ส่อง 'สถานการณ์เตียง' หลังวิกฤติ 'ผู้ป่วยโควิด' พุ่ง !

ส่อง 'สถานการณ์เตียง' หลังวิกฤติ 'ผู้ป่วยโควิด' พุ่ง !

ปัญหา 'สถานการณ์เตียง' รองรับ 'ผู้ป่วยโควิด' สีเหลืองแดงล้น ไม่สามารถรับเข้าสู่การรักษาได้ ถือเป็นวิกฤติ ที่ซ้ำเติมในวิกฤติ จนทุกหน่วยงานต้องเร่ง 'ขยายเตียง' รองรับผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในเขตกทม.และปริมณฑล

ขณะนี้ หนึ่งปัญหาของ 'ผู้ป่วยโควิด' สีเหลืองและสีแดง ที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ออกมายอมรับว่า ตอนนี้ไม่มีเตียงสีแดง อาทิ รพ.สังกัดกรมการแพทย์ อย่าง รพ.เลิดสิน และ รพ.นพรัตน์ฯ เตียงสีแดงเต็มตลอด ส่วนห้องฉุกเฉินจะมีคนไข้ที่เป็นสีแดงรออยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากยังเข้ารักษาไม่ได้

ขณะที่ สภาพโรงพยาบาลส่วนใหญ่ ไอซียู เป็น ไอซียูรวมไม่สามารถนำผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อมารวมกับผู้ป่วยติดเชื้อได้ เพราะจะทำให้คนที่ไม่ติดโควิด เป็นโควิด โดยทางกรมการแพทย์ ได้พยายามหาทางออก คือ หากจะเข้าโรงพยาบาล โดยเฉพาะห้องไอซียู จะต้องทำ RT-PCR แต่จะไม่ให้รอผล ถ้าหากมีเตียง ขอให้ผู้ป่วยแอดมิทเข้าไปก่อน และทำ RT-PCR ไปพร้อมๆ กัน หากผู้ป่วยรายนั้นไม่ได้ติดเชื้อ และผล RT-PCR ออกมาเป็นลบ จะได้แยกออกมาจากวอร์ดโควิด

162740833988

  • ไม่ให้ผลตรวจ RT-PCR เป็นปัญหาในการแอดมิท

“นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้พยายามจะไม่ให้ผลตรวจ RT-PCR เป็นปัญหาต่อการแอดมิท ถ้ามีเตียง ซึ่งตอนนี้ผลตรวจ RT-PCR อย่างเร็วคือ 2-3 ชั่วโมง ได้มีการเร่งในส่วนนี้ไปแล้ว ในกรณีนี้ รวมถึงคนไข้ที่ไม่สามารถแยกกักตัวรักษาที่บ้านได้ แล้วต้องไปศูนย์พักคอยรักษาผู้ติดเชื้อชุมชน แต่ขอให้แยกโซนและทำ RT-PCR ไปพร้อมๆ กัน

162740908936

ขณะเดียวกัน การระบาดโควิดรอบนี้ มีผู้ติดเชื้อเกินกว่าจำนวนเตียงที่มี ได้ใช้วิธี เช่น เอาผู้ป่วยบางส่วนไปยัง รพ.บุษราคัม ที่ในแต่ละวันจะมีเตียงว่าง ส่วนกองทัพบก มีการจัดตั้งคล้ายกับ รพ.สนาม โดยมีการระดมแพทย์จาก รพ.ค่าย ทั่วประเทศมาช่วย เนื่องจากกรุงเทพฯ ตอนนี้ทางโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลสังกัดกทม. โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ อัตรากำลังเต็มหมดแล้ว หากได้แพทย์จากกองทัพฯ มาช่วยแล้วทำเป็นลักษณะของศูนย์แรกรับ และส่งต่อเหมือนที่นิมิบุตร ก็จะมีการรับคนไข้เข้ามาอยู่ชั่วคราว และเมื่อโรงพยาบาลบุษราคัมหรือที่ไหนว่างก็จะมีการหมุนเวียนคนไข้ต่อไป

162740834770

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

  • 'สถานการณ์เตียง' กทม. ปริมณฑล

หากมาดูสถานการณ์ เตียงกทม.และปริมณฑล ข้อมูลจากกรมการแพทย์ล่าสุด วันที่ 24 ก.ค. 64 พบว่า เตียงทั้งหมด 36,977 เตียง ครองเตียง 37,668 เตียง เตียงว่าง -691 เตียง มีอัตราครองเตียงอยู่ที่ 101.9 แบ่งเป็น

  • AIIR-ICU ห้องความดันลบ 297 เตียง ครองเตียง 336 เตียง เตียงว่าง -39 เตียง
  • Modified AIIR จำนวน 570 เตียง ครองเตียง 835 เตียง เตียงว่าง -265 เตียง
  • Cohort ICU ห้องไอซียูรวม 421 เตียง ครองเตียง 439 เตียง เตียงว่าง -18 เตียง
  • Isolated room ห้องแยก 4,358 เตียง ครองเตียง 4,698 เตียง เตียงว่าง -340 เตียง
  • Cohort Ward ห้องสามัญ 11,652 เตียง ครองเตียง 12,959 เตียง เตียงว่าง -1,307 เตียง
  • ฮอทพิเทล 16,643 เตียง ครองเตียง 15,622 เตียง เตียงว่าง 1,021 เตียง
  • เตียงสนาม 3,036 เตียง ครองเตียง 2,779 เตียง เตียงว่าง 257 เตียง

162740797365

จากสถานการณ์การระบาดต่อเนื่องและรุนแรงในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ทำให้ขณะนี้สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีอาการหนักใน รพ.บุษราคัม มีจำนวนมากขึ้น ที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบให้พัฒนาพื้นที่รองรับผู้ป่วยวิกฤติสีแดงเข้มเพิ่มจำนวน 17 เตียง และได้จัดงบประมาณในการจัดหาเครื่องช่วยหายใจไฮไฟลว์ และอุปกรณ์การแพทย์ที่สำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม

รวมทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนเครื่องช่วยหายใจไฮโฟลว์เพิ่มอีก 45 เครื่อง เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยซึ่งขณะนี้ที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน 700 ราย และต้องใส่เครื่องช่วยใจไฮโฟลว์ 200 ราย ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา โดยจนถึงวันที่ 17 กรกฎาคม 2564 มีผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจไฮโฟลว์ 158 ราย, ช่วงวันที่ 18 - 22 กรกฎาคม 2564 มีจำนวน 164 ราย

  • ศบค. เร่ง 'ขยายเตียง รองรับ รพ.หลัก 32 แห่ง

ทั้งนี้ ที่ประชุมศบค. ได้หารือ มาตรการการขยายเตียง ซึ่งก่อนหน้านี้ในส่วนของเตียงที่รองรับ รพ.หลัก 32 แห่งทั้งรัฐเอกชน ไอซียูสนาม 4 แห่ง รพ.สนาม 7 แห่ง โดยมีการปรับแผนต่อเนื่อง ล่าสุด รพ.บางปะกอก 1 ซึ่งเข้ามาช่วยดูแลประชาชนติดเชื้อในส่วนของ Community Isolation จะเพิ่มได้อีก 200 เตียงในต้นเดือนส.ค.ที่เขตทุ่งครุ ฮอสพิเทล ร่วมกับ โรงแรมคินเจริญนคร เขตธนบุรี จะเพิ่มได้อีก 500 เตียง โรงแรมบางกอกซิตี้สวีท เขตราชเทวีอีก 300 เตียง รพ.สนามเพิ่มอีก 140 เตียงในเขตราษฎร์บูรณะ มี สีเหลือง 60 เตียง แดง 30 เตียง เขียว 50 เตียง เปิดในเดือนส.ค.นี้ และปรับหอผู้ป่วยที่มีอยู่อีก 100 เตียงเป็นสีเหลือง รองรับในช่วงก.ย.นี้

  • รพ.ปิยะเวท เตรียมรองรับ ป่วยเหลืองแดง สี่มุมเมือง

ด้าน รพ.ปิยะเวท กำลังสำรวจพื้นที่รองรับทั้งเหลืองและแดง ทั้งสี่มุมเมือง สุขสวัสดิ์ บางบอน รามอืนทรา รังสิต รวมทั้ง พยายามจะเพิ่มเตียงระดับสีเหลือง แดง เช่นเดียว รพ. มงกุฏวัฒนะ มีแผนเพิ่มเตียงทั้งหมด 3,320 เตียงภายในส.ค. ซึ่งเตียงกลุ่มนี้นอกจากจะบวกไป 198 เตียงที่รพ.สนามพลังแผ่นดินแล้ว จะเป็นเตียงระดับที่ดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ออกซิเจนไฮโฟลว์ กลุ่มผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาไตต้องฟอกเลือก

รวมทั้งกลุ่มที่อาจจะต้องมีการผ่าตัดทำคลอด ซึ่งจะเป็นปัญหาในทุกรพ. เพราะถ้าผลตรวจโควิด หลายรพ.ก็จะมีศักยภาพจำกัดในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินต้องการผ่าตัด ทำคลอดตรงนี้รพ.รับที่จะช่วยเปิดให้บริการตรงนี้ด้วย รวมทั้ง รพ.พลังแผ่นดิน 2 หรือพิทักษ์ราชันต์ เปิดเพิ่มอีก 720 เตียง และ รพ.พลังแผ่นดิน 3 ชื่อ รพ.ใต้ร่วมพระบารมี เพิ่มอีก 1,800 เตียง และรพ.กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน เพิ่มจาก 320 เป็น 400 เตียง

162740797359

 

  • กทม. เร่ง 'ขยายเตียง' ผู้ป่วยสีเหลือง สีแดง

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร รายงานศบค.วานนี้(27ก.ค.) เผยสรุปภาพรวมการขยายศักยภาพ รพ.สนาม ฮอสพิเทล และศูนย์พักคอย ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมี รพ.หลัก 8 แห่ง รพ.สนาม 7 แห่ง ฮอสพิเทล 4 แห่ง และศูนย์พักคอย 7 แห่ง ดังนี้

“เตียงปัจจุบัน” 

  • ผู้ป่วยสีเขียว 3,488 เตียง
  • ผู้ป่วยสีเหลือง 903 เตียง
  • ผู้ป่วยสีแดง 60 เตียง
  • รวม 4,451 เตียง

“แผนปรับเตียง” 

  • ผู้ป่วยสีเขียว 887 เตียง
  • ผู้ป่วยสีเหลือง 3,845 เตียง
  • ผู้ป่วยสีแดง 80 เตียง
  • รวม 4,812 เตียง

พร้อมกับ เพิ่มเตียงรองรับผู้ป่วยสีเหลือง และสีแดง มีดังนี้ 

“เพิ่มเตียงสีเหลือง” 

  • รพ.หลัก 188 เตียง
  • รพ.สนาม 1,665 เตียง 
  • ฮอสพิเทล 103 เตียง
  • ศูนย์พักคอย 986 เตียง
  • รวม 2,942 เตียง

“เพิ่มเตียงสีแดง”

  • 20 เตียง 

162740622279

  • เร่งเปิด 'ศูนย์พักคอย' 50 เขตกทม.

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร ได้จัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation) เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่สามารถกักตัวที่บ้านได้ (Home Isolation : HI) โดยแยกผู้ป่วยออกมาจากบ้าน นำมาพักคอยที่ศูนย์ฯ เพื่อรอการนำส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาล โดยมีเป้าหมายจัดตั้งอย่างน้อย 1 เขต 1 ศูนย์พักคอย ให้ครบ 50 สำนักงานเขตภายในสิ้นเดือน ก.ค.64 ซึ่งความคืบหน้าขณะนี้

  • กรุงเทพมหานคร จัดตั้งศูนย์พักคอยฯ แล้ว 53 แห่ง ในพื้นที่ 50 เขต
  • เปิดบริการแล้ว 24 แห่ง
  • สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 3,136 เตียง
  • มีผู้ป่วยพักคอย 1,959 เตียง
  • เหลือเตียงว่าง 1,177 เตียง

(ข้อมูล ณ วันที่ 26 ก.ค.64)

162740908960