สรุปไทม์ไลน์ 'วัคซีนโควิด-19' อย่าง 'วัคซีนไฟเซอร์' 1.5 ล้านโดส ได้ฉีดเมื่อไหร่

ตรวจสอบรายละเอียดตารางเวลา "วัคซีนโควิด-19" อย่าง "วัคซีนไฟเซอร์" 1.5 ล้านโดส ที่กำลังจะจัดส่งเข้ามายังประเทศไทย มีรายละเอียดขั้นตอนอย่างไร และจะได้ฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมาย เมื่อไหร่
รายงานจาก ศบค. ถึงกรณีแผนจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส ที่จะดำเนินการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำ อินโฟกราฟิกชี้แจงถึงรายละเอียดต่างๆ ของการดำเนินแผนงานเกี่ยวกับวัคซีนไฟเซอร์ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้
วัคซีนไฟเซอร์ ฉีดอย่างไร
วัคซีนโควิด-19 ของ ไฟเซอร์ นั้น 1 ขวด ผสมได้ 2.25 มล. หรือมีปริมาณวัคซีน 1 ขวด เท่ากับ 6 โดส สำหรับการฉีดวัคซีนนั้น จะฉีดโดสละ 0.3 มล. เข้าชั้นกล้ามเนื้อ โดยระยะเวลาในการฉีดเข็มที่ 2 นั้นจะห่างกัน 3 สัปดาห์ สามารถฉีดให้กับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป
ส่วนการเก็บรักษานั้น หากเก็บรักษาในอุณหภูมิ -90 ถึง -60 องศาเซลเซียล จะสามารถเก็บไว้ใช้งานได้ 6 เดือน แต่หากเก็บรักษาในอุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส จะมีอายุการใช้งาน 1 เดือน
ใครที่จะได้รับวัคซีนไฟเซอร์บ้าง
สำหรับการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์จากมติที่ประชุมคณะบริหารฯ วัคซีนโควิด-19 กรณีวัคซีนไฟเซอร์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคทม 2564 ที่ผ่านมา สามารถสรุปได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า (ฉีดเข็ม3)
- มีชื่อในฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ทั่วประเทศ 77 จังหวัด
- ได้รับวัคซีนซิโนแวคแล้ว 2 เข็ม อย่างน้อย 4 สัปดาห์
- ยังไม่ได้รับวัคซีนแอสตร้าฯ เป็นเข็มที่ 3
- จำนวน 700,000 โดส
กลุ่มที่ 2 ผู้มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต
- เป็นผู้สูงอายุ สัญชาติไทย เฉพาะพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม
- เป็นผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค อายุ 12 ปีขึ้นไป
- หญิงตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป)
- จำนวน 645,000 โดส
กลุ่มที่ 3 ต่างชาติที่อาศัยในไทย
- เน้นผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรัง
- หญิงตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป)
- ผู้จำเป็นต้องเดินทางไป ตปท. (นักการทูต/นศ.)
- จำนวน 150,000 โดส
กลุ่มที่ 4 ใช้เพื่อศึกษาวิจัย
- ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการฯ
- จำนวน 5,000 โดส
และเตรียมไว้สำหรับสำรองส่วนกลาง
- เตรียมตอบโต้การระบาดเชื้อกลายพันธุ์
- จำนวน 40,000 โดส
วัคซีนไฟเซอร์มีไทม์ไลน์การจัดการเป็นอย่างไร
สำหรับขั้นตอนการจัดการวัคซีนโควิด-19 อย่าง วัคซีนไฟเซอร์นั้น สามารถแบ่งเป็นตารางเวลาได้ ดังนี้
30 กรกฎาคม 2564
วัคซีนล็อตบริจาค 1.5 ล้านโดสเดินทางถึงประเทศไทย จัดเก็บที่คลังวัคซีน ที่ -70 องศาเซลเซียส บ.ซิลลิค ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด จากนั้น ส่งตัวอย่างตรวจสอบคุณภาพ และความปลอดภัยที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
2 สิงหาคม 2564
ได้รับผลตรวจสอบคุณภาพ และความปลอดภัย
3-4 สิงหาคม 2564
บริษัทจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับ แพ็ควัคซีนเพื่อจัดส่ง
5-6 สิงหาคม 2564
จัดส่งวัคซีนล็อตแรก เข็มกระตุ้นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และเข็มที่ 1 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเป้าหมายถึงหน่วยบริการ
7-8 สิงหาคม 2564
โรงพยาบาลเตรียมความพร้อมฉีดวัคซีน
9 สิงหาคม 2564
หน่วยบริการเริ่มฉีดวัคซีน
กลางเดือนสิงหาคม 2564
จัดส่งวัคซีนเข็ม 2 สำหรับฉีดปลายเดือนสิงหาคม 2564
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข