทห้วยขวาง และเขตดินแดง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26 ตร.กม.             

3.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50 ตร.กม. ได้แก่ เขตห้วยขวาง บางกะปิ บึงกุ่ม วัฒนา วังทองหลาง และเขตลาดพร้าว อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ยาวประมาณ 5.11 กม. ขีดความสามารถระบายน้ำ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที 

4.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ จากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มบริเวณถนนรัชดาภิเษกลอดใต้คลองบางซื่อ ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกียกกาย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 56 ตร.กม. ได้แก่ เขตห้วยขวาง ดินแดง พญาไท จตุจักรลาดพร้าว วังทองหลาง บางซื่อ และเขตดุสิต อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ม. ยาวประมาณ 6.40 กม. และก่อสร้างสถานีสูบน้ำตอนปลายอุโมงค์กำลังสูบ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที

เจาะลึก \"อุโมงค์ยักษ์\" ระบายน้ำ แผนสร้าง 6 จุดวงเงิน 2.6 หมื่นล้าน!

นอกจากนี้ ในแผนพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วม กทม.เตรียมเดินหน้าก่อสร้าง "อุโมงค์ยักษ์" อีก 6 แห่ง ความยาวรวม 39.625 กิโลเมตร มีประสิทธิภาพระบายน้ำอยู่ที่ 238 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยกำหนดไทม์ไลน์ก่อสร้าง แบ่งเป็น 2 โซน ดังนี้ 

"โซนแรก" โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย 

1.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ครอบคลุมเขตประเวศ บางนา พระโขนง และสวนหลวงประสิทธิภาพ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ม. ยาวประมาณ 9.40 กม. งบประมาณ 4,925 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2565 

เจาะลึก \"อุโมงค์ยักษ์\" ระบายน้ำ แผนสร้าง 6 จุดวงเงิน 2.6 หมื่นล้าน!

2.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองเปรมประชากรจากคลองบางบัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ครอบคลุมเขตดอนเมือง สายไหม บางเขน หลักสี่ และเขตจตุจักร ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมงานก่อสร้าง ประสิทธิภาพ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.70 ม. ยาวประมาณ 13.50 กม. งบประมาณ 9,800 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2569 

เจาะลึก \"อุโมงค์ยักษ์\" ระบายน้ำ แผนสร้าง 6 จุดวงเงิน 2.6 หมื่นล้าน!

3.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบจากอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าวถึงบริเวณซอยลาดพร้าว 130 ครอบคลุมเขตบางกะปิ สะพานสูง บึงกุ่ม และเขตคันนายาว ประสิทธิภาพ 30 ลบ.ม.ต่อวินาที ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.60 ม. ยาวประมาณ 3.8 กม. งบประมาณ 1,751 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567 

เจาะลึก \"อุโมงค์ยักษ์\" ระบายน้ำ แผนสร้าง 6 จุดวงเงิน 2.6 หมื่นล้าน!

4.โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ จากถนนรัชดาภิเษกถึงคลองลาดพร้าว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนเขตห้วยขวาง เขตลาดพร้าว และเขตจตุจักร ประสิทธิภาพ 38 ลบ.ม.ต่อวินาที ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ม. ยาวประมาณ 1.7 กม. งบประมาณ 1,700 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในปี 2566 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2568 

เจาะลึก \"อุโมงค์ยักษ์\" ระบายน้ำ แผนสร้าง 6 จุดวงเงิน 2.6 หมื่นล้าน!

"โซนสอง" โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย 

5.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนาบริเวณคอขวด ครอบคลุมเขตทวีวัฒนา หนองแขม และเขตบางแค ประสิทธิภาพ32 ลบ.ม.ต่อวินาที ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.70 ม. ยาวประมาณ 2.03 กม. งบประมาณ 2,374 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567

เจาะลึก \"อุโมงค์ยักษ์\" ระบายน้ำ แผนสร้าง 6 จุดวงเงิน 2.6 หมื่นล้าน!

6.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี จากคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย ประสิทธิภาพ 48 ลบ.ม.ต่อวินาทีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ม. ยาวประมาณ 9.195 กม. งบประมาณ 6,130 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2569

เจาะลึก \"อุโมงค์ยักษ์\" ระบายน้ำ แผนสร้าง 6 จุดวงเงิน 2.6 หมื่นล้าน!

ทั้งนี้ รวมประสิทธิภาพการสูบน้ำจากอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 6 แห่ง 238 ลบ.ม.ต่อวินาที ความยาวอยู่ที่ 39.625 กิโลเมตรวงเงินงบประมาณทั้งหมดอยู่ที่ 26,580 ล้านบาท

ขณะที่การวางระบบบริหารจัดการน้ำร่วมกับพื้นที่จังหวัด "ปริมณฑล" กทม.ได้จัดทำ "ข้อตกลงร่วม" แบ่งเป็นดังนี้

1.พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา กทม.มีข้อตกลงบริหารจัดการน้ำกับพื้นที่รอบนอก เชื่อมต่อกับปริมณฑลด้านเหนือจากแนวริมคลองมหาสวัสดิ์ เขตทวีวัฒนา ได้แก่ ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ประตูระบายน้ำคลองซอย ประตูระบายน้ำคลองบางคูเวียง ประตูระบายน้ำคลองขุนศรีบุรีรักษ์ และประตูระบายน้ำคลองควาย 

ในโซนนี้ กทม.จะเปิดประตูระบายน้ำตลอดเวลา แต่ในช่วงฤดูฝนจะควบคุมระดับน้ำภายในพื้นที่ฝั่งธนบุรีไม่เกิน +0.80 ม.รทก. แต่ถ้าระดับน้ำมากกว่านี้ จะเปิดประตูบางส่วนหรือปิดประตูระบายน้ำทั้งหมด โดยขึ้นอยู่กับสภาพฝนและระดับน้ำภายในพื้นที่ 

2.พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา กทม.มีข้อตกลงบริหารจัดการน้ำพื้นที่รอบนอก เชื่อมต่อกับปริมณฑลด้านเหนือ คลองเปรมประชากรตอนประตูระบายน้ำคลองเปรมใต้ (ติดคลองรังสิต) โดยประตูดังกล่าวประกอบด้วย ประตูแบบปิด และติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 3 ลบ.ม.ต่อวินาที จำนวน 4 เครื่อง อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักชลประทานที่ 11 แต่ช่วงฤดูฝนจะเดินเครื่องสูบน้ำรักษาระดับน้ำด้านใน ไม่เกิน +0.50 ม.รทก. และช่วงฤดูแล้งจะเปิดบานประตูเพื่อนำน้ำจากคลองรังสิตผ่านเข้ามาไหลเวียน  

ทั้งหมดเป็นผังระบบระบายน้ำท่วม กทม.ในโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำยักษ์ ซึ่งเป็น "เส้นเลือดใหญ่" การระบายน้ำในพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมของกรุงเทพฯ ตามโรดแมพก่อสร้าง 6 เส้นทางจะแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2565-2569 

เจาะลึก \"อุโมงค์ยักษ์\" ระบายน้ำ แผนสร้าง 6 จุดวงเงิน 2.6 หมื่นล้าน!