Mobile ปันสุข พัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อคนพิการ

Mobile ปันสุข พัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อคนพิการ

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เดินหน้าโครงการ Mobile ปันสุขเพื่อคนพิการ ถ่ายทอดความรู้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จัดอบรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ บำบัด ซ่อมแซม ผลิต แขนขาเทียม ตรวจความเคลื่อนไหว

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เป็นโรงพยาบาลที่มีหน่วยบริการดูแลคนไข้เฉพาะทางทางด้านงานการอุปกรณ์ เครื่องช่วยอุปกรณ์คนพิการ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการเพื่อสร้างความหวังและกำลังใจให้แก่คนพิการที่ไม่สามารถเดินได้ให้กลับมาเดินได้อีกครั้งอีกทั้งยังดำรงชีวิตในสังคมได้เหมือนคนปกติทั่วไป

วันนี้ (20 พ.ค. 64) นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ชี้แจงว่า จุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่เล็งเห็นการขาดโอกาสของกลุ่มคนพิการในประเทศไทยมีมากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยมีคนพิการจำนวนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มคนพิการเคลื่อนไหวทางร่างกายจำนวนมากที่สุดเมื่อวัดจากคนพิการทั้งหมด เครือข่ายงานกายอุปกรณ์สามารถให้บริการขาเทียมแก่คนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพที่วัดและประเมินผลด้วยความพึงพอใจของคนพิการ

ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลให้คุณภาพชีวิตคนพิการสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เพราะคนพิการสามารถประกอบอาชีพได้และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ สาเหตุความพิการส่วนใหญ่เกิดจากภาวะความเจ็บป่วยและโรคต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นจากกลุ่มโรคเรื้อรังรวมทั้งอุบัติเหตุทางถนนและอุบัติเหตุอื่นๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีขาเทียมลดลง พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีขาเทียมลดลงมีดังต่อไปนี้ ปัจจัยด้านสุขภาพประกอบด้วยสาเหตุของการตัดแขนขา ความผิดปกติของอวัยวะ ความสัมพันธ์ทางสังคม

162148668271

ดังนั้น ทีมสหสาขาวิชาชีพควรให้ความสำคัญกับปัจจัยเหล่านี้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีขาเทียมลดลง จึงได้มอบหมายให้สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติจัดหน่วยส่งเสริมสนับสนุนการเข้าถึงกายอุปกรณ์ และเครื่องช่วยอุปกรณ์คนพิการเพื่อช่วยเหลือเติมเต็มให้แก่กลุ่มคนพิการได้มีโอกาสเปิดกว้างมากขึ้นและยังสามารถดำรงชีวิตได้ปกติเหมือนคนทั่วไป


นายแพทย์สาธิต สันตดุสิต ผู้อำนวยการสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันกลุ่มคนพิการมีจำนวนมากขึ้นสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ จึงได้มีการพัฒนาระบบการให้บริการและพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับกลุ่มคนพิการที่เข้ามารับบริการที่สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ อีกทั้งยังมีกลุ่มคนพิการที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางด้านงานกายอุปกรณ์หรือเครื่องช่วยอุปกรณ์คนพิการ

เบื้องต้นจะต้องขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ นักกายภาพบำบัด และนักกายอุปกรณ์ซึ่งสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านงานกายอุปกรณ์ หรืออาจจะเป็นเครื่องช่วยอุปกรณ์คนพิการอย่างครบวงจรโดยสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พิการและผู้ป่วยที่ยากไร้ที่จำเป็นต้องใส่ขาเทียม

162148668239

สืบเนื่องจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการ ทรงพระกรุณาพระราชทานรถทำแขน-ขาเทียมเคลื่อนที่ให้แก่สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนพิการที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล

ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน Mobile ปันสุขเพื่อคนพิการ นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เป้าหมายโดยจัดการอบรมเพิ่มพูนทักษะประเมินความพิการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการซึ่งถือเป็นความร่วมมือของหน่วยงานและบุคลากรหลาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนพิการที่มารับบริการโดยการดำเนินงาน Mobile ปันสุขเพื่อคนพิการ เป็นการดำเนินงานแบบเบ็ดเสร็จประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

  • การตรวจประเมินความพิการทางด้านการเคลื่อนไหว
  • การผลิตและซ่อมแซมแขน-ขาเทียม
  • เครื่องช่วยอุปกรณ์คนพิการต่าง ๆ
  • การสอนวิธีการกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด

การออกเอกสารรับรองความพิการและจดทะเบียนคนพิการ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน Mobile ปันสุขเพื่อคนพิการแบบเบ็ดเสร็จและยังเป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน