เมื่อวัคซีนโควิดในเด็กยังไม่มี  ผู้ใหญ่ต้องดูแลเด็กอย่างไร

เมื่อวัคซีนโควิดในเด็กยังไม่มี   ผู้ใหญ่ต้องดูแลเด็กอย่างไร

เท่าที่ปรากฎ เด็กติดเชื้อโควิดอายุน้อยที่สุด คือ 2 เดือน แม้อาการไม่หนัก แต่ปัญหาคือติดเชื้อแล้ว ใครจะดูแล ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนโควิดสำหรับเด็กเล็ก ถ้าไม่อยากให้เด็กติดเชื้อ ครอบครัวต้องทำอย่างไร

"ตอนนี้กำลังมีการวิจัย วัคซีนโควิดในเด็ก แต่ต้องมีปริมาณหลักล้านโดสขึ้นไป เพื่อศึกษาผลกระทบว่า มีอะไรที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ 

ทั่วโลกมีการใช้วัคซีนตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 ผ่านมา 5 เดือนใช้วัคซีนไป 1,000 ล้านโดส ส่วนในไทยเริ่มใช้เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์-4 พฤษภาคม 2564 ฉีดไป 1,573,075 ราย

 
ซึ่งถ้าจะฉีดให้ทัน ต้องฉีดให้ได้15 ล้านโดส/เดือน หรือ 10 เท่าจากที่ทำอยู่ ตอนนี้แต่ละวันฉีดได้ 60,000 โดส/วัน ควรฉีดให้ได้ 500,000 โดส/วัน เพื่อครอบคลุมประชากรเร็วที่สุด"

รศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิจัยโรคติดเชื้อเด็กและวัคซีน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง ความจำเป็นของวัคซีนในงานประชุมวิชาการ โควิด-19 ในเด็ก ตรวจ-รักษา-ป้องกัน Pediatric COVID-19 Test-Treat-Prevent ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

   

เด็กไทยติดโควิดแค่ไหน

     อ.ดร.พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล  สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงสถานการณ์ในโรงพยาบาลจุฬาฯว่า ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีเด็กติดเชื้อโควิดมากขึ้น 2.5 % นอนโรงพยาบาล 0.8 % นอนในไอซียู แต่เสียชีวิตน้อยมาก 0.1 % 

162115726514       ส่วนอีกกรณี เด็กอายุ 2 ปี อยู่ในหอผู้ป่วยรวม มีอาการไอ น้ำมูก เนื่องจากพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อ ส่วนแม่ไม่ติดเชื้อ ยินดีมาเฝ้าลูก พอผ่านไป 4 วัน เด็กไม่ค่อยมีอาการแล้ว  

     นอกจากนี้ยังมีกรณี แม่เป็นพนักงานคาราโอเกะอายุ 25 ปี ลูกอายุ 8 เดือน แม่มีไข้ไอน้ำมูก มีเพื่อนในร้านตรวจพบโควิด แม่ก็มาตรวจ แล้วก็แอดมิทเลย เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ไม่มีใครช่วยเลี้ยงลูก เราต้องยอมให้เด็กมาอยู่กับแม่ เพราะเด็กก็เริ่มมีไข้ไอน้ำมูกเช่นเดียวกัน

    "ทั้งหมดที่ยกตัวอย่าง  ถ้าเด็กติดเชื้อแล้วไม่มีใครดูแล ต้องมาคุยกัน ถ้าเป็นเด็กโตอายุเกิน 10 ขวบ เราจะให้อยู่กับคนอื่น ที่อยู่ด้วยกันได้  เท่าที่เห็นจำนวนผู้ป่วยเด็กมีเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ ส่วนใหญ่ติดจากครอบครัว

     ไม่ค่อยมีโรคประจำตัว ไม่ค่อยรุนแรง มีปอดอักเสบ 5 % การดูแลคนไข้เด็กต้องมีครอบครัวช่วยเหลือ หลายโรงพยาบาลแยกพ่อแม่ลูกออกจากกัน ทำให้โรงพยาบาลรับภาระหนัก ควรจะให้เขาดูแลกันเองแบบแฟมิลี่รูม อย่างที่เราทำ" คุณหมอวรรษมน แนะนำ

การรักษาในเด็กทำอย่างไร

      อ.ดร.พญ.สุวพร อนุกูลเรืองกิตติ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้เด็กทุกคนนอนในโรงพยาบาล ส่วนในโรงพยาบาลจุฬาฯ การรักษาทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามอาการ (เขียว,เหลือง,แดง)

     แล้วใช้หลัก 2 ข้อ 1)ดูกลุ่มอายุ 2)ดูโรคประจำตัว เช่น หัวใจ, ปอด, โรคอ้วน (ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม BMI เกิน 35) มีการประเมิน ให้ปั่นจักรยานอากาศ, เดินไปเดินมา 3-6 นาที

     หรือทดสอบให้ลุกนั่งใน 1 นาที ปกติทำได้ 20-30 ครั้ง เทียบสถิติก่อนและหลังถ้าต่างกัน 3% ขึ้นไปถือว่าผิดปกติ แต่มีข้อห้ามว่า ถ้าใครมีอาการไม่คงที่ ไม่แนะนำให้ทำ 

162115729785

"ส่วนใหญ่เด็กที่ติดเชื้อ 80% มีอาการน้อย ก็รักษาตามอาการ ถ้าอาการรุนแรงก็ต้องประเมินว่าต้องให้ออกซิเจนหรือเปล่า เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีจะเป็นกลุ่มเสี่ยง เราเจออยู่ 6 เคส

หลังจากรักษาหายแล้ว ถ้ายังมีอาการ 4-12 สัปดาห์เรียกว่ามีอาการต่อเนื่อง (Ongoing Symptomatic) ถ้ามีอาการเกิน 3 เดือนเรียกว่า Post Covid -19 syndrome ส่วนโอกาสที่เจอหนึ่งเดือนไปแล้ว 10-20 % ในเด็กโตจะเท่าๆ กับผู้ใหญ่"

เด็กที่ติดโควิดมีอายุน้อยที่สุดสองเดือน จะมีเด็กทุกช่วงอายุ 0-4 ปี ,5-9 ปี และ10-15 ปี ส่วนใหญ่ติดจากคนในครอบครัว 84% ไม่มีโรคประจำตัว ส่วนคนที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคทางเดินหายใจ, โรคไต, โรคดาวน์ซินโดรม 

     "ส่วนใหญ่เด็กที่ติดเชื้อจะมีอาการน้อย ยกเว้นเด็กที่เป็นปอดอักเสบ, ปอดผิดปกติ มีอาการชัดเจน 5% ส่วนที่มีไข้ แต่ไม่มีอาการทางเดินหายใจมี 4 % มีท้องเสีย 9% ในกลุ่มที่มีอาการมากๆ คือมีไข้ 3 วัน ส่วนอาการอื่นๆ คล้ายโรคคาวาซากิ มีผื่น ตาแดง ปากลอก มือลอก เท้าบวม ที่กังวลคือเด็กอาจช็อคได้ หรือมีความดันต่ำ มีปัญหาเรื่องหัวใจ" 

      คุณหมอวรรษมน บอกว่า มีกรณีเด็กอายุ 8 เดือน ยังกินนมแม่อยู่แม่ไม่ได้ติดเชื้อ แต่เด็กติดจากเด็กอายุ 9 ปีที่เป็นญาติ มีอาการไอ น้ำมูก เพราะเด็กอยู่ด้วยตลอดเวลา 11-18 วัน พอวันที่ 19 มีไอน้ำมูก ทราบผลวันที่ 21 ว่าน้องที่มาเล่นด้วยมีอาการ ก็มาตรวจกันทั้งบ้าน พ่อ, พี่สาว, คุณแม่,  โดยแม่ยินดีมาดูแลลูก พ่อและพี่สาวแยกไปอยู่อีกห้อง หลังจากนั้นแม่ก็ติดเชื้อจากลูก ต่อมาก็เลยติดเชื้อทั้งบ้าน

วัคซีนเด็ก จะมาเมื่อไร

     คุณหมอธันยวีร์ กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนในเด็ก จึงต้องหาวิธีอื่นมาป้องกันก่อน วัคซีนไฟเซอร์ เป็นตัวเดียวที่อนุมัติให้ใช้ครั้งแรกอายุ 16 ปีขึ้นไป ประเทศไทยกำลังขึ้นทะเบียนจัดวัคซีนกลุ่มนี้มาให้เด็กวัยรุ่น 

"มีการศึกษาในกลุ่มเด็ก 2,000 กว่าคน กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดป่วยไป 18 ราย กลุ่มที่ฉีดไม่มีใครป่วยเลย และมีภูมิต้านทานสูงถึง 1,239 สำหรับเด็กอายุ 12-18 ปี ส่วนเด็กอายุ 6 เดือน-12 ปียังอยู่ในระหว่างการวิจัย ส่วนวัคซีนโมเดอร์น่า ก็มีการศึกษาในกลุ่มเด็ก อายุ 12-18 ปี ซึ่งได้ฉีดไปเรียบร้อยแล้ว 

ที่สำคัญต้องดูว่า ประเทศนั้นเชื้อสายพันธุ์อะไรระบาด เพราะประสิทธิภาพอาจจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ด้วย การฉีดวัคซีนจะดูใน 3 ประเด็น คือ 1)ฉีดแล้วภูมิคุ้มกันขึ้นหรือเปล่า 2)ฉีดแล้วป้องกันการติดต่อได้หรือเปล่า 3)ฉีดแล้วมีไข้ ปวดแขน ต่อมน้ำเหลืองโตไหม ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้น เพราะเราฉีดเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน

ในอเมริกามีเด็กติดเชื้อ 3 ล้านคน เสียชีวิต 300 ราย ในประเทศไทยช่วงที่มีการระบาดในชุมชนอย่างหนัก 90% เด็กติดจากคนในครอบครัว เด็กไม่ใส่แมส

วิธีการป้องกันเด็กไม่ให้ติดจะต้องใช้ Cocoon Effect คือคนที่อยู่รอบๆ ตัวเขาจะต้องมีภูมิคุ้มกัน ต้องไม่เป็นโรค และนำโรคมาสู่เด็ก ไม่งั้นเด็กก็จะมีโอกาสติดเชื้อได้ วิธีนี้สามารถนำไปใช้กับการดูแลผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ที่รับวัคซีนไม่ได้"

นอกจากนี้คุณหมอธีนยวีร์ บอกว่า วัคซีนซิโนแวค มีการใช้ไป 260 ล้านโดสแล้ว ประเทศชิลีใช้ไปเกิน 10 ล้านโดส โดย 2.6 ล้านโดสใช้กับคนอายุเกิน 60 ปี ตอนขึ้นทะเบียน อย.ให้ใช้ในอายุ 18-59 ปี แต่ถ้ามีการระบาดหนักก็นำมาใช้ได้

162115960028

"การระบาดของโควิดในประเทศชิลีเป็นสายพันธุ์อังกฤษกับบราซิล เมื่อฉีดซิโนแวคแล้วมีประสิทธิภาพ 67% ป้องกันการตายได้ 80% ส่วนโควิดในประเทศบราซิลเป็นสายพันธุ์บราซิล เมื่อใช้ซิโนแวคมีการกลายพันธุ์ทำให้มีประสิทธิภาพ 50%  ซิโนแวคได้ศึกษาวิจัยในเด็กอายุ 12-17 ให้ใช้ medium dose 600 su ส่วนอายุ 3-12 ปีใช้ low dose 300 su

ส่วนแอสตร้าเซนเนก้า  ข้อมูลประเทศอังกฤษในช่วง 3 เดือน ฉีดไปล้านกว่าคน ไฟเซอร์ใช้กับคนอายุมาก หลังจากฉีดไป 14 วันภูมิคุ้มกันจะเริ่มขึ้น และหลังจากฉีดไป 28 วัน ลดอัตราการนอน รพ.ได้ 91% และ 88% วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า ประชากรอังกฤษ 365,447 ครอบครัวที่ฉีดแล้ว ยังมีคนในครอบครัวติดเชื้อในอัตรา 5.7% 

ดังนั้นถ้าคนในบ้านฉีดวัคซีน จะช่วยลดการป่วยในเด็กได้ เด็กกลุ่มเสี่ยงคืออายุน้อยกว่า 1 ปี หรือมีโรคประจำตัว แม้ว่าจะมีอาการดีมาก ก็ต้องติดตามอาการ ส่วนเด็กที่หายจากโควิดแล้ว ยังมีอาการหลงเหลืออยู่ แต่ไม่มีความจำเป็นต้องไป Swab ซ้ำ เพราะไม่มีการรักษาจำเพาะอะไร

สรุปว่าการดูแลเด็ก ครอบครัวและคนดูแลมีส่วนสำคัญ ถ้าเด็กสามารถใส่แมสได้ก็แนะนำ แต่ถ้าต่ำกว่า 2 ปี แนะนำให้คนรอบๆ ใส่แมส เพื่อลดโอกาสส่งเชื้อมาที่เด็ก ด้วยวิธี Cocoon strategies ฉีดวัคซีนให้คนรอบๆ ไม่ได้เพื่อตัวเองอย่างเดียว แต่เพื่อคนในครอบครัว และสังคมด้วย

สิ่งที่เราต้องทำในตอนนี้คือ ทุกคน ควรฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด ให้ครอบคลุมประชากรมากที่สุด เพื่อหยุดยั้งการระบาดและการกลายพันธุ์ ช่วยลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น เราไม่มีเวลารออีกต่อไปแล้ว"