อาการต้องจับตาใกล้ชิด หลังเด็กฉีดวัคซีนโควิด-19

อาการต้องจับตาใกล้ชิด หลังเด็กฉีดวัคซีนโควิด-19

สธ.ระบุผู้ปกครองพร้อมให้เด็กฉีดวัคซีนโควิด-19 กว่า 3.6 ล้านคน คิดเป็น 71 % เร่งกระจายลงพื้นที่  เผยเดือนต.ค.มีวัคซีนเข้ารวม 10 ล้านโดส ทุกจ.ได้ตามยอดแจ้ง ไม่กำหนดวันหมดเขตรับวัคซีน  ย้ำอาการต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด 30 วันหลังฉีด

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 1 ต.ค.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข่าวสถานการณ์โควิด-19 ของ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า จากยอดการฉีดวัคซีนโควิด-19 วันนี้ที่มี รายงานฉีดเพิ่มขึ้น 2,288,728 โดสนั้น เนื่องจากการปรับปรุงฐานข้อมูล จึงเแยกเป็น 2 ส่วน คือ  มีการบันทึกข้อมูลเพิ่มขึ้นจากที่ตกหล่นจากการบันทึกที่มีการฉีดนอกจุดฉีด
     เช่น ในชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) จำนวน 1,700,523 โดส และ2.การฉีดเพิ่มขึ้นของเมื่อวันที่ 30 ก.ย.2564 จำนวน  588,205 โดส ทำให้นำ 2 ส่วนนี้มารวมกันและรายงานรวมเป็นยอดของวันนี้   ขณะนี้ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนโควิด-19สะสมแล้ว 53,784,812 โดส เป็นเข็ม 1 จำนวน 32,577,832 โดส คิดเป็น 45.2 % และเข็ม 2 จำนวน 19,838,574 โดส คิดเป็น 27.5 % 

        นพ.เฉวตสรร กล่าวอีกว่า  สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็กนักเรียนอายุ 12-17 ปี มีระบบเฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัยต่อเนื่องเหมือนผู้ใหญ่ พ่อแม่ไม่ควรกังวล แต่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมั่นใจ ในเรื่องนี้ สธ.และเครือข่ายระบบ รพ. กำลังมีหนังสือแจ้งไปเพิ่มเติมย้ำว่า หลังฉีดวัคซีน หากผู้ปกครองหรือนักเรียนมีอาการผิดปกติมาแจ้ง ให้รีบดูแลตามแนวทางที่ถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน

  การฉีดวัคซีนเด็กในกลุ่มอายุน้อย ใช้วัคซีนmRNA อาจทำให้มีกล้ามนื้อหัวใจอักเสบได้ แต่อัตราต่ำมาก แต่ก็ต้องเตรียมการให้ดี อาการเฝ้าระวังสำคัญในนักเรียนที่ต้องสังเกต คือ แน่นหน้าอกเจ็บหน้าอก หอบ เหนื่อยงาย ใจสั่น  หมดสติ  เป็นลม  ส่วนการแพ้รุนแรงนั่งสังเกตอาการ 30 นาที
      ส่วนอาการอื่นๆต้องติดตาม 30 วันหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 และข้อปฏิบัติภายใน 7 วันหลังฉีดไม่แนะนำให้ออกกำลังกายหนัก ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจเหนื่อยจากออกกำลังกาย แต่แยกไม่ได้ว่าเป็นผลจากวัคซีนหรือไม่ ขอให้เฝ้าระวังสังเกตอาการ และแม้มีอาการดังกล่าว แต่ไม่ได้จะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาจเป็นอย่างอื่นได้

           กรณีเด็กชาย มีโรคประจำตัวเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 สรุปว่าไม่ได้เกิดจากวัคซีน  โดยกรณีนี้เกิดที่กทม. เป็นเด็นชายอายุ 12 ปี โรคประจำตัวเป็นเบาหวานชนิดแต่กำเนิด ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน สามารถฉีดยาเบาหวานอินซูลิน 3 เวลาได้เอง รักษาต่อเนื่อง รพ.รามาธิบดี ฉีดไฟเซอร์ เมื่อ 14 ก.ค. จนวันที่ 12 ส.ค. เริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน กินข้าวได้น้อย มือสั่นใจสั่น ไม่ซึม ไม่มีไข้ ไม่เจ็บหน้าอก ไม่มีเหนื่อยง่าย ไม่มีไข้  ห่าง 3 สัปดาห์จากที่ฉีดวัคซีน จนเช้า 13 ส.ค.นอนไม่รู้สึกตัว นำส่งรพ.และเสียชีวิต มีการตรวจชิ้นเนื้อไม่พบการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ  ตรวจพบระดับน้ำตาลในสารน้ำในลูกตาสูงมาก สาเหตุารตาย สันนิษฐาน ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานเรื้อรัง

   นพ.เฉวตสรร กล่าวด้วยว่า จากการรวบรวมรายชื่อนักเรียนมาจากการแสดงความจำนงของผู้ปกครองที่แจ้งอประสงค์ให้นักเรียน/นักศึกษารับการฉีดวัคซีน มายังร.ร. และส่งให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่ ซึ่งมียอดรวมเด็กที่เข้าเกณฑ์รับวัคซีนทั่วประเทศ 5,048,000 คน แจ้งเจตจำนงรับวัคซีนกว่า 3 .6 ล้านคน คิดเป็น 71 %  โดยจะฉีดต่อเนื่อง
    ทั้งนี้ วัคซีนที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ให้ฉีดในเด็ก 12 ปีขึ้นไปได้ มี 2 ตัว แต่ที่มีในประเทศไทยขณะนี้ คือ วัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งจากข้อสรุปของอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ระบุว่า ให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน3-4 สัปดาห์ ส่วนที่มีข้อมูลวิชาการการลดจำนวนเข็มและการแยกความเสี่ยงระหว่างเพศชายและหญิงนั้น  
    ขณะนี้ข้อแนะนำเป็นข้อปฏิบัติอยู่แล้วในสหรัฐอเมริกาถือว่ามีความปลอดภัยสูง อย่างไรก็ตาม  หากมีข้อมูลวิชาการเพิ่มเข้ามาก็จะนำมาพิจารณาให้ข้อเสนอแนะต่อไป โดยใครที่มีนัดฉีดวัคซีนแข็มแรกให้ไปฉีดตามนัดก่อน ส่วนเข็มที่ 2  หากมีการปรับเปลี่ยนก็มีจังหวะระยะห่างระหว่างเข็ม1และ2 ที่จะประกาศให้ทราบได้ โดยจะก่อนกำหนดฉีดเข็มที่ 2  

       “ถ้าเริ่มฉีดในสัปดาห์แรกของเดือนต.ค. เข็ม 2ก็จะได้รับไม่เกินสัปดาห์ที่ 4 แต่หลายพื้นที่อาจไม่ได้ฉีดเข็มที่ 1 เสร็จสิ้นในสัปดาห์เดียว อาจมีเหลื่อมไปสัปดาห์2 ก็ให้พื้นที่พิจารณาไม่ให้กระทบเปิดเรียน นอกจากนี้ ไม่ได้มีการกำหนดวันหมดเขตรับวัคซีน  หากผู้ปกครองเปลี่ยนใจแจ้งเจตจำนงให้นักเรียนรับวัคซันในภายหลังก็สามารถดำเนินการได้  ซึ่งหลักๆจะฉีดใน ต.ค. แต่ใครตกหล่น ก็แจ้งขอฉีดภายหลังได้ไม่ได้เสียสิทธิ”นพ.เฉวตสรรกล่าว 

        นพ.เฉวตสรร กล่าวอีกว่า วัคซีนไฟเซอร์ที่ส่งมอบเข้ามาในประเทศไทยแล้วขณะนี้ 2 ล้านโดส และส่งอีก 8 ล้านโดสภายในเดือนต.ค. ก็จะมีวัคซีนเพียงพอรองรับให้กับนักเรียนที่แจ้งเจตจำนงในการฉีด ส่วนวัคซีนล็อตแรกที่เข้ามาแล้วนั้นจะมีการกระจายไปในทุกจังหวัด ตามจำนวนที่จังหวัดแจ้งยอดเข้ามาจนครบภายในเดือนต.ค. แต่จะเป็นการทยอยจัดสรร และในการคิกออฟเริ่มฉีดในวันที่ 4 ต.ค.พร้อมกันทั่วประเทศ แต่บางจังหวัดที่อาจจะไม่ได้มีความพร้อมก็อาจจะเริ่มในวันที่ 5 ต.ค.ก็ได้ขึ้นกับการบริหารของแต่ละพื้นที่