เปิดยอดเตียงสำรองรับคนติดโควิด19

เปิดยอดเตียงสำรองรับคนติดโควิด19

ย้ำติดโควิด 19 รักษาฟรีทุกสิทธิ เว้นคนมีประกันสุขภาพส่วนตัว เผยเตียงยังว่างรองรับผู้ป่วย ทั่วประเทศมีกว่า 1.8 หมื่นเตียง เฉพาะกทม.มีราว 3,000 เตียง ขยายฮอสพิเทลเพิ่มอีกราว 3,900 เตียง ขอความร่วมมือคนติดเชื้อเข้ารับการดูแลแม้ยังไม่มีอาการ

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในการบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยโควิด19
มีการดำเนินการร่วมของภาคีเครือข่ายทั้ง 5 ภาคี คือ กรมการแพทย์ กระทรวงสาสุขกรมการแพทย์ รพ.กทม. รพ.มหาวิทยาลัย รพ.เหล่าทัพ และรพ.เอกชน โดยฝ่ายนโยบายได้มอบนโยบายชัดเจน ทุกคนที่ติดโควิด 19 ควรได้รับการเข้ารับการรักษาในรพ. ซึ่งเป็นนโยบายในช่วงนี้ที่อาจจะมีคนไข้ต่อวัน 1,000 หรือ 2,000 หรือ 3,000 ราย ยกเว้นว่าสถานการณ์จะมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีการหารือเป็นระยะระยะและก็อาจจะปรับเปลี่ยนนโยบาย แลพยังย้ำว่ารพ.ที่ตรวจหาเชื้อแล้วพบผู้ติดเชื้อ รพ.นั้นต้องประสานการดำเนินการในเครือข่าย หากเป็นเอกชนก็ประสานระหว่างกันและประสานรัหว่างรพ.รัฐ

โควิดรักษาฟรีรัฐ-เอกชน
"กรณีที่ต้องเข้ารับการรักษาในรพ.เอกชน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ยืนยันว่าประชาชนในทุกสิทธิรักษาทั้งบัตรทอง ข้าราชการหรือประกันสังคมไม่ต้องจ่าย ไม่ว่าจะไปเข้ารับการรักษาที่รพ.เอกชนหรือรพ.ของรัฐ ยกเว้นส่วนเดียวว่าบุคคลนั้นมีประกันส่วนตัว รพ.เอกชนก็จะสอบถาม หากมีก็จะให้ประกันส่วนตัวช่วยจ่าย"นพ.สมศักดิ์กล่าว

ภาพรวมเตียงยังว่าง
นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับเตียงรองรับผู้ติดเชื้อ ทั้งที่เป็นรพ. รพ.สนามและฮอสพิเทล (ข้อมูล ณ เวลา 16.30 น. 11 เม.ย.2564) จำนวน ทั้งหมด 23,483 เตียง ครองเตียง 5,226 เตียง ว่าง 18,257 เตียง เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ (ข้อมูล ณ เวลา 20.00 น. 11 เม.ย.2564) จำนวนเตียงทั้งหมด 5,715 เตียง ครองเตียง 2,715 เตียง ว่าง 3,000 เตียง แยกเป็น รพ.สังกัด กรมการแพทย์ 161 เตียง กรมควบคุมโรค 2 เตียง กรมสุขภาพจิต 51 เตียง. กระทรวงกลาโหม 81 เตียง กรุงเทพฯ 386 เตียง รพ.ตำรวจ0 เตียง โรงเรียนแพทย์ 243 เตียง เอกชน 1,132 เตียง รวม 2,056 เตียง และโรงพยาบาลสนามและฮอสพิเทล 944 เตียง อย่างไรก็ตาม กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.)แจ้งว่ามีการจัดหาฮอสพิเทลที่เป็นโรงรมที่ร่วมกับสถานพยาบาล เพื่อนำผู้ติดเชื้อมีอาการน้อยไปดูและเพิ่มเติมเบื้องต้นได้อีก 3,900 เตียง

"กรณีที่ไปตรวจหาเชื้อที้รพ.เอกชนแล้ว พบติดเชื้อแล้วรพ.บอกว่าเตียงเต็มและปฏิเสธรับเข้ารักษา ขอให้โทรประสานที่สายด่วน 1668 และ 1330 และเฉพาะการจัดหาเตียงในพื้นที่กทม.สามารถโทรศูนย์เอราวัณ 1669 เริ่มในวันที่ 13 เม.ย.นี้ได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนโทรขอให้ประสานกลับไปยังรพ.เอกชนที่ตรวจอีกครั้ง เพราะรพ.เอกชนแห่งนั้น อาจมีการขยายเตียงรองรับมากขึ้นแล้ว หากยังไม่มีให้โทรประสานได้ทันที ส่วนถ้ามีข้อสงสัยในการตรวจหาเชื้อขอให้โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422" นพ.สมศักดิ์

161821542331

ข้อปฏิบัติหญิงท้องติดโควิด

นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขออนุญาตแนะนำเป็นพิเศษสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ควรไปฝากครรภ์ตามปกติ สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการติดเชื้อโดยการล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาจมูก และปาก หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนห รืออาจถ้าจำเป็นต้องเดินทางให้อยู่ห่างจากคนอื่นประมาณ 1.5 เมตร ส่วนใหญ่มากกว่า 2ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการ แต่อาจพบอาการรุนแรงในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน อายุมาก มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ส่วนการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก อาจพบได้ 2 -5 % มีโอกาสทารกคลอดก่อนกำหนด 15.1% ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนเรื่องการแท้งบุตร ในอัตราที่สูงกว่าหญิงตั้งครรภ์รายอื่น และควรปรึกษาสูตินารีแพทย์ประจำตัวที่ฝากครรภ์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในประเทศไทยที่มีหญิงตั้งครรภ์ติดโควิด 19 จำนวน 60 รายในช่วงปีที่ผ่านมา ไม่มีใครที่มีอาการรุนแรงจนต้องใช้ท่อช่วยหายใจและไม่มีหญิงตั้งครรภ์ควรใดในประเทศไทยที่ติดโควิดแล้วเสียชีวิต

อาการไม่มากแต่พบปอดอักเสบ
"ถ้าผู้ป่วยไม่ได้มากไปกว่านี้ ยังเป็นหลักพันอยู่ก็ยืนยันว่ายังจะให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทุกราย ที่ผ่านมามีผู้ป่วยบางรายที่โรงพยาบาลหาเตียงให้แล้ว แต่ไม่ยอมมานอน อย่างเช่น หลังได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่ที่หาเตียงให้แล้วขอให้มาโรงพยาบาล ผู้ป่วยปฏิเสธ บอกไม่เป็นไรไม่มีอาการอะไร ขอนอนที่บ้าน ซึ่งอยากขอความกรุณาให้เข้ารับการดูแลของเจ้าหน้าที่ เพราะไม่ค่อยมั่นใจไม้แน่ใจจริงๆว่าการอยู่บ้าน วผู้ป่วยจะสามารถแยกตัวเองออจจากทุกคนได้ใน 14 วัน แต่หากในอนาคตจะมีผู้ติดเชื้อมากกว่านี้เยอะๆ ก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อาจจะมีการปรับตัวให้อยู่ที่บ้านหรือไม่ แต่ช่วงนี้ขอความกรุณาว่าให้มานอนโรงพยาบาล อยากให้ท่านปลอดภัยและป้องกันแพร่เชื้อให้กับผู้สูงอายุที่บ้าน อีกทั้ง ได้รับการรายงานจากคนที่ดูแลผู้ป่วนโควิดว่าในระลอกนี้ แม้จะเป็นผู้ที่มีอายุไม่มากและอาการไม่มาก แต่เมื่อเอ็กซเรย?พบว่ามีผู้ที่เป็นปอดอักเสบอยู่ไม่น้อย แม้จะไม่ได้แน่ลงถึงขั้นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เพราะเราจะให้ยาเร็วขึ้น จึงขอความกรุณาว่ามาอยู่ในระบบดูแลของรพ. ซึ่งวันแรกท่านอาจจะป่วยไม่มาก แต่อีก4-5 วันผ่านไปท่านอาจจะมีปอดอักเสบโดยไม่รู้ตัว"นพ.สมศักดิ์กล่าว

อย่ารวมกลุ่มคนติดดูแลกันเอง
นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ผู้ป่วยที่ติดโควิด 19 ไม่ได้ต้องเข้ารับการดูแลที่รพ.สนามหรือฮอสพิเทลทันที ซึ่งในหลักการจะบอกว่าผู้ป่วยต้องไปรพ.หลักก่อนอย่างน้อย 3-5วัน แล้วรพ.หลักจะทำการตรวจ หากไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยๆ ไม่มีโรคร่วมอะไร อาการปกติ หลังจากนั้นจึงจะส่งต่อไปรพ.สนามหรือฮอสพิเทล แต่ในอนาคตหากสถานการณ์เปลี่ยนก็อาจจะมีการปรับเปลี่ยน ส่วนที่มีการรวมกลุ่มคนที่ทำงานเดียวที่ติดเชื้อ 3-4คนมาอยู่ด้วยกันในบ้านหลังเดียวนั้น ขอย้ำว่าการอยู่ในรพ.สนามและฮอสพิเทลจะได้รับการตรวจสังเกตอาการจากเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 3 ครั้ง

จนท.เน้นดูแลความปลอดภัยทุกคน
กรณีดรามาว่ารพ.เตียงเต็ม ปล่อยผู้ติดเชื้อหารพ.เอง แต่มาทราบภายหลังว่าแท้จริงแล้วผู้ปกครองของทารกที่ติดเชื้อฯ ปฏิเสธที่จะอยู่ในห้องที่ทางรพ.จัดให้เนื่องจากไม่สะดวกสบาย นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ถ้าออกมาดรามาว่าต้องการความสะดวกสบายก็ต้องขอร้องจริงๆ ไม่อย่างนั้นบุคลากรทางการแพทย์ก็ต้องมาเหนื่อย 2 รอบ 3รอบ เราอยากดูแลความปลอดภัยชีวิตของท่าน ความปลอดภัยของทุกคน มากกว่าที่จะมาดูเรื่องความสะดวกสบาย ดังนั้นขอให้ประชาชนช่วยเข้าใจสถานการณ์ด้วยว่าตอนนี้ผู้ป่วยมาก ความสะดวกสบายก็อาจจะไม่ได้สะดวกสบายอย่างที่หวัง แต่รับรองว่าท่านจะปลอดภัย สถานพยาบาลที่เตรียมไว้ รพ.สนาม และฮอสพิเทล มีมาตรฐานทางการแพทย์ การอยู่รวมกับคนที่ติดเชื้อแล้วไม่ได้มีผลที่จะทำให้โรครุนแรงขึ้นแต่อย่างใด เพราะทุกคนที่อยู่ก็ล้วนเป็นคนติดเชื้อ แต่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานทางการแพทย์อย่างดี