กองทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์สัญจร - ติดอาวุธป้องกัน 'เฟคนิวส์' ให้คนทั่วประเทศ

กองทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์สัญจร - ติดอาวุธป้องกัน 'เฟคนิวส์' ให้คนทั่วประเทศ

‘กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์’ จัดกิจกรรม 'TMF Power Fusion'ออกสัญจรไป 5 ภูมิภาค ติดอาวุธให้ประชาชนสามารถรับมือกับ 'เฟคนิวส์' ที่แพร่ระบาดในยุคที่ 'ใคร ๆ ก็เป็นสื่อได้' และให้ความรู้ในการขอรับทุนเพื่อการสร้างสื่อน้ำดี

ในยุคข้อมูลข่าวสารมีความรวดเร็วฉับไวเพราะความล้ำสมัยของเทคโนโลยี สิ่งหนึ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากคือการรับข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ อย่างรู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้สร้างข่าวลวง หรือ ‘เฟคนิวส์’ ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน

การจัดกิจกรรมสัญจรไปให้ความรู้แก่ประชาชนตามภูมิภาคต่าง ๆ ของ ‘กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์’ จึงถือเป็นการแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างตรงจุด เปรียบเสมือนการติดอาวุธ และเกราะป้องกันให้คนไม่หลงตกเป็นเหยื่อ ‘เฟคนิวส์’ ที่สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายให้กับสังคมอยู่ไม่น้อย

กิจกรรมดังกล่าวมีชื่อว่า ‘TMF Power Fusion กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม’ จัดโดย ‘กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์’ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน 5 ภูมิภาค ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อและผลิตสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม

160852992913

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้พูดถึงความสำคัญของกิจกรรมสัญจรนี้เอาไว้ในการกล่าวปาฐกถาเปิดกิจกรรม 'TMF Power Fusion กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม' ครั้งที่ 4 ภาคตะวันออก เมื่อวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ณ โรงแรมบางแสนเฮอริเทจ อำเภอบางแสน จังหวัดชลบุรี เอาไว้ว่า การเปิดเวทีให้ทุกเครือข่ายได้มีส่วนร่วมถือเป็นกลไกในการสร้างนิเวศน์สื่อที่ดี

ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา สังคมเราเผชิญปัญหาข่าวปลอม หรือ เฟคนิวส์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงต้องให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อก่อน แล้วร่วมกันสร้างสื่อที่ดีเพื่อไปละลายสื่อที่เสีย โดยกองทุนฯ อยากให้มีผู้เข้าถึงแหล่งทุนมากที่สุด และหวังให้ผลงานที่ได้รับทุนประสบความสำเร็จ สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดสื่อที่ดีขึ้นในสังคมต่อไป

“ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้จัดเวทีนี้ขึ้นในสังคมปัจจุบัน สิ่งสำคัญคือเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สื่อมีชีวิตอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา วันนี้จึงได้มีการเปิดเวทีเพื่อให้ทุกเครือข่ายได้มีส่วนร่วม ทั้งรับฟังความคิดเห็น เป็นกลไกที่สร้างสื่อนิเวศน์ที่ดี เพราะสื่อมีทั้งดีและไม่ดี เราต้องสร้างสื่อที่ดีเพื่อไปละลายสื่อที่เสีย เราต้องให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อก่อน ต้องวิเคราะห์และเท่าทัน ปีสองปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าเราประสบปัญหาข่าวปลอมจากสื่อที่ไม่สร้างสรรค์ทำให้เกิดผลกระทบ โดยเฉพาะการจัดทำสื่อที่มีวัดถุประสงค์ในการจุดกระแส อยากเด่นอยากดัง อยากให้เป็นกระแส สุดท้ายคือเกิดการติดตามสื่อจากมวลชน

ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีที่สามารถสร้างสื่อได้ ทำให้เราได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงตัวบุคคลที่ได้พัฒนาชิ้นงานเพื่อสร้างระบบนิเวศน์สื่อที่ดี เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ หลายท่านคงคุ้นเคยกับรายการทีวี รายการข่าวเช็คก่อนแชร์ เรื่องแบบนี้จริงเหรอ ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ปล่อยให้สื่อเกิดความสงสัย โดยการไปสอบถามผู้รู้

นอกจากนี้กองทุนฯ ยังมีการพัฒนาหนังหลายเรื่อง เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ดนตรีไทย ผู้พิการ ให้นักศึกษาได้ต่อยอดและนำเป็นองค์ความรู้ให้ประชาชน กองทุนเราอยากให้มีผู้เข้าถึงแหล่งทุนมากที่สุด แล้วนำไปขยายผลต่อ เราจึงมุ่งเน้น สถาบันการศึกษา องค์การประชาชน เอกชน วิสาหกิจชุมชน รวมถึงวัฒนธรรมของไทย ก็มีการสื่อสารซึ่งกันและกัน เข้าใจกองทุน

นอกจากให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อแล้ว อยากเห็นผลงานที่ได้ทุนประสบความสำเร็จ ได้ต่อยอดไปในระดับต่างประเทศ ทั้งศิลปวัฒนธรรมและเผยแพร่ประเทศนั้น นำไปสู่สื่อที่ดีและสร้างรายได้ เพื่อต่อยอดให้เกิดสื่อที่ดีในสังคมยุคปัจจุบัน ให้เกิดความเข้าใจ และมีเนื้อหาที่ดี ทัศนคติที่ดี เราจึงได้เปิดเวทีทุกภูมิภาค ซึ่งในปี 2563 มีคนขอรับทุน 1500 กว่าโครงการ เรื่องการจัดสรรก็มี 3 กลุ่ม คือกลุ่มทุนทั่วไป กลุ่มยุทธศาสตร์ และยุทธศาสตร์และความร่วมมือ ส่วนในปี 2564 ถือว่าเป็นข่าวดีเพราะกองทุนได้รับการจัดสรรโครงการเข้ามา ถ้ามองเราเป็นธนาคาร เราก็เป็นผู้ให้ทุนเพื่อให้เกิดการสร้างชิ้นงานที่ดี และสื่อดี หรืออย่างน้อยที่สุดจะได้มีสื่อดีๆ สร้างองค์ความรู้ประเทืองปัญญา”

160853001911

160853013555

160853005913

160853008447

บรรยากาศการเปิดกิจกรรม 'TMF Power Fusion กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม' ครั้งที่ 4 ภาคตะวันออก 

ดร. ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ร่วมพูดคุยในหัวข้อ “การบูรณาการแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2564)” มีใจความว่า

160853029553

“สื่อเป็นตัวกลางต้องให้ความรู้ ความจริง ให้การศึกษา ต้องถ่ายทอดเพลงชาติ ความเป็นมรดกค่านิยมที่ดีงามในสังคม สื่อจึงถูกมองว่าถ้าจะขับเคลื่อนสังคมผ่านมิติทางวัฒนธรรมต้องเริ่มต้นที่สื่อ และชื่อกองทุน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นำเสนอความหมาย 2 ความหมายคือ ความหมายโดยตรง และความหมายแฝง คือมีปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก็มีไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ ถ้าวันนี้สื่อไม่ดี สื่อไม่สร้างสรรค์เต็มไปหมด สื่อก็อยู่ยาก”

160853031657

  • ขั้นตอนการขอทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์

สำหรับในส่วนของการขอทุนเพื่อพัฒนาสื่อสร้างสรรค์นั้น กรรมการผู้คัดเลือกทุนในโครงการ 3 ท่าน ได้ให้ความกระจ่างเอาไว้ดังนี้

160853036798

คณะกรรมการพิจารณามอบทุนทั้ง 3 ท่าน

เริ่มจากนายสมชาย เจริญอำนวยสุข รองประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้แทนคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวว่า “ทุกวันนี้โลกเราเปลี่ยนไป การจะเป็นเครือข่ายที่ดีต้องเป็นสื่อที่ดีด้วย อย่าเป็นสื่อมือลั่นไว ก่อนส่งต้องชัวร์ว่าถูกต้อง ถ้าข่าวไม่จริงก็ไม่ต้องส่ง การจะเป็นเครือข่ายให้กับสื่อต้องมีสติ และส่งสิ่งที่ถูกที่ควรเท่านั้น เพราะตอนนี้โลกทั้งใบสื่อถึงกันหมดแล้ว ถ้ามีความรู้ความเข้าใจ สร้างสื่อได้ถูก มีคุณค่าทางสังคม และเป็นสื่อที่มีมูลค่าต่อสังคม

สำหรับการให้ทุนมีคณะกรรมการพิจารณาเป็นชุดๆ โดยจะมีทุนให้ 300 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 ประเภท หนึ่ง ประเภท “ทั่วไป” คือให้หมด สอง ประเภท “ยุทธศาสตร์” และสาม ประเภท “ยุทธศาสตร์และความร่วมมือ”

ขณะที่ นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ ผู้แทนคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กล่าวว่า ในแต่ละทุนจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน หนึ่งคือ “เจ้าภาพ” กองทุนคือรัฐบาล สอง “เจ้ามือ” คือเรา สาม “เจ้าของ” คือประชาชนทั่วไป ต้องอยู่ในหลักดีงาม และสร้างสรรค์

“เราต้องเข้าใจว่ากองทุนนี้เป็นกองทุนให้เปล่า แต่ต้องส่งประโยชน์ให้เกิดกับสังคมและบ้านเมือง ให้เข้าถึงสถานการณ์บ้านเมืองในเชิงบวก ต้องมีความปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นเรื่องนวัตกรรม กองทุนนี้เป็นของประชาชน และให้ประโยชน์แก่ประชาชนได้แน่ ๆ”

ปิดท้ายที่ ผศ.ดร. วรัชญ์ ครุจิต ประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผู้แทนคณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่กล่าวว่า

“นิยามของนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์คือ เรามาขับเคลื่อนสื่อให้ปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อขับเคลื่อนสังคม แต่เรามีเงินจำนวนจำกัด เราไม่สามารถตอบสนองทุกคนได้ เราต้องให้โครงการที่ดูดีที่สุด

เราพิจารณาเกณฑ์เรื่องความคุ้มค่าของตัวเงิน ส่วนที่สองคือคุณภาพ ต้องมีความแน่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวิจัย โครงการ คุณจะเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือไม่งานก็ต้องดี ไม่ใช่ทำแล้วต้องแก้ไปแก้มา รวมถึงความน่าเชื่อถือ ถ้าเป็นมือใหม่ก็ต้องไปหาผู้เชี่ยวชาญที่จะคุมเรื่องนี้ได้ ถ้าเป็นมืออาชีพให้แนบผลงานที่ผ่านมา เราจะได้ดูว่าเป็นสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์หรือเปล่า

ขอทิ้งท้ายด้วยการปลุกไฟ ต้องเริ่มจากความเชื่อว่าสื่อสามารถสร้างสังคมได้จริง อยู่ที่ออกแบบ ก็อยากให้เข้ามาร่วมกับกองทุนสื่อ งานที่ขอมาต้องตรงปก”

160853056393

คนมาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างคึกคัก

160853059195

รับฟังการชี้แนะจาก ดร. ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อย่างตั้งใจ